จากกรณีที่ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล พร้อมด้วย นายชัยธวัช ตุลาธน เลขาธิการพรรคก้าวไกล  นายวรภพ วิริยะโรจน์ ทีมเศรษฐกิจของพรรคก้าวไกล รวมทั้งว่าที่ ส.ส.และตัวแทนจากพรรคก้าวไกล ร่วมการประชุมเพื่อรับฟังข้อเสนอแนะนโยบายด้านการกระจายอำนาจของพรรคก้าวไกล ร่วมกับสมาคมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ทั้ง 3 สมาคม ประกอบด้วย  สมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย และสมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย โดยทั้ง 3 สมาคมฯ ได้ ยื่นข้อเสนอให้พรรคก้าวไกล มีรายละเอียดดังนี้

 

สมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย (อบจ.)

1.อำนาจหน้าที่ของท้องถิ่นตาม พ.ร.บ.จัดตั้งให้กำหนดแต่เฉพาะเรื่องที่ห้ามทำ (Negative list)

2.การขับเคลื่อนนโยบายกระจายอำนาจ ต้องทำงานร่วมกับสำนักงานงบประมาณ และควรปรับปรุงโครงสร้างของคณะกรรมการกระจายอำนาจ

3.ให้อปท.สามารถหารายได้หลากหลายรูปแบบ เช่น จัดตั้งบริษัทนิติบุคคลได้ การกู้เงิน สหการ

4.รัฐไม่ควรแทรกแซงการจัดสรรสัดส่วนรายได้ที่จัดสรรให้อปท.

5.การตรวจสอบของหน่วยงานอิสระ เช่น ปปช. สตง. ต้องไม่กระทบต่อความเป็นอิสระในการทำงานและบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น

6.ระเบียบเบิกจ่ายของ อปท.ควรแก้ไขให้ท้องถิ่นสามารถจัดกิจกรรมที่ต้องการได้ เช่น แข่งขันกีฬา

7.ให้ประมวลรัษฎากร ยกลิกระบบภาษีที่ไปรวมที่ส่วนกลาง

8.ควรให้มี “สภาท้องถิ่นแห่งชาติ” เป็นหน่วยงานหลัก ทำหน้าที่สนับสนุนการจัดบริการสาธารณะและถ่ายโอน

 

สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย (เทศบาล)

1.การแก้รัฐธรรมนูญ ในหมวดการปกครองท้องถิ่น ทางสมาคมฯร่วมกับนักวิชาการกำลังยกร่างปลดล็อกท้องถิ่นของทางสมาคมท้องถิ่น

2.ระเบียบที่ล้าสมัยและเป็นอุปสรรค ต้องแก้ไขปรับปรุงหรือยกเลิก

3.หน่วยงานกำกับดูแล ต้องไม่ใช่การควบคุมสั่งการ และให้มีการกำกับดูแลโดยประชาชน

4.การวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทระหว่างหน่วยงาน ให้เป็นอำนาจของศาลปกครอง แทนผู้กำกับดูแล

5.ควรแยกงบอุดหนุนเฉพาะกิจออกจากสัดส่วนรายได้ของ อปท. เช่น นมโรงเรียน เบี้ยผู้สูงอายุ อาหารกลางวัน ฯลฯ

6.ภาษีมูลค่าเพิ่ม ควรจัดสรรเพิ่มให้ท้องถิ่น

7.ท้องถิ่นควรออกแบบการจัดเก็บภาษีได้เองเพิ่ม รวมทั้งมีอำนาจในการ ลงทุน การออกพันธบัตร

8.แก้ระเบียบการใช้เงินสะสมของ อปท.เพื่อให้การใช้เงินสะสมคล่องตัวขึ้น

 

สมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย (อบต.)

1.การจัดสรรรายได้ต้องเป็นไปเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในระหว่าง อบต.

2.ยกเลิกการจัดสรรเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ

3.มี อบต.ที่มีรายได้ไม่พอต่อการพัฒนา ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากต้องดูแลเร่งด่วน

4.ปรับเพิ่มฐานภาษีสำหรับอบต. เช่น ภาษีโรงงาน

5.ปลดล็อกให้ อปท.นำทรัพยากรที่อยู่ในเขตพื้นที่มาใช้ เพื่อจัดบริการสาธารณะและหารายได้ อาทิ แหล่งน้ำ อาคารสถานที่ราชการเก่า

6.อปท.ต้องมีโครงสร้างของท้องถิ่น ระดับชาติ เช่น การตั้งสภาท้องถิ่นแห่งชาติ

7.งานบุคคลท้องถิ่น นายก อปท.ควรมีอำนาจบริหาร เช่น การโยกย้าย รับโอน เสนอให้ ยกเลิกคำสั่ง คสช.ที่ 8/60 รวมศูนย์อำนาจส่วนกลาง ยกเลิกระบบส่วนกลางสอบแล้วส่งคนไปบรรจุในท้องถิ่น

8.การบรรจุ แต่งตั้ง เลื่อนตำแหน่งบุคลากร ควรให้ อปท.สอบสัมภาษณ์ และสถาบันทางการศึกษาวัดความรู้ทางวิชาการ

9.คณะกรรมการกระจายอำนาจต้องไม่ทำงานแบบธุรการทั่วไป ต้องมีการปรับทั้งโครงสร้างและที่มาให้ตอบโจทย์การทำหน้าที่กระจายอำนาจและส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

10.อปท.จัดบริการสาธารณธ ต้องยกเลิกการขออนุญาต อนุมัติ จากหน่วนงานส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค

11.ปรับโครงสร้างยกฐานะอบต.เป็นเทศบาลต้องยึดเจตนารมณ์ประชาชน มิใช่พิจารณาที่เกณฑ์รายได้และเกณฑ์ประชากร

12.การขยายเขตไฟฟ้า ประปา รัฐวิสาหกิจต้องลงทุนเอง หากอปท.ลงทุนให้ต้องแบ่งรายได้คืนให้อปท.ด้วย

13.ที่ดินวัด ซึ่ง อปท.ขอใช้ เพื่อจัดบริการสาธารณะ ไม่ควรจัดเก็บค่าเช่า