นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง เปิดเผยว่า ปัจจุบันการเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชนทางรางหรือรถไฟฟ้าในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ตามแผนแม่บทการพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนสายหลักและสายรองในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล หรือ M-MAP เปิดให้บริการแล้วว่า 242 กิโลเมตร และอยู่ระหว่างก่อสร้างอีกกว่า 105 กิโลเมตร จากโครงข่ายทั้งหมดกว่า 553 กิโลเมตร และเพื่อรองรับพฤติกรรมการเดินทางของประชาชน

ขณะนี้กรมรางอยู่ระหว่างเปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ถึงโครงการศึกษาเพื่อพัฒนาแบบจำลองการคาดการณ์ความต้องการการเดินทางด้วยระบบรางและการพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (พื้นที่ต่อเนื่อง) ระยะที่ 2 ปัจจุบันโครงการได้ออกแบบแบบจำลอง คาดการณ์ความต้องการเดินทางด้วยระบบราง (Railway Demand Forecast) แล้วเสร็จ และได้นำมาดำเนินการวางแผน M-MAP 2 โดยการวิเคราะห์และกำหนดแนวเส้นทางที่มีความเป็นไปได้ให้ตอบโจทย์นโยบายการพัฒนารถไฟฟ้าใน 5 ด้าน ซึ่งมีการทบทวนและคัดกรองแนวทางโครงการที่มีความจำเป็นเร่งด่วนเพื่อเสนอต่อรัฐบาลชุดใหม่เพื่อพิจารณา ทั้งโครงการข่ายรถไฟฟ้าที่ยังไม่ดำเนินการ รวม 12 ช่วง 8 สี เช่น โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงส่วนต่อขยาย ตลิ่งชัน-ศาลายา-ศิริราช และเส้นทาง ส่วนเส้นทางสายสีเทา สีฟ้า สีน้ำตาล สีเงิน ต้องมีการทบทวนแผนอีกครั้ง นอกจากนี้ยังมีอีก 13 เส้นทาง โครงการใหม่ที่จะนำเสนอ ซึ่งจะได้ข้อสรุปของการจัดทำแผน M-MAP ฉบับใหม่สอดคล้องกับผังเมืองและทิศทางการพัฒนาเมืองในอนาคต ในวันที่ 24 กรกฎาคม 2566

นายพิเชฐ กล่าวว่า กล่าวถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากการพัฒนาโครงการ M-MAP ฉบับใหม่ว่า จะเป็นส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงโครงข่ายรถไฟฟ้าได้ง่ายและมากขึ้น ทั้งนี้กรมรางได้หารือกับกระทรวงการคลังถึงความเป็นไปได้ในการออกมาตรการจูงใจด้านภาษี ส่งเสริมให้องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน หันมาใช้บริการระบบขนส่งมวลชนรถไฟฟ้ามากขึ้นซึ่งจะได้รับการลดหย่อนภาษี และประหยัดพลังงานด้าน เชื้อเพลิง ภาครัฐสามารถควบคุมอัตราค่าโดยสารได้ และผู้ใช้บริการได้รับความสะดวกในการเข้าใช้บริการ เป็นต้น