กลายเป็นเหตุเศร้าสลด! หลังเกิดเหตุ "ถังดับเพลิงระเบิด" ภายในโรงเรียนราชวินิต มัธยม ย่านนางเลิ้ง กรุงเทพฯ ระหว่างการซ้อมดับเพลิง ส่งผลให้มีนักเรียนชาย เสียชีวิต 1 ราย บาดเจ็บอีกว่า 20 ราย เมื่อช่วงสายของวันที่ 23 มิ.ย.66 ที่ผ่านมา จากการตรวจสอบ "ถังดับเพลิง" ซึ่งเป็นถังต้นเหตุที่เกิดระเบิดเป็นถังดับเพลิงสีแดง ประเภท "CO2"

 

วันนี้ “สยามรัฐออนไลน์” ขอนำเสนอรายละเอียดเกี่ยวกับการเลือกซื้อถังดับเพลิงและติดตั้งถังดับเพลิง เรามาดุกันก่อนว่าถังดับเพลิงแต่ละชนิดนั้นมีคุณสมบัติอย่างไร ถังดับเพลิงแต่ละประเภทจะต้องใช้ให้ถูกต้องกับประเภทของไฟถึงจะสามารถดับเพลิงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

ประเภท A คือ เพลิงที่ไหม้ที่เกิดจากเชื้อเพลิงของแข็ง เช่น ไม้ ผ้า กระดาษ ปอ นุ่น ยาง พลาสติก

ประเภท B คือ เพลิงที่ไหม้ในของเหลวติดไฟและก๊าซติดไฟ เช่น น้ำมัน ก๊าซหุงต้ม จาระบี

ประเภท C คือ เพลิงที่ไหม้จากอุปกรณ์ไฟฟ้า ที่มีกระแสไฟฟ้าไหลอยู่ เช่น ไฟฟ้าลัดวงจร

ประเภท D คือ ประเภทวัตถุของแข็งหรือโลหะไวไฟ เช่น ไตตาเนียม แมกนีเซียมสำหรับแมกนีเซียมห้ามใช้น้ำดับเด็ดขาด ต้องใช้เกลือแกงหรือทราย

ประเภท K คือ เพลิงไหม้ที่เกิดจากน้ำมันที่ใช้ประกอบอาหาร ไขมันสัตว์

 

ประเภทของถังดับเพลิง

1.ชนิดผงเคมีแห้ง (Dry Chemical) สามารถดับไฟได้เกือบทุกประเภท A B C ยกเว้น CLASS K ราคาถูก หาซื้อง่าย แต่มีข้อเสียคือเมื่อฉีดออกมาจะฟุ้งกระจาย และเมื่อเราทำการฉีดแล้วจะฉีดจนหมดหรือไม่หมดถัง แรงดันจะตก ไม่สามารถใช้งานได้อีก ต้องส่งอัดบรรจุใหม่ทันที

2.ชนิดน้ำยาเหลวระเหย สามารถดับไฟได้เกือบทุกประเภท A B C ยกเว้น CLASS K ราคาถูกกว่าฮาโรตรอน หาซื้อง่าย เมื่อฉีดใช้งานจะไม่ทิ้งคราบสกปรก ไม่ทำลายอุปกรณ์ไฟฟ้าเสียหาย และไม่ทำให้สกปรกในบริเวณ ที่ใช้งาน ถังสีเขียว เหมาะกับ พื้นที่ที่เน้นความสะอาด เช่นอาคาร สำนักงาน โรงพยาบาล ห้องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

3.ชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) สารเคมีภายในบรรจุก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซที่ฉีดออกมาจะเป็นไอเย็นจัด คล้ายน้ำแข็งแห้ง ลดความร้อนของไฟได้ ไม่ทิ้งคราบสกปรก สามารถดับไฟได้ประเภท B C เหมาะสำหรับ การใช้งานในห้องเครื่องจักร Line การผลิต อุตสาหกรรมอาหาร ถังสีแดง ปลายกระบอกฉีดจะใหญ่เป็นพิเศษ

4.ชนิดโฟม สารเคมีภายในบรรจุโฟม เมื่อฉีดออกมาจะเป็นฟองโฟมคลุมผิวเชื้อเพลิงที่ลุกไหม้ จึงสามารถดับไฟได้ประเภท A B แต่ไม่สามารถนำไปดับไฟประเภท C ได้เพราะเป็นสื่อนำไฟฟ้า เหมาะสำหรับภาคอุตสาหกรรม ดับเชื้อเพลิงประเภททินเนอร์ และสารระเหยติดไฟ ถังแสตนเลส

5.ชนิดสูตรเคมีน้ำ เป็นสารทดแทนสารฮาล่อน 1211 ได้ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Non-CFC) ดับไฟClass A B C และ K ได้ ผ่านการทดสอบและรับรองประสิทธิภาพในการดับเพลิง Fire Rating 10A20B สำหรับขนาด 10ปอนด์ และ 10A40B สำหรับขนาด 15ปอนด์ โดยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (TISTR) ไม่บดบังทัศนวิสัยขณะฉีดใช้งาน เนื่องจากไม่เป็นฝุ่นละออง ปลอดภัยสำหรับฉีเใช้งานกับอุปกรณ์

 

วิธีการใช้ถังดับเพลิง

เข้าไปทางเหนือลมโดยห่างจากฐานของไฟประมาณ 2 – 3 เมตร สามารถดับเพลิงได้ทั้งไฟชนิด A , B , C และ K ระดับความาสามารถในการดับเพลิงสูง ดึงสลักหรือลวดที่รั้งวาล์วออก ยกหัวฉีดปากกลวยชี้ไปที่ฐานของไฟ ( ทำมุมประมาณ 45 องศา ) บีบไกเพื่อเปิดวาล์วให้ก๊าซพุ่งออกมา ให้ฉีดไปตามทางยาว และกราดหัวฉีดไปช้า ๆ ดับให้สนิทจนแน่ใจแล้ว จึงฉีดต่อไปข้างหน้า

   

ในกรณีที่เกิดเพลิงไหม้วางอยู่ในระดับต่างกัน ให้ฉีดจากข้างล่างไปหาข้างบน และถ้าน้ำมันรั่วไหลให้ฉีดจากปลายทางที่รั่วไหลไปยังจุดที่รั่วไหล และเหตุเพลิงไหม้ที่เกิดจากอุปกรณ์ไฟฟ้า ที่มีกระแสไฟฟ้าไหลอยู่ ต้องรีบตัดกระแสไฟฟ้าก่อน เพื่อป้องกันมิให้เกิดการลุกไหม้ขึ้นมาอีกได้

 

วิธีการตรวจสอบถังดับเพลิง

ดูที่เข็มในมาตรวัด (Pressure Gauge) ของถังดับเพลิง เครื่องดับเพลิงที่อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานได้ เข็มจะชี้ที่ช่องสีเขียว (สังเกตตามรูป)แต่ถ้าเข็มเอียงมาทางซ้ายแสดงว่าแรงดันไม่มี ต้องรีบนำไปเติมแรงดันทันที ซึ่งควรตรวจสอบเป็นประจำทุกเดือน ตรวจ สายฉีด หัวฉีด อย่าให้มีผงอุดตัน เป็นประจำทุกเดือน ถ้าไฟไหม้ หรือกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง ให้ส่งไปตรวจสอบและบรรจุใหม่ สภาพบรรจุของถังดับเพลิงต้องไม่บุบ หรือบวม และไม่ขึ้นสนิม อายุการใช้งาน ถังดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง (ถังสีแดง) มีอายุประมาณ 5 ปี ชนิดฮาโลตรอนวัน (ถังสีเขียว) และชนิดก๊าซ CO2 มีอายุประมาณ 10 ปี

ถังดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง (ถังสีแดง) หากมีการใช้งานแล้ว ต้องนำไปเติมสารเคมีใหม่ทุกครั้ง2.ตรวจ สายฉีด หัวฉีด อย่าให้มีผงอุดตัน เป็นประจำทุกเดือน