วันที่ 19 เม.ย.66 เวลา 06.00 น.ทางลูกศิษย์เจ้าพ่อพระปรงได้นิมนต์พระมาเจริญพุทธมนต์ก่อนทำพิธีบวงสรวงองค์เจ้าพ่อทั้ง3องค์คือเจ้าพ่อสระแก้ว เจ้าพ่อสระขวัญ และเจ้าพ่อพระปรง โดยมีนายภูมิวัชร์ อุดมทรัพย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้วได้ให้เกียรติมาเป็นประธานและอัญเชิญองค์เจ้าพ่อพระปรงขึ้นรถแห่ โดยมี พ.ต.อ.เอกอนันต์ หูแก้ว ผกก.สภ.เมืองสระแก้วและนายวีระยุทธ ปังอักษร ประธานชมรมลูกศิษย์เจ้าพ่อพระปรงจังหวัดสระแก้ว ขณะอัญเชิญเจ้าพ่อพระปรงขึ้นรถได้มีการจุดประทัดจำนวนแสนดอกก่อนหน้าที่ได้อัญเชิญเจ้าพ่อพระปรงมาประทับที่สระแก้ว – สระขวัญ ส่วนรถที่ใช้ในการนำองค์หลวงพ่อทอง และ ลากรถพวงที่ให้องค์เจ้าพ่อพระปรงปะทับ หมายเลขทะเบียน 7889 ในบริเวณริมถนนสุวรรณศรตั้งแต่บ้านโคกกำนันถึงหน้าแม็คโครได้มีพ่อค้าแม่ค้าออกมาจัดของเตรียมขายให้ผู้มาเล่นสงกรานต์สรงน้ำเจ้าพ่อพระปรงเต็มสองข้างถนน และมีการตั้งเวทีเพื่อแสดงจำนวนหลายจุดบางจุดก็มีรถแห่มาจอดรอเปิดเพลงและเล่นดนตรีสดให้ได้สนุกกันเต็มที่ในวันไหลสระแก้ว
โดย นายภูมิวัชร์ อุดมทรัพย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว เป็นประธานปล่อยขบวนแห่พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ และแห่เจ้าพ่อพระปรงในงานวันไหลสระแก้ว ส่งท้ายเทศกาลสงกรานต์ โดยชาวสระแก้ว และจังหวัดใกล้เคียงร่วมสรงน้ำขบวนแห่เจ้าพ่อพระปรง และเล่นน้ำสงกรานต์กันอย่างสนุกสนานตลอดถนนสุวรรณศร และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33 มุ่งหน้าเข้าเขตเทศบาลเมืองสระแก้ว บรรยากาศงานประเพณีแห่เจ้าพ่อพระปรง และงานวันไหล จังหวัดสระแก้ว ประจำปี 2566 ขบวนแห่รูปหล่อองค์เจ้าพ่อได้เริ่มเคลื่อนออกจากศาลเจ้าพ่อ ที่ตั้งอยู่ในเขตรอยต่อกับจังหวัดปราจีนบุรี ในช่วงเช้า และเริ่มเข้าสู่ในเขตเทศาลบาลเมืองสระแก้ว ในช่วงบ่าย เพื่อให้ประชาชนที่เคารพนับถือได้สรงน้ำในเทศกาลสงกรานต์ จากนั้นขบวนจึงได้เคลื่อนไปยังสนามกีฬาเทศบาล เพื่อให้ประชาชนได้กราบไหว้บูชา
สำหรับขบวนแห่เจ้าพ่อปรง จะปล่อยขบวนแห่เจ้าพ่อปรงที่ตำบลบ้านแก้งและถึงตำบลศาลาลำดวน จากนั้นการเคลื่อนขบวนแห่เจ้าพ่อปรง ถึงแยกไฟแดง (หน้าเซเว่น) ผ่านร้านแว่นท็อปเจริญ สู่ถนนสุวรรณศร ตรงไปยังศาลากลางจังหวัดสระแก้ว เพื่อต้องการให้ประชาชนได้สรงน้ำพระศักดิ์สิทธิ์จากทั้งจังหวัด เพื่อความเป็นสิริมงคล และเพื่อให้ประชาชนรู้รักสามัคคีด้วยประเพณีไทย
ทั้งนี้ นายปริญญา โพธิสัตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว รับทราบว่าประชาชนมาเล่นน้ำกันเป็นจำนวนมาก อีกทั้งมีรถเครื่องเสียง เวทีดนตรีตั้งอยู่ริมถนน เพื่อความปลอดภัย และง่ายต่อการดูแล คณะกรรมการจัดงานจึงกำหนดโซนนิ่งขึ้นเพื่อความเป็นระเบียบ และลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้น นอกจากนี้ วันแห่เจ้าพ่อพระปรง ขอให้ประชาชนที่จะเดินทางไปยังตลาดโรงเกลือ อ.อรัญประเทศ หลีกเลี่ยงเส้นทางผ่านตัวอำเภอเมือง เพราะการจราจรติดขัดมาก ควรใช้เส้นทางเลี่ยงเมืองแทน
สำหรับเจ้าพ่อพระปรง สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวสระแก้ว-ปราจีน ให้ความนับถือ ศาลเจ้าพ่อพระปรง เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่ชุมชนลุ่มน้ำบ้านหนองผูกเต่า มาอย่างยาวนาน เจ้าพ่อพระปรง มีนามเดิมว่า หลวงเดชาศิริ อดีตเป็นนายด่านรักษาการณ์อยู่ชายแดนเขตนี้ เป็นผู้มีความกล้าหาญ และเด็ดเดี่ยว เป็นที่เคารพของบุคคลทั่วไป มีสหายคู่ใจ คือ นายเสือ กับนายสิงห์ ปัจจุบัน เจ้าพ่อเสือ อยู่ที่แควหนุมาน และเจ้าพ่อสิงห์ อยู่ที่จังหวัดจันทบุรี เมื่อมีผู้มาอธิษฐานขอพรแล้วประสบความสำเร็จสมความปรารถนา จึงมีผู้คนให้ความเลื่อมใสศรัทธา โดยในแต่ละวันจะมีประชาชนที่สัญจรผ่านไปมา แวะสักการะกราบไหว้ หรือบีบแตรรถแสดงการคารวะ เริ่มแรกศาลเจ้าพ่อพระปรง เป็นศาลไม้เล็กๆ ตั้งอยู่บริเวณริมแควพระปรง ตรงหมู่ที่ 8 บ้านหนองโดน อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี บนถนนสายสุวรรณศร (สาย 33 เดิม) ชาวบ้านหนองผูกเต่า มีความเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ของเจ้าพ่อพระปรง จึงได้ร่วมกันบูรณะ และกราบไหว้บูชา และถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านหนองผูกเต่า เป็นต้นมา
ต่อมา ปี พ.ศ.2517 ได้ย้ายมาตั้งอยู่ริมถนนสุวรรณศร (หมายเลข 33) สุดเขต อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี รอยต่อกับเขต จ.สระแก้ว ริมแควพระปรง ซึ่งเป็นลำน้ำกั้นเขตแดน 2 จังหวัด ประเพณีสรงน้ำเจ้าพ่อพระปรง เริ่มต้นเมื่อ พระคำหล้า ขันติสาโร นายสมัย จันทวงษ์ และนายบุญรัตน์ เชื้อแก้ว พร้อมด้วยชาวบ้านหนองผูกเต่า ได้ร่วมกันอัญเชิญเจ้าพ่อพระปรง มาประดิษฐานที่สี่แยกถนนเก่า (ถนนสายสุวรรณศร หมายเลข 33 เดิม)เพื่อให้ประชาชนที่สัญจรไปมาขอพรอันศักดิ์สิทธิ์จากเจ้าพ่อพระปรง ร่วมสรงน้ำในเทศกาลสงกรานต์ และบริจาคเงิน โดยนำเงินที่ได้มาซื้อสังกะสีมุงหลังคาศาลาการเปรียญวัดบ้านหนองผูกเต่า ก่อนจะกลายมาเป็นประเพณีของชุมชนเป็นต้นมา