ส.ป.ก. ผลักดันบุคลากร เปิดหลักสูตรฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “การบริหารจัดการทรัพย์สิน การประเมินมูลค่าทรัพย์สิน และพัฒนารายได้จากที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์” รุ่นที่ 1 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน

วันที่ 16 พ.ค.66 สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) จัดโครงการพัฒนาบุคลากรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานกองทุน การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หลักสูตรฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “การบริหารจัดการทรัพย์สิน การประเมินมูลค่าทรัพย์สิน และพัฒนารายได้จากที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์” รุ่นที่ 1 และฝึกปฏิบัติภาคสนามในเขตพื้นที่จังหวัดสระบุรี โดยมี นายวิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) เป็นประธานเปิดโครงการฯ ในครั้งนี้

นายวิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เปิดเผยว่า ในการจัดโครงการพัฒนาบุคลากรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานกองทุนการปฏิรูปที่ดิน เพื่อเกษตรกรรม หลักสูตรฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “การบริหารจัดการทรัพย์สิน การประเมินมูลค่าทรัพย์สินและพัฒนารายได้จากที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์” รุ่นที่ 1 ในครั้งนี้ เป็นที่ทราบกันว่า ปัจจุบัน สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) มีการจัดเก็บค่าตอบแทนการใช้ประโยชน์ จากผู้ขอใช้ที่ดินเป็นค่าเช่า ค่าตอบแทน จากผู้ประกอบกิจการสนับสนุนหรือเกี่ยวเนื่องกับการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม โดย ส.ป.ก.เรียกเก็บเป็นค่าเช่าและค่าตอบแทน อ้างอิงตามราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน ของกรมธนารักษ์กำหนด ซึ่งมีหลักเกณฑ์การพิจารณาหลายขั้นตอน และมีการคำนวณ ราคาค่าเช่าและค่าตอบแทนที่ซับซ้อน รวมทั้งกรณีจัดซื้อที่ดินเอกชนด้วยเงินกองทุน การปฏิรูปที่ดินฯ ซึ่งเป็นภารกิจของ ส.ป.ก.จังหวัด ที่ต้องสืบราคาตลาดและตรวจสอบ สภาพแปลงที่ดินเพื่อประกอบการพิจารณาจัดซื้อที่ดิน

นอกจากนั้น รัฐบาล โดยคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ มีนโยบายในการจัดทำแนวทางการปฏิรูปการสร้าง มูลค่าที่ดินที่รัฐจัดให้กับประชาชน โดยมีแผนดำเนินการในพื้นที่เขตปฏิรูปที่ดิน ซึ่งกำหนดให้ มีการประเมินมูลค่าที่ดินของรัฐ การพัฒนาสิทธิในที่ดิน การบริหารจัดการทรัพย์สินหนี้สิน ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของ ส.ป.ก. ในภาพรวมทั้งภารกิจหน้าที่ของ ส.ป.ก. ส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ปฏิบัติงาน จะต้องมีความรู้ ความเข้าใจหลักวิชาการ ที่เกี่ยวกับการประเมินมูลค่าทรัพย์สินตามมาตรฐานวิชาชีพ ด้านเศรษฐศาสตร์ และการเงินเชิงธุรกิจเบื้องต้นที่สอดคล้องกับบริบทของการปฏิรูปที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพ และในยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม มีเป้าหมายสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชากรไทย โดยได้กำหนดมาตรการ ความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรมในทุกมิติ กระจายการถือครองที่ดินและการเข้าถึง ทรัพยากรที่ดินในเรื่องของ การปรับระบบเอกสารสิทธิการถือครองที่ดินประเภทต่าง ๆ เพื่อให้ผู้มีรายได้น้อยและผู้ที่ไม่มีที่ดินสามารถมีกรรมสิทธิ์บริบูรณ์ ใช้เป็นหลักฐาน ประกอบการขอพิจารณาสินเชื่อกับสถาบันการเงินได้ และเชื่อมโยงกับแผนการปฏิรูป ประเทศด้านสังคม กิจกรรมปฏิรูปประเทศประเด็นการสร้างมูลค่าให้กับที่ดินที่รัฐจัดให้ประชาชน

โดยมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญประการหนึ่ง คือ การจัดทำหลักเกณฑ์ การประเมินมูลค่าที่ดินรัฐแบบรายแปลงให้เหมาะสม มีมาตรฐาน สอดคล้องกับการ ใช้ประโยชน์ที่ดิน การจัดการทรัพย์สิน หนี้สิน และการบริหารจัดการความเสี่ยง ซึ่งมีผลกระทบกับการดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ส.ป.ก. จึงต้องเตรียมความพร้อมในการขับเคลื่อนภารกิจตามประเด็นดังกล่าว โดยในส่วนของสำนักบริหารกองทุน ได้ดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติราชการของกองทุน การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566- 2570) และกำหนดโครงการ หรือกิจกรรมภายใต้กลยุทธ์เพื่อขับเคลื่อนภารกิจกองทุนฯ และสนับสนุนการดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ตามอำนาจหน้าที่ โดยดำเนินการนำที่ดินประเภทที่ดินของรัฐ และที่ดินเอกชนจากการจัดซื้อจัดให้แก่เกษตรกรและสถาบันเกษตรกร รวมทั้งบุคคลอื่น ด้วยวิธีการเช่า เช่าซื้อ และเข้าทำประโยชน์ โดยมีเงินกองทุนฯ เป็นเงินทุนหมุนเวียน ในการดำเนินการ การขับเคลื่อนภารกิจกองทุนฯ และสนับสนุนการดำเนินการปฏิรูปที่ดิน ตามนโยบาย กฎหมาย ระเบียบ และแผนปฏิบัติราชการในด้านการบริหารจัดการทรัพย์สิน การประเมินมูลค่าทรัพย์สิน การพัฒนารายได้และการจัดเก็บผลโยชน์ในที่ดินหรือ อสังหาริมทรัพย์ ให้มีประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผลบุคลากรผู้ปฏิบัติงานจำเป็นต้องมีองค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติเฉพาะด้านเกี่ยวกับ อสังหาริมทรัพย์ การประเมินมูลค่าทรัพย์สิน ตามมาตรฐานวิชาชีพ ด้านเศรษฐศาสตร์ และการเงินเชิงธุรกิจเบื้องต้น 

นอกจากนี้ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร ส.ป.ก. ก็เพื่อให้มีองค์ความรู้ ความเข้าใจ และมีประสบการณ์ที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพย์สิน การประเมินมูลค่าทรัพย์สิน และการพัฒนารายได้จากที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ จากผู้เชี่ยวชาญ อาจารย์ และนักประเมินมูลค่าทรัพย์สินวิชาชีพ จากสมาคมผู้ประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทยและจากสถาบันการศึกษา ซึ่งบุคลากร ส.ป.ก. สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ถูกต้องตามหลักวิชาการ มาตรฐานวิชาชีพการประเมินมูลค่าทรัพย์สินในประเทศไทย จึงเห็นควรจัดทำโครงการพัฒนาบุคลากรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานกองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม 1 หลักสูตรฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “การบริหารจัดการทรัพย์สิน การประเมินมูลค่าทรัพย์สินและพัฒนารายได้ จากที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์" รุ่นที่ 1 ให้สอดคล้องกับแผนปฏิบัติราชการของกองทุนการปฏิรูปที่ดิน เพื่อเกษตรกรรมด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566 - 2570) และแผนปฏิบัติการ ประจำปีบัญชี ๒๕๖๖ แผนปฏิบัติราชการที่ 3 การพัฒนาทรัพยากรบุคคลและสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ต่อไป