วันที่ 20 พ.ค.66 "โบว์" ณัฏฐา มหัทธนา นักกิจกรรมนักเคลื่อนไหวทางการเมือง ทวีตข้อความ่านทวิตเตอร์ส่วนตัว @NuttaaBow ระบุว่า...

เพราะ “พรรคก้าวไกล” คือเสียงข้างน้อย เรื่องนี้จึงไม่จบง่าย การได้มา 152 เสียงแล้วเป็นอันดับหนึ่ง หากเป็นพรรคอื่นจะไม่มีปัญหาในการโหวตนายก เพราะไม่ได้มีอุดมการณ์ต่างกับคนที่เหลืออย่างสุดขั้ว แต่เมื่อเป็นพรรคก้าวไกล ซึ่งเป็นตัวแทนเชิงอุดมการณ์ที่แตกต่างจากทุกพรรคแล้วได้มา 152 เสียง (ซึ่งห่างจากกึ่งหนึ่งไปมาก) พอพรรคอื่นๆจะไปเข้าร่วมรัฐบาล เลยกลายเป็นว่า เรากำลังจะมีนายกจาก “อุดมการณ์เสียงข้างน้อย” ในประเทศ เพราะคนที่เลือกพรรคอื่นๆในทั้งสองฝ่าย เขาไม่ได้มีความต้องการทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง แบบก้าวไกล พรรคการเมืองทุกพรรคและ สว. ต้องคิดถึงประเด็นนี้ด้วย ว่านี่คือเสียงข้างมากจริงๆใช่หรือไม่ หรือเพียงเพราะพรรคที่ไปสนับสนุนให้ก้าวไกลเป็นแกนนำนั้นกำลังงงกับการคำนวณ เพราะลืมนับความแตกต่างเชิงอุดมการณ์ ที่ไม่ใช่แค่เรื่องสังคมการเมือง แต่เป็นเรื่องเศรษฐกิจด้วย พรรคที่ตัดสินใจเข้าร่วมรัฐบาลกับก้าวไกล คุณแน่ใจตัวเองหรือเปล่าว่าต้องการแนวทางเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม? อย่าดูแต่เทรนด์ทวิตเตอร์ ดูความเป็นจริงของคำว่าเสียงข้างมาก เสียงสะท้อนจากภาคเอกชน ฯลฯ ด้วยค่ะ กลับไปดูผลคะแนนเลือกตั้ง แล้วลองคิดตามดู