ความสำคัญของเมืองแกลง​ จะเกี่ยวเนื่องไปถึงเมืองประแส​ และปากแม่น้ำประแส ฯลฯ เป็นแหล่งชุมขนเก่าโบราณมี คนพื้นเมืองดั้งเดิม (ชอง, มลายู ฯลฯ)
ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่ซ่องสุมผู้คนกองกำลังของผู้นำท้องถิ่น มาตั้งแต่ก่อนกรุงแตก แล้วร่วมกันแข็งข้อต่อต้านพระเจ้าตากที่ออกไปจากอยุธยา

พระเจ้าตากฯ เมื่อรวบรวมผู้คนอยู่เมืองระยอง ได้ยกไพร่พลไปปราบปรามสำเร็จ จับได้คนมีฝีมือกลุ่มหนึ่ง มีชื่อในพระราชพงศาวดารว่า นายบุญมี บางเหี้ย, นายแทน, นายมี, นายเมืองพม่า, นายสนหมอ กับบุตรชื่อนายบุญมี ฯลฯ

บุคคลสำคัญในปลายกรุงศรีอยุธยาถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ คือ​สมเด็จพระสังฆราชชื่น สมัยพระเจ้าตาก​สินมหาราช​  หลังกรุงแตกพระเจ้ากรุงธนบุรีต้องการแสดงพระองค์เป็นจักรพรรดิราชฝึกฟื้นใจเมืองแผ่นดินเป็นพุทธบูชา​ จึงได้นิมนต์​ พระครูชื่น​ จากเมืองแกลงมาเป็นเจ้าอาวาสวัดหงรัตนาราม​ยกย่องจนได้เป็น​ สมเด็จพระสังฆราชพระองค์สุดท้ายของกรุงธนบุรี​

ข้อมูลหลักฐานเหล่านี้มีมากมายอยู่ในหนังสือ​ การเมืองสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี​ ของ อ.นิธิ​ เอียวศรีวงศ์​ ที่มีตัวละครที่มีตัวตนจริงก่อนและกรุงแตกว่าขุนนางกลุ่มไหนบ้างเลือกข้างไปกับใครบ้าง​ รวมทั้งสาแหรกข้างพ่อแม่สุนทรภู่​ ที่เหนี่ยวแน่นอยู่กับสายพ่อกรมพระราชวังหลัง​ พี่เขยรัชกาลที่​ 1

เรื่องพ่อสุนทรภู่​ ตัวสุนทรภู่​ และสมเด็จพระสังฆราชชื่น​ ตรงนี้ที่​ ทางจังหวัดระยองควรภาคภูมิใจและไม่ควรละเลย​ ซึ่งจะขายความรู้การท่องเที่ยวควบคู่กับอนุสาวรีย์สุนทรภู่​ ซึ่งเป็นชาวบางกอก​ ที่บิดาบวชเป็นพระและถูกส่งมาเป็นสมภารครองวัดบ้านกร่ำด้วยเหตุผลทางการเมือง

หากเข้าใจตรงนี้​ ก็จะเห็นภาพประวัติศาสตร์กู้บ้านเมืองของพระเจ้ากรุงธนบุรีจนทาถึงยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์​ ที่อำนาจวังหลวง​, วังหน้า​ และวังหลัง​ มีอำนาจกึ่งพระนคร​ โดยเฉพาะขอบเขตของวังหลังที่ควบคุมหัวเมืองชายทะเล

เหตุที่พ่อสุนทรภู่มาบวชเและถูกส่งนิมนต์มาอยู่เมืองแกลง​  ต้องเข้าใจก่อน​ พระสงฆ์ถูกห้ามเกี่ยวข้องทางการเมืองโดยตรงเริ่มขึ้นจริงขังสมัย ​ร.4​  ในยุคต้นกรุงธนบุรี​ บ้านเมืองยังไม่ราบคาบและผู้นำท้องถิ่น 2 คน ขุนรามกับหมื่นซ่อง เป็นกรมการเมืองระยอง (ที่มีหลายคน) หนีรอดไปอยู่กับพระยาจันทบูร เจ้าเมืองจันทบุรี​ ด้วยพระเจ้าตากยกไปตีได้เมืองจันทบุรี พระยาจันทบูรหนีไปอยู่เมืองพุทไธมาศ (เวียดนาม) ส่วนขุนรามกับหมื่นซ่องไร้ร่องรอยชื่อหายจากพงศาวดาร โดยไม่บอกว่าตาย หรือหนีไปอยู่ไหน?​ นี่แหละทำไม​ พ่อสุนทรภู่​ อดีตนายทหารคนสำคัญของกรมพระราชวังหลังต้องมาบวชและมาอยู่เมืองแกลง​ จนกระทั่ง​ สุนทรภู่​ได้รับคำสั่งให้มาราชการตามที่เขียนไว้ในนิราศเมืองแกลง​ว่าต้องเดินทางลำบากจึงพึมพำรำพันเป็นกลอนในนิราศเมืองแกลงว่า

“จะกรวดน้ำคว่ำขันจนวันตาย แม้เจ้านายท่านไม่ใช้แล้วไม่มา”

อนึ่ง​  ประวัติสุนทรภู่​ ทั้งหมดทั้งมวลที่ใช้กันนั้นล้วนมาจากพระนิพนธ์​ใน​ สมเด็จฯ​ กรมดำราชานุภาพ​ เป็นข้อมูลเบื้องและมาจนถึงปัจจุบัน​ ตั้งแต่​ นายตำรา​ เมืองใต้​,นายฉันทิชย์ กระแสสินธุ์, หม่อมเจ้าจันทร์จิรายุวัฒน์ รัชนี หรือนามปากกา พ.ณ ประมวญมารค​ก็ต่างใช้ข้อเขียนของพระบิดาประวัติศาสตร์ไทยเป็นหลักฐานชั้นต้น​ แล้วตีความตามหลักฐานที่มีมาเพิ่มเติม

แต่ต้องเข้าใจก่อนว่ายุคนั้นที่ทรงพระนิพนธ์เรียบเรียงด้วยเงื่อนไขหลักฐานที่จำกัดและพระองค์ก็ไม่ได้บังคับให้เชื่อถือไปทั้งหมด​ ในเบื้องหน้าที่มีหลักเพิ่มเติม​ เพรสะยุคนั้นกลอนในสมุดไทยแทบจะเหมารวมว่าเป็นผลงานสุรทรภู่แทบทั้งสิ้น​ จนกระทั่ง​ซึ่งหลักฐานต่างๆ​ ค่อยเพิ่มเติมมาเรื่อยในยุคที่ข่าวสารเปิดกว้าง​ และเทียบเคียงถึงชี้ได้ว่าสำนวนไหนไม่ใช่​ และทำความใจใหม่ด้วยหลักแวดล้อม​ โดยเฉพาะประวัติสุนทรภู่ที่ต้องอ้างอิงจากงานเขียนเจ้าของประวัติ​ ไม่ใช่อ้างว่าอนุมานเอาเอง

หากทางจังหวัดระยอง​ ขายการท่องเที่ยวความภาคภูมิใจเกี่ยวกับ​ สังฆราชชื่น​ เส้นทางทัพพระเจ้าตากสินมหาราช​ และเส้นทางนิราศเมืองแกลงของ​สุนทรภู่​ ตามหลักฐานมีจริงมิใข่อ้างอนุมานว่าคนท้องถิ่นเชื่อว่า​เป็นคนที่นี่​ ทั้ง​ ๆ​ ที่หลักฐานมีอยู่ว่า​ สุนทรภู่​ เกิดที่ไหนมีโคตรญาติเป็นใครมาจากไหน​ จากคำบอกเล่าหลักฐานขั้นต้นในนิราศทุกเรื่องที่สุนทรภู่ให้การไว้เอง​ ความรู้ความเข้าใจก็จะกระจ่างสว่างใสด้วยฐานความรู้มากกว่าฐานความรู้สึก

เรื่องราวของ สุนทรภู่​ เกี่ยวข้องการเมืองระหว่างราชธานีกับเมืองแกลงที่ยังขบไม่แตกอีกมาก​และจะเป็นปัญหาของการศึกษาที่ความรู้​ๆ(รู้สึก)​กระจ่างแต่อย่างเดียว​ กลายเป็นต่างคนต่างอยู่​ แต่อยู่อย่างไม่เป็นมิตร

ด้วยความชื่นชมชาวระยองที่จัดงานรำลึกถึงมหากวีสุนทรภู่เป็นประจำทุกปีอย่างเข้มแข็ง​แต่อยากให้ขยายพรหมแดนความรู้ด้วยหลักฐานจ้อเท็จจริงควบคู่ไปด้วยสมกับชีวิตความเป็นจริงของสุนทนภู่ที่แสวงหาความรู้ตลอดชีวิต​ รู้เท่าทันโลกและการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาตั้งแต่เกิดจนตาย​ และเป็นอมตะจนถึงทุกวันนี้

ชินวัฒน์​ ตั้งสุทธิจิต
ผู้ประสานงาน​ กองทุนสุนทรภู่ศึกษา