ผู้สื่อข่าวรายงายาน ว่า เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2566 สื่อมวลชนจังหวัดนครราชสีมากว่า 30 คน ได้รับการประสานงานจากผู้เกี่ยวข้อง เดินทางไปดูงาน “โรงกำจัดขยะผลิตไฟฟ้าเพื่อสิ่งแวดล้อม หนองแขม”  ตั้งอยู่ถนนพุทธมณฑลสาย 3 แขวงหนองค้างพลู เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร โดยมี นายนพดล พฤกษะวัน กรรมการ ผู้จัดการ บริษัท นิวสกาย เอ็นเนอร์จี (แบงค็อก) จำกัด พร้อมคณะผู้บริหารและพนักงาน บริษัท ซีแอนด์จี เอ็นไวรอนเมนทอล โปรเท็คชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ให้การต้อนรับ

"โรงกำจัดขยะผลิตไฟฟ้าเพื่อสิ่งแวดล้อม หนองแขม”  เป็นศูนย์กำจัดจัดขยะมูลฝอยด้วยวิธีการเผาใหม้เพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า ของกรุงเทพมหานคร เพื่อเพิ่มประสบการณ์เกี่ยวกับการทำข่าวและเพื่อความเข้าใจถึงวิธีการต่าง ๆ ในการแก้ไขปัญหาขยะที่กำลังล้นเมืองในประเทศไทยทั่วทุกภาค และเป็นการเสริมสร้างความรู้และปัญหาต่าง ๆ สำหรับการใช้ประโยชน์จากพลังงานที่ได้จากการกำจัดขยะในพื้นที่เมือง ณ โรงกำจัดขยะผลิตไฟฟ้าฯ หนองแขม"นายนพดล กล่าว

สำหรับ ศูนย์กำจัดขยะแห่งนี้เป็นศูนย์กำจัดขยะที่สำคัญ 1 ใน 3 ของกรุงเทพมหานคร ร่วมกับศูนย์กำจัดขยะอ่อนนุช และศูนย์กำจัดขยะสายไหม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการลดภาระการจัดการขยะและกำจัดปริมาณขยะจากทุกพื้นที่ในกรุงเทพฯ 50 เขต ซึ่งมีประมาณวันละ 10,000 ตัน/วัน และช่วยบรรเทาปัญหาวิกฤตขยะของกรุงเทพมหานคร และจังหวัดอื่นที่กำลังประสบปัญหาขยะล้นเมืองที่ไม่มีกำลังเพียงพอที่จะแก้ไขปัญหาขยะที่ล้นเมืองวันละหลายพันตัน อย่างเช่นในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดใหญ่ ๆ ที่มีประชากรมากจนไม่สามารถรับมือกับการแก้ไขปัญหาขยะที่กำลังล้นเมืองได้อย่างถาวร อีกทั้งแต่ละจังหวัดแต่ละภาคไม่ว่าจะเป็นภาคเหนือ  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ ภาคกลาง หรือแม้แต่กรุงเทพมหานคร ที่ทุกหน่วยงานของภาครัฐก็พยายามที่จะแก้ปัญหาขยะเหล่านี้ให้หมดไป หรือเหลือน้อยที่สุดแต่ก็ติดขัดปัญหาเรื่องงบประมาณที่ไม่เพียงพอที่จะเข้ามาแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้

ซึ่งทางออกที่ดีและเห็นว่าเป็นส่วนหนึ่งที่พอจะแก้ไขปัญหาเรื่องขยะล้นเมือง คงต้องใช้แนวทางให้เอกชนมาลงทุนก่อสร้างโรงงานกำจัดขยะเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า แต่ส่วนใหญ่โรงงานกำจัดขยะเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า ก็จะพบและเจอปัญหาพี่น้องประชาชนต่อต้านไม่ยินยอมให้เอกชนที่จะตั้งโรงงานกำจัดขยะผลิตไฟฟ้าฯ เพราะเกรงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่บ้านเกิดของตนเอง ซึ่งประเด็นใหญ่ๆ ก็หนีไม่พ้น กลัวมลภาวะเป็นพิษต่อร่างกาย กลัวปัญหาเรื่องกลิ่นที่คาดว่าจะส่งผลกระทบกับความเป็นอยู่ และกลัวเรื่องน้ำ ที่เกรงว่าหากโรงงานขยะดังกล่าวเข้ามาก่อสร้างและดำเนินงานตามโครงการจะเกิดปัญหาโรงงานปล่อยน้ำเสีย และน้ำเสียดังกล่าวอาจจะซึมลงตามสายดิน และลงสู่พื้นที่ทำกินของชาวไร่ชาวนา จะทำให้ไม่สามารถปลูกพืชผลทางการเกษตรเพื่อเลี้ยงชีวิตครอบครัวชาวบ้านได้ และที่ชาวบ้านกังวลใจมากที่สุดคือเกรงว่าน้ำเสียเหล่านี้จะทำให้เกิดผลกระทบต่อการผลิตน้ำประปาเพื่อดื่มกิน

โดยสิ่งเหล่านี้เป็นหัวใจหลักสำคัญที่ชาวบ้านหวั่นเกรงว่าจะเกิดประสบปัญหาเหล่านี้กับพวกเขาเหล่านั้น จึงมักจะมีการรวมตัวคัดค้านไม่ยอมให้โรงงานกำจัดขยะเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า เข้าไปดำเนินการก่อสร้างในพื้นที่ของชาวบ้านในแต่ละตำบลในแต่ละจังหวัด และปัญหาที่ชาวบ้านเกรงกลัวเหล่านี้จะต้องเป็นหน้าที่ของฝ่ายประชาสัมพันธ์หรือผู้ที่รู้และทราบเรื่องเกี่ยวกับปัญหาเหล่านี้ในเรื่องที่ดีและมีประโยชน์หากโรงงานกำจัดขยะเพื่อสร้างพลังงานไฟฟ้าเข้าไปดำเนินการก่อสร้างโรงงานดังกล่าวในพื้นที่แต่ละจังหวัดของประเทศไทย สื่อมวลชนที่เข้าไปดูงานและเห็นวิธีการกำจัดขยะเพื่อไปเป็นพลังงานไฟฟ้า ก็จะได้บอกเล่าถึงข้อดีและข้อเสียของโรงงานแก่พี่น้องประชาชนในพื้นที่ ให้เห็นถึงวิธีการการทำงานของโรงงานกำจัดขยะเพื่อนำไปผลิตพลังงานไฟฟ้าว่ามีขั้นตอนการดำเนินงานอย่างไร สะอาด ปลอดภัย รักษาสิ่งแวดล้อมได้ดีแค่ไหน คงต้องทำการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับทราบต่อไป