บทความพิเศษ / ทีมงานหญ้าแห้งปากคอก(ท้องถิ่น)
ย้อนไปความตอนที่แล้วในเรื่องอุดมการณ์ความคิดทางการเมืองไทยมันสับสน คนวิตกจริต ขุดคุ้ยหาเรื่องไร้สาระมาด้อยค่า ดิสเครดิต บูลลี่กันอย่างสนุกปากกันมาก ที่ค่อนข้างขาดหลักการและเหตุผล (logical fallacy)โดยเฉพาะบรรดานักวิชาการ และติ่งด้อมทั้งหลาย ด้วยเหตุจากปัจจัยชี้นำใดๆ ก็ตามไม่ว่าจะเป็น fakenews, IO, polling (โดยเฉพาะโพลจัดตั้ง), conspiracy theory, bullying, slapp (Strategic Lawsuit Against Public Participation : การฟ้องคดีปิดปาก) จนถึงขั้น lawfare ก็ตาม ทำให้หลายเรื่องที่ง่ายกลับกลายเป็นเรื่องยาก ซับซ้อนซ่อนเงื่อน มีปมปัญหาวุ่นวายไปหมด รวมทั้งก่อให้เกิดความคลาดเคลื่อนในเชิงสถิติหลายๆ อย่าง เช่น การอ้างอิง การเทียบเคียงที่ผิดๆ
ที่สำคัญมากอีกประการหนึ่งก็คือ Mindset ของกลุ่มคนที่เริ่มบิดเบี้ยวแปลกๆ เป็นตรรกะที่ย้อนแย้ง (It's contradictory) ที่หาเหตุผลมาอธิบายไม่ได้มากขึ้น ก่อให้เกิดปัญหาว่า พวกเขาเหล่านั้นมีกรอบแนวคิด (mindset) แบบนี้ได้อย่างไร มันถูกต้องเพียงใดหรือไม่ มีอีกฝ่ายแย้งว่า มันถูกแล้ว เพราะ มันเป็นสิทธิเสรีภาพในการกระทำใดๆ โดยเฉพาะในช่วงเปลี่ยนผ่านในโลกโซเชียลปัจจุบัน (transitional period) ที่ทุกฝ่ายต้องกันมายอมรับในความเห็นต่างนั้นๆ นอกจากนี้คนยังต้องรู้จักยืดหยุ่น (resilience)ปรับตัวให้ได้ในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง (disrupt) นี้ และฝ่ายประชาธิปไตยก้าวหน้าเห็นว่าการยึดอำนาจ การรัฐประหาร เพื่อการดำรงไว้ในอำนาจนิยม และการสืบทอดอำนาจมิอาจให้มีได้อีกต่อไป มีการเสนอข้อเรียกร้องให้มีการแก้ไขปฏิรูปโครงสร้างแห่งอำนาจเสียใหม่ ซึ่งในขณะเดียวกัน ฝ่ายอนุรักษ์และฝ่ายขวานิยมเห็นว่า จะเป็นการล้มล้างการปกครอง เพราะไปคิดแก้ไขโครงสร้างแห่งอำนาจ มันเลยคิดกันไปคนละทาง แนวทางการปรองดอง สมานฉันท์ ยอมร้บในความเห็นต่างย่อมไม่เกิด ย่อมเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประชาธิปไตยต่อไป
แน่นอน จากประเด็นปัญหาต่างๆ ข้างต้น มันนำไปสู่ปัญหาในพรรคการเมืองไทยอย่างเลี่ยงไม่ได้ เพราะ นักการเมืองและพรรคการเมืองต้องผูกโยงยึดโยงกับประชาชน มีประชาชนเป็นฐาน ตามที่รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 ได้เปิดมิติใหม่ในทางการเมืองเรื่องเหล่านี้ไว้ อาทิ เรื่องเป็นรัฐธรรมนูญ "ฉบับประชาชน" เพราะมาจาก ส.ส.ร.99 คน, เรื่องการสร้างความเข้มแข็งให้แก่พรรคการเมือง, เรื่องบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ, เรื่อง ส.ว.มาจากการเลือกตั้ง เป็นต้น
ฉะนั้น นโยบายที่พรรคการเมืองได้หาเสียงไว้ จึงถือเป็นสัญญาประชาคมอันสำคัญ ที่พรรคการเมืองต้องใส่ใจถือเป็นสรณะที่ต้องรับผิดชอบในคำพูดนั้นๆ เพราะมันจะหมายถึงความนิยม (popular vote) ในการเลือกตั้งใหม่อีก 4 ปีในสมัยหน้า
Resilience Mindset ที่คนยุคใหม่ต้องคิด
Resilience คือความสามารถในการเด้งกลับ หรือคืนสภาพนั่นเอง คำนี้ถูกเอามาใช้ในเชิงจิตวิทยาหมายถึง ความสามารถที่จะรับมือกับความล้มเหลว ความผิดหวัง ที่จะทำให้กลับมาสู่สภาวะปกติ ซึ่งปัจจุบันคำนี้ถูกนำมาใช้ในกับแนวคิดคนทำงาน ทีม และองค์กรด้วย ต้องเลิกกรอบความคิดย้อนยุค เพราะโลกมัน disrupt ไปไกลเกินแล้ว ต้องมี resilience mindset อย่างมีสำนึก มีตรรกะ ใจเย็น มีความยืดหยุ่นทางจิตใจ ต่อสังคมโลกที่เปลี่ยนแปลงไป
ประเทศไทยมีคนที่คิดแปลกๆ นอกกรอบหลายประการ เช่น ผิดหลักสากล เพี้ยน ขาดเหตุผล แบบตรรกะวิบัติ จากระบบการเมืองสากลสี่ปีเจอกันอีกหน ระบอบประชาธิปไตยมีล็อกห้วงเวลาของ "นักเลือกตั้ง" ไว้แล้ว มิใช่การดึงเกมอยู่ยาวๆ 8-9 ปี หรือการล้มกระดาน หรือการล้มมติมหาชนเพราะนั่นคือ "เผด็จการ อำนาจนิยม" และต้องไม่ไปอ้างอิงอำนาจเหนือ มือที่มองไม่เห็น หรือ ไม่เสนอแนวคิด "รัฐบาลแห่งชาติ" (National unity government) พร่ำเพรื่อ หรือการไม่วิตกจริตจนเกินไป เช่น ไทยจะถูกอเมริกายึดครอง ไทยจะกลายเป็นคอมมิวนิสต์ มันคิดบ้าเลยเถิดไปโดยไม่มีเหตุผลที่ย้อนไปยุคสงครามเย็น (cold war) ยิ่งเป็นการส่งเสริมอำนาจ "รัฐซ้อนรัฐ" หรือ "รัฐพันลึก" (Deep State) ที่เป็น "อำนาจนิยมขนานแท้ๆ" ให้กลับเข้ามาใช้อำนาจเหมือนดังเช่น ม็อบพันธมิตร ม็อบ กปปส.
ต้องยอมรับในความเห็นต่าง
ทุกฝ่ายทุกขั้วย่อมมีจุดดีจุดอ่อน ในขณะเดียวกันต้องมองมุมกลับอีกด้าน เอาใจเขามาใส่ใจเรา ที่สำคัญมากก็คือ "การยอมรับในความเห็นต่าง" ที่ต้องยอมรับเสียงข้างน้อย เสียงของคนที่เสียเปรียบ เสียงของคนรุ่นใหม่ คนหัวก้าวหน้า คนมีภาวะพึ่งพิง (shelter) คนข้ามเพศ (transgender, LGTBQ) คนยากจน คนรากหญ้า ไม่แยกทุกชนชั้นวรรณะ เพศ วัย การประนีประนอม (compromise) การสมานฉันท์ปรองดอง (reconciliation) ใฝ่สันติ (peace) การ "ก้าวข้ามความขัดแย้ง" (conflict) เพื่อแก้ไขปัญหาในมิติต่างๆ ตามระบอบประชาธิปไตยไทย (Solution for Diversity) อย่าเพียงพูดแต่ปาก ความสามัคคีพร้อมเพรียงกัน (agreement, conformity) และฉันทามติ (consensus) ของสังคม ยังเป็นสิ่งจำเป็นในสังคมที่ต้องเคารพ มิเช่นนั้น สังคมจะปั่นป่วน วุ่นวาย ยุ่งเหยิง สับสนอลหม่าน ไร้ระเบียบ (chaos, disorder) ที่ไม่รู้จบสิ้น
รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงฉับพลันอย่างคาดไม่ถึงด้วย อันเป็นเหตุนำคนในสังคมไปสู่ความเก็บกด (stress) ความคับข้องใจ (frustration) ความขัดแย้ง (conflict) ความรุนแรง (violence) และสงคราม (war) ในที่สุดได้ เพราะ "ความสมานฉันท์ คือการสร้างความสัมพันธ์ นำไปสู่ความเป็นอยู่อย่างสันติ”
ปมเงื่อนที่จะเกิด "ทางตัน" (dead lock, dead ends) ที่มีผู้ทักท้วง เช่น การแก้กฎหมาย การปลดล็อกปมปัญหาต่างๆ มิได้ง่ายดาย เอาแค่ติดแก้ยุทธศาสตร์ชาติก็ไม่ได้แล้ว เพราะห้วงเวลาที่ยาวถึง 20 ปี การแก้รัฐธรรมนูญก็ต้องใช้เสียงส่วนใหญ่ถึง 3/4 และระยะเวลาที่เร็วที่สุดในกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญคือ เวลาต้องไม่น้อยกว่าสองปีครึ่ง เป็นต้น
ฉะนั้น การดักทาง การดองเค็ม การแช่แข็ง (freezing) การใช้ตุลาการภิวัตน์ (Judicial Review, Judicial Activism) การใช้ไอโอ (IO : Information Operation) การปั่นกระแสการสร้างทฤษฎีสมคบคิด (conspiracy theory) ด้วยวาทกรรม (discourse) ข่าวปลอม (faked news) ด้วยอาการหิวแสงอยากดัง (การทำตัวโดดเด่นในทางที่ผิด : Spotlight effect, attention seeker, hungry for attention) รวมทั่งการรัฐประหารยึดอำนาจ ของฝ่ายอำนาจนิยม ที่ผ่านมาจึงเป็นการกระทำที่ชอบ เพราะไม่มีผู้โต้แย้ง ทักท้วง ต่อต้าน ด้วยเสียง 3/4 เพราะ มีสถาบันพรรคการเมืองที่อ่อนแอ ถูกทำลาย รัฐสร้างสังคมที่เหลื่อมล้ำ แตกต่าง ไม่ยอมรับในความเห็นต่าง เป็นต้น
พรรคการเมืองที่เข้มแข็ง
ขออ้างอิงเรื่องความเข้มแข็งของระบบพรรคการเมืองที่รัฐธรรมนูญ "ฉบับประชาชน" พ.ศ.2540 ได้ริเริ่มสร้างไว้ แล้วมาต่อด้วย รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 เพื่อการต่อยอดความคิดมาถึงรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 และ ร่างรัฐธรรมนูญที่หลายฝ่ายต่างเห็นพ้องร่วมกันว่าต้องแก้ไขด้วยการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
ดร.สติธร (สถาบันพระปกเกล้า, 2555) ศึกษาวิเคราะห์ตัวบทกฎหมายจาก พรป.ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550 ใน 4 ประการ ได้แก่ (1) หลักเกณฑ์เรื่องโครงสร้างของ พรรคการเมือง (2) หลักเกณฑ์เรื่องการรักษาวินัยของพรรค (party discipline) (3) หลักเกณฑ์เรื่อง การทำให้สาขาพรรคการเมืองเป็นกลไกเชื่อมโยงกับประชาชน และ (4) หลักเกณฑ์เรื่องการ สนับสนุนทางการเงินให้กับพรรคการเมือง
ผลการศึกษาพบว่า พรรคการเมืองไทยยังมีความไม่เข้มแข็งอย่าง น้อย 4 ประการ คือ (1) โครงสร้างของพรรคการเมืองไทยยังเป็นแบบ “รวมศูนย์อำนาจ” (2) พรรคการเมืองไทยยังมีปัญหาเรื่องการรักษาวินัยของพรรค (3) สาขาพรรคการเมืองยังไม่มีศักยภาพเพียงพอที่จะทากิจกรรมทางการเมือง และ (4) ผลประโยชน์ส่วนใหญ่จากการสนับสนุนทางการเงินโดยรัฐตกอยู่กับพรรค การเมืองใหญ่เพียงสองพรรค (ขั้วอำนาจ)
คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)
มีอำนาจหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ ในการควบคุมดูแลและดำเนินการจัด หรือจัดให้มีการเลือกตั้งและการออกเสียงประชามติ ตามที่กฎหมายกำหนด ให้เป็นไปโดยสุจริต และเที่ยงธรรม ด้วยสโลแกนปัจจุบัน (2566) ว่า "สุจริต เที่ยงธรรม และชอบด้วยกฎหมาย" โดยตัดเดิมคำว่า "โปร่งใส" ออกไปแล้วโดยไม่ทราบว่ามีนัยยะเหตุผลใดหรือไม่
เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ สำนักงาน กกต.ตั้งเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2541 ก่อนหน้านั้น การเลือกตั้ง ส.ส. ส.ว. และท้องถิ่น อยู่ในหน้าที่ของ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งสถาปนาจัดตั้งขั้นเพื่อเป็นองค์กรหลักในการบริหารจัดการเลือกตั้งทุกระดับ การออกเสียงประชามติที่สังคมยอมรับ
ย้อนประวัติวิบากกรรมของ กกต.ที่ผ่านมาในรอบ 25 ปี ที่ผ่านมา ที่ทำให้ความศรัทธาในองค์กร กกต.ยืดๆ หดๆ ถูกต้องแล้วที่ให้การเลือกตั้งออกจากสังกัดกระทรวงมหาดไทย รวมทั้งตำรวจ และครูประชาบาลด้วย ปัจจุบัน อปท.ยังคิดดิ้นรนหนีออกจากมหาดไทยอยู่เช่นกัน เพราะคน อปท.ถูกรวบอำนาจ ครอบงำ ถูกบังคับบัญชาจาก ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และ กระทรวงมหาดไทย ทำให้ไม่มีอำนาจอิสระ ไม่มีการกระจายอำนาจที่แท้จริง แม้จะมีคณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ก.ก.ถ.) สังกัดสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี แต่ก็ไม่มีอำนาจ
กกต.มาถูกทางแล้ว แต่อาจหลงทางไปบ้าง กกต.ต้องวิพากษ์ได้ ปรับแก้ได้ กกต.ต้องเป็นกลาง (impartiality) ไม่ตกเป็นเครื่องมือของฝ่ายการเมือง หรือราชการหน่วยงานใดๆ จากข้อมูลพบว่า ในยุคแรกสมัยนายยุวรัตน์ กมลเวชช กกต.ชุดที่ 1 ดำรงตำแหน่งระหว่าง 27 พฤศจิกายน 2540-26 พฤษภาคม 2544 ผลงาน กกต.เป็นไปด้วยดี เพราะเป็นของใหม่
สมัยนายปริญญา นาคฉัตรีย์ (2544-2549) กกต.รุ่นแรกที่โดนคดีอาญา สมัยทักษิณ ในคดีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ พรรค ปชป.ฟ้อง ประธาน กกต.พล.ต.อ.วาสนา เพิ่มลาภ (2545-2549), นายปริญญา นาคฉัตรีย์ (2544-2549) และนายวีระชัย แนวบุญเนียร (เสียชีวิต) เพราะไม่สุจริตและเที่ยงธรรม ในการเลือกตั้งปี 2549 คือ คดีที่ 1 การปฏิบัติหน้าที่ที่เป็นคุณแก่ผู้สมัครพรรคไทยรักไทยและเป็นโทษแก่ผู้สมัครพรรคการเมืองอื่น (คดีเอื้อพรรคไทยรักไทย) กกต.ทำเพื่อช่วยพรรคไทยรักไทย จนชนะเลือกตั้ง เช่น จัดคูหาเลือกตั้ง หันหน้าไปทางผนังและหันด้านหลังออก ทำให้การลงคะแนนไม่เป็นไปโดยลับ (คดีคูหาหันออกทำให้ไม่เป็นความลับ) ศาลอาญา (2549) พิพากษาให้ตัดสิทธิการเลือกตั้งและจำคุก แต่ศาลฎีกา (2556) เห็นว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรง จึงไม่มีอำนาจในการฟ้อง จึงมีคำพิพากษาให้ยกฟ้อง
คดีที่ 2 คดี "พรรคไทยรักไทยว่าจ้างพรรคเล็ก" ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549 มีถึง 40 เขต ที่ผู้สมัครพรรคไทยรักไทย ลงสมัครเพียงคนเดียวและฝ่าด่าน 20% ไปไม่ได้ โดย 38 เขตอยู่ในพื้นที่ภาคใต้
ท้ายสุดเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2559 กกต. 2 คน คือ พล.ต.อ.วาสนา และนายปริญญา ต้องคำพิพากษาศาลฎีกา ให้จำคุก 2 ปี ฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ โดยไม่รอลงอาญา หลังนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ยื่นฟ้อง กรณีพรรคไทยรักไทย จ้างพรรคเล็กลงเลือกตั้ง แต่ 2 กกต. ก็จำคุกจริงๆ จากความผิดนี้เพียง 1 ปี 6 เดือน และพ้นจากเรือนจำมาวันที่ 12 ธันวาคม 2560
กล่าวโดยสรุปมองได้ในมิติ การทำเกินหน้าที่ การเหลิงอำนาจ หรือ การทำตามใบสั่งของ กกต.
กกต.ชุดก่อนนี้สมัยนางสดศรี สัตยธรรม (2549-2556) และ นายสมชัย ศรีสุทธิยากร (2556-2561)อาจถือว่าเป็น กกต.ที่สามารถประคับประคองตัวรอด วางตัวอยู่ในจุดที่เชื่อถือได้ ไม่เพลี่ยงพล้ำ รอดบ่วงคดีอาญาไปได้ แต่ กกต.นายสมชัย ก็ถูก คสช.ปลด แต่เป็น ชุดนี้เป็น กกต.ที่มีผลงานจัดการเลือกตั้งน้อยที่สุด ท่ามกลางกระแสพรรคการเมือง และนักปฏิวัติที่กระหายอำนาจอย่างเชี่ยวกราก เพราะอยู่ในช่วงอำนาจของรัฐบาล คสช.
ดวงเมืองดวงผู้นำไทยต่างทำคุณไสย สายมู (mutelu)
ข่าวนี้น่าสนใจ ไพศาล พืชมงคล (2565) ชี้ว่า "ลัทธิไสยศาสตร์ทางกฎหมาย" กำลังทำให้ขื่อแปบ้านเมืองวินาศสันตะโร บรรดาสารพัดกฎหมายเกิดเป็นปัญหาถกเถียงและอ้างว่าจะต้องตีตามกันตามลัทธิไสยศาสตร์ทางกฎหมาย ที่โด่งดังมากคือการตีความวาระการดำรงตำแหน่งของนายกรัฐมนตรี ที่ลามเข้าไปถึงวงการตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เกี่ยวกับวาระการดำรงตำแหน่งของประธานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ทั้งๆ ที่ไทยมีหลักรัฐธรรมนูญ 2560 อยู่แล้ว
กล่าวโดยสรุป ปัจจุบันการเมืองไทยคงมีการใช้หลักไสยศาสตร์ (อภินิหาร) ทางกฎหมายอย่างไม่มีขอบเขต ที่หมายรวมถึง "ตุลาการภิวัตน์" (Judicial Activism) ด้วย ที่เป็นเงื่อนไขที่ไม่ชอบ ตามหลักนิติธรรม (The Rule of Law) และหลักสากลประชาธิปไตย มีการอ้างใช้วาทกรรมที่น่าอับอาย เกินเลย ไม่ make sense ตาลปัตรกลับหัวกลับหาง "อ้างอำนาจพิเศษ" ต่อสู้กันแบบสาดโคลน ใส่ร้าย ป้ายสี แต่งสรรค์สร้างข่าวบิดเบือน เขย่าข่าว ตีข่าว สร้างกระแสทั้งทางบวกทางลบ ที่มิใช่การต่อสู้กันในวิถึทางระบอบประชาธิปไตย ครั้นจะต่อว่าเป็นแนวคิดที่แปลกก็คงไม่ได้ เพราะทุกคนต้องยอมรับในความเห็นต่างได้ เพียงแต่ระดับของการยอมรับอาจมากน้อยแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล และแต่ละกลุ่มคนไป การไม่ยอมรับในวามเห็นต่างเลย โดยไม่มีเหตุผลรองรับจึงใช้ไม่ได้
นี่ขอกล่าววิพากษ์พาดพิงเพียงความเห็นด้วยสุจริตใจ หากเป็นเชิงลบบ้างก็เป็นการติเพื่อก่อ ในฐานะที่เป็นเรื่องสาธารณะ กรณีศึกษาที่ประชาชนทุกคนควรรู้