“จุรินทร์” เผยยอดจดทะเบียนธุรกิจ พ.ค.66 กว่า 7,437 ราย มูลค่าทุนร่วม 28,000 ล้านบาท ธุรกิจตั้งใหม่ 3 อันดับแรก “อสังหา-ก่อสร้าง-ร้านอาหาร”

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยผลการจดทะเบียนธุรกิจ ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ประจําเดือนพฤษภาคม 2566 โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ธุรกิจจัดตั้งใหม่เดือนพฤษภาคม 2566  มีผู้ประกอบธุรกิจยื่นขอจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนบริษัทใหม่ทั่วประเทศ ในเดือนพฤษภาคม 2566 จํานวน 7,437 ราย โดยมีมูลค่าทุนจดทะเบียนจํานวน 28,414.47 ล้านบาท ประเภทธุรกิจจัดตั้งใหม่สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จํานวน 558 ราย คิดเป็น 7.50% รองลงมา คือ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป จํานวน 480 ราย คิดเป็น 6.46% และอันดับ 3 คือ ธุรกิจภัตตาคาร/ร้านอาหาร จํานวน 369 ราย คิดเป็น 4.96% ตามลําดับ ธุรกิจจัดตั้งใหม่แบ่งตามช่วงทุน ได้แก่ ช่วงทุนไม่เกิน 1 ล้านบาท มีจํานวน 4,934 ราย คิดเป็น 66.34% ช่วงทุนมากกว่า 1-5 ล้านบาท จํานวน 2,383 ราย คิดเป็น 32.04% ช่วงทุนมากกว่า 5-100 ล้านบาท มีจํานวน 100 ราย คิดเป็น 1.35% และช่วงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท จํานวน 20 ราย คิดเป็น 0.27% ตามลําดับ

ขณะที่จํานวนธุรกิจเลิกประกอบกิจการ ประจําเดือนพฤษภาคม 2566 มีจํานวน 1,234 ราย โดยมีมูลค่าทุนจดทะเบียนจํานวน 8,239.90 ล้านบาท ประเภทธุรกิจเลิกประกอบกิจการสูงสุด 3 อันดับแรกได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป จํานวน 136 ราย คิดเป็น 11.02% ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จํานวน 63 ราย คิดเป็น 5.11% และธุรกิจภัตตาคาร/ร้านอาหาร จํานวน 34 ราย คิดเป็น 2.75% ตามลําดับ แบ่งตามช่วงทุน ได้แก่ ช่วงทุนไม่เกิน 1 ล้านบาท จํานวน 836 ราย คิดเป็น 67.75% ช่วงทุนมากกว่า 1- 5 ล้านบาท จํานวน 342 ราย คิดเป็น 27.71% ช่วงทุนมากกว่า 5-100 ล้านบาท จํานวน 48 ราย คิดเป็น 3.89% และช่วงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท มีจํานวน 8 ราย คิดเป็น 0.65% ตามลําดับ

โดยธุรกิจดําเนินกิจการอยู่ทั้งสิ้น (ณ วันที่ 31 พ.ค. 66) ธุรกิจที่ดําเนินกิจการอยู่ทั่วประเทศ จํานวน 876,953 ราย มูลค่าทุน 21.30 ล้านล้านบาท จําแนกเป็นบริษัทจํากัด จํานวน 672,424 ราย คิดเป็น 76.68% ห้างหุ้นส่วนจํากัด/ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล จํานวน 203,124 ราย คิดเป็น 23.16% และบริษัทมหาชนจํากัด จํานวน 1,405 ราย คิดเป็น 0.16% ตามลําดับ และแบ่งตามช่วงทุน ธุรกิจส่วนใหญ่มีช่วงทุนไม่เกิน 1 ล้านบาท จํานวน 514,064 ราย คิดเป็น 58.62% รวมมูลค่าทุน 0.45 ล้านล้านบาท คิดเป็น 2.12% ช่วงทุนมากกว่า 1-5 ล้านบาท จํานวน 267,733 ราย คิดเป็น 30.53% รวมมูลค่าทุน 0.92 ล้านล้านบาท คิดเป็น 4.30% ช่วงทุนมากกว่า 5-100 ล้านบาท จํานวน 77,522 ราย คิดเป็น 8.84% รวมมูลค่าทุน 2.13 ล้านล้านบาท คิดเป็น 9.98% และช่วงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท จํานวน 17,634 ราย คิดเป็น 2.01% รวมมูลค่าทุน 17.81 ล้านล้านบาท คิดเป็น 83.60% ตามลําดับ