เมื่อเวลา 16.00น.วันที่23เมษายน 2566 นายสุจินต์ วาจากิจ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ เป็นประธานเปิดงานประเพณีสงกรานต์พระประแดง โดยมีนางจิระพร วชิรเขื่อนขันธ์ นายกเทศมนตรีเมืองพระประแดงกล่าวรายงาน โดยมีประชาชนเข้าร่วมงานและเล่นน้ำสงกรานต์กันอย่างคึกคัก ณ บริเวณ หน้าที่ว่าการอำเภอพระประแดง จ.สมุทรปราการ  

จากนั้นผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ ได้ทำพิธีตัดลิปบิ้นปล่อยลูกโป่ง  สรงน้ำพระพุทธรูป ปล่อยนก ปล่อยปลา รดน้ำดำหัวผู้หลักผู้ใหญ่ ร่วมเล่นสะบ้า และกวนกาละแม จากนั้นได้เข้าสู่พิธีลั่นฆ้องปล่อยขบวนแห่สงกรานต์พระประแดง ซึ่งมี วงดุริยางค์ รถขบวนรถบุปผชาติ  และขบวนรถแห่นางสงกรานต์ที่ยิ่งใหญ่ โดยบริเวณดังกล่าวได้มีการตั้งเวทีคอนเสิร์ต มีการฉีดน้ำพ่นละอองน้ำไปยังผู้คนที่มาเที่ยวงานสงกรานต์ ซึ่งทำให้ได้รับความสนใจคนออกมาเล่นน้ำและเต้นกันอย่างสนุกสนาน  หลังจากที่ไม่ได้จัดงานสงกรานต์พระประแดงมาหลายปีเนื่องจากสถานการโควิด ส่วนถนนโดยรอบนั้น ก็มีการเล่นน้ำสงกรานต์กันอย่างสนุกสนานทั้งฝั่งอำเภอเมืองพระประแดง และฝั่งของถนนปู่เจ้าสมิงพราย

               

สงกรานต์พระประแดง ถือเป็นประเพณีอันยิ่งใหญ่ของชาวรามัญ และถือเป็น 1 ในงานเทศกาลมหาสงกรานต์ 4 ภาค ที่เป็นประเพณีวัฒนธรรมระดับชาติ ตามโครงการเที่ยวทั่วไทย ไปได้ทุเดือน ภายใต้แนวคิด “เมืองไทยครึกครื่นเศรษฐกิจไทยคึกคัก” ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และเมื่อปี พุทธศักราช 2556 ประเพณีสงกรานต์พระประแดง ได้รับรางวัลชนะเลิศ จากการประกวดขบวนแห่มหาสงกรานต์ ปีใหม่ไทย 76 จังหวัดในงานมหาสงกรานต์ เบิกบานวิถีไทยของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และเทศบาลเมืองพระประแดง ได้รับการคัดเลือกให้เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดีเด่น ที่ส่งเสริมการดำเนินงานวัฒนธรรมด้านมรดก ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม จากกระทรวงวัฒนธรรม จึงนับเป็นความภาคภูมิใจของพี่น้องชาวพระประแดง และจังหวัดสมุทรปราการ

งานประเพณีสงกรานต์ของชาวพระประแดง มีตำนานความเป็นมาที่ยาวนาน โดยแต่เดิมเรียกกันว่า “สงกรานต์ปากลัด” เป็นวัฒนธรรมประเพณีที่ชาวไทยรามัญ ได้ยึดถือและปฏิบัติสืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยพระบามสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย(รัชกาลที่2) แห่งวงศ์จักรี

​​​​​​​ ​​​​​​​ ​​​​​​​ ​​​​​​​