การประชุมว่าด้วยธรรมาภิบาลสิทธิมนุษยชนระดับโลก (Forum on Global Human Rights Governance) มีสำนักงานข้อมูลข่าวสารแห่งคณะรัฐมนตรีจีน กระทรวงการต่างประเทศจีน และสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศจีนร่วมกันจัดขึ้น ณ กรุงปักกิ่งของจีน เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2023 โดยมีหัวข้อการประชุมที่ว่าด้วย “ความเสมอภาค ความร่วมมือ และการพัฒนา ครบรอบ 30 ปี การลงนามผ่าน ‘แถลงการเวียนนากับโครงหลักปฏิบัติการ’ กับการธรรมาภิบาลสิทธิมนุษยชนระดับโลก” ซึ่งมีผู้เข้าร่วมมากกว่า 300 คน จากประเทศและองค์กรระหว่างประเทศเกือบ 100 แห่ง
การประชุมฯ ครั้งนี้ มีการจัดประชุมเสวนาย่อยถึง 5 หัวข้อที่เกี่ยวกับประเด็นต่างๆ “ความร่วมมือกับการธรรมาภิบาลสิทธิมนุยชนทั่วโลก” , “ข้อริเริ่มว่าด้วยความมั่นคงปลอดภัยทั่วโลกกับหลักประกันด้านสิทธิมนุษยชนทั่วโลก” , “กลไลทางสิทธิมนุษยชนทั่วโลกกับการธรรมาภิบาลสิทธิมนุษยชนทั่วโลก และ “การประกันสิทธิมนุษยชนทั่วโลกในยุคสมัยดิจิทัล”
ท่ามกลางอารยธรรมมนุษย์ที่มีความหลากหลาย ประเทศต่างๆมีประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ระบบการเมือง ระดับและเส้นทางการพัฒนาที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม การส่งเสริมและปกป้องสิทธิมนุษยชนได้กลายความต้องการร่วมกันของประชาคมระหว่างประเทศ
หม่า จาวซู้ รองรัฐมนตรีการต่างประเทศจีน กล่าวว่า จีนมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการธรรมาภิบาลสิทธิมนุษยชนทั่วโลก ขยายการแลกเปลี่ยนด้านสิทธิมนุษยชนอย่างกว้างขวางและความร่วมมมือมือกับทุกฝ่าย จีนยินดีที่จะทำงานร่วมกับทุกฝ่ายเพื่อส่งเสริมค่านิยมการร่วมกันของมวลมนุษยชาติ ส่งเสริมการธรรมาภิบาลสิทธิมนุษยชนทั่วโลกสู่ทิสทางที่มีความยุติธรรม สมเหตุสมผล และครอบคลุมมากขึ้น ส่งเสริมการสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันของมนุษยชาติ
มาซังโก มโบยา แซงต์-ซี กรรมาธิการความร่วมมือระหว่างประเทศและกิจการพหุภาคีกระทรวงการต่างประเทศแห่งสาธารณรัฐแอฟริกากลาง เผยว่า “การปกป้องผลประโยชน์ที่สำคัญของทุกคนบนโลกใบนี้ควรเป็นจุดเริ่มต้นและจุดสำคัญของการธรรมาภิบาลสิทธิมนุษยชนทั่วโลก” เพื่อให้ผู้คนทั่วโลกเป็นผู้ปฏิบัติหลัก ผู้ส่งเสริม และผู้ได้รับประโยชน์จากสิทธิมนุษยชน ประเทศใหญ่ทั่วโลกจำเป็นต้องปฏิบัติตามความรับผิดชอบของตน
การมีโอกาสพัฒนาที่เท่าเทียมกัน การแบ่งปันผลประโยชน์ทางการพัฒนา การตระหนักถึงสิทธิการพัฒนาอย่างเต็มที่ คือ การแสวงหาอย่างไม่ลดละของสังคมมนุษย์ ในการประชุมฯ แขกรับเชิญทั้งจีนและเทศได้ร่วมหารือเชิงลึกเกี่ยวกับความสำคัญเชิงปฏิบัติของการริเริ่มการพัฒนาระดับโลก การริเริ่มด้านความมั่นคงระดับโลก และการริเริ่มด้านอารยธรรมโลกในการส่งเสริมการพัฒนาสิทธิมนุษยชนทั่วโลก