ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานครรายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ของสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรุงเทพมหานคร ประจำวันพุธที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2566 เวลา 07.00 น. ค่าเฉลี่ย24 ชั่วโมง ของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ตรวจวัดได้ 33-56 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) พบว่าเกินมาตรฐาน (มาตรฐานไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม.) อยู่ในระดับสีส้มเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ จำนวน 12 พื้นที่ ได้แก่

1.เขตบางกอกน้อย บริเวณหน้าสถานีตำรวจรถไฟบางกอกน้อย : มีค่าเท่ากับ 56 มคก./ลบ.ม.

2.เขตปทุมวัน หน้าห้างสามย่านมิตรทาวน์ : มีค่าเท่ากับ 54 มคก./ลบ.ม.

3.เขตคลองสาน บริเวณหน้าห้องสมุดใต้สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน : มีค่าเท่ากับ 54 มคก./ลบ.ม.

4.เขตตลิ่งชัน ถนนพุทธมณฑลสาย 1 ตัดกับถนนบรมราชชนนี : มีค่าเท่ากับ 53 มคก./ลบ.ม.

5.เขตพระนคร ภายในสำนักงานเขตพระนคร : มีค่าเท่ากับ 53 มคก./ลบ.ม.

6.เขตทวีวัฒนา ทางเข้าสนามหลวง 2 : มีค่าเท่ากับ 52 มคก./ลบ.ม.

7.เขตบางพลัด ภายในสำนักงานเขตบางพลัด : มีค่าเท่ากับ 52 มคก./ลบ.ม.

8.เขตคลองเตย ภายในสำนักงานเขตคลองเตย : มีค่าเท่ากับ 52 มคก./ลบ.ม.

9.เขตบางนา บริเวณหน้าห้าง สรรพสินค้าบิ๊กซี บางนา : มีค่าเท่ากับ 51 มคก./ลบ.ม.

10.เขตหนองแขม สามแยกข้างป้อมตำรวจ ถนนมาเจริญ เพชรเกษม 81 : มีค่าเท่ากับ 51 มคก./ลบ.ม.

11.เขตบางขุนเทียน ภายในสำนักงานเขตบางขุนเทียน : มีค่าเท่ากับ 51 มคก./ลบ.ม.

12.เขตบางกอกใหญ่ บริเวณสี่แยกท่าพระ แขวงวัดท่าพระ : มีค่าเท่ากับ 51 มคก./ลบ.ม.

 

ข้อแนะนำ ระดับสีส้มเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ สำหรับบุคคลทั่วไป: ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจำเป็น ผู้ที่ต้องดูแลสุขภาพเป็นพิเศษควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้งหรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง หากมีความจำเป็น ถ้ามีอาการทางสุขภาพ เช่น ไอ หายใจลำบาก ตาอักเสบ แน่นหน้าอก ปวดศีรษะ หัวใจเต้นไม่เป็นปกติ คลื่นไส้ อ่อนเพลียควรปรึกษาแพทย์ ดัชนีคุณภาพอากาศของสถานีตรวจวัดของกรุงเทพมหานคร ส่วนใหญ่อยู่ในระดับคุณภาพอากาศปานกลาง

 

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์สภาพอากาศในพื้นที่กรุงเทพมหานคร :  ท้องฟ้ามีเมฆบางส่วน

 

ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง(คาดการณ์แนวโน้มสภาพอากาศที่ส่งผลกระทบต่อฝุ่นPM2.5 โดยสภาพทางอุตุนิยมวิทยา) ในช่วงวันที่ 19-20 เม.ย. 2566 การระบายอากาศจะดีขึ้น มีแนวโน้มการสะสมตัวของฝุ่นPM2.5 ลดลง ช่วงนี้ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยมีอากาศร้อนโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ สำหรับบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางที่ปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทะเลจีนใต้มีกำลังอ่อนลง ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ จึงขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงที่อาจจะเกิดขึ้นในระยะนี้ไว้ด้วย และวันนี้กรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน

 

ในช่วงวันที่ 19 - 25 เมษายน 2566 สถานการณ์ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลยังคงมีแนวโน้มที่ดีถึงปานกลาง เนื่องจากสภาพอากาศที่เปิดมากขึ้น เพดานการลอยตัวอากาศที่สูงขึ้น  ประกอบกับลมทางใต้ที่กำลังแรงช่วยพัดพาฝุ่นละอองออกจากพื้นที่

 

จากการตรวจสอบข้อมูลจุดความร้อน (hotspot) ผ่านดาวเทียม จากหน่วยงาน NASA พบจุดความร้อนที่ดาวเทียมตรวจพบค่าความร้อนสูงผิดปกติจากค่าความร้อนบนผิวโลกบริเวณพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 19 เมษายน 2566 จำนวน 3 จุด ดังนี้

 

จุดที่ 1 เวลา 01.32 น. แขวงทรายกองดิน เขตคลองสามวา

จุดที่ 2 เวลา 02.21 น. แขวงทรายกองดิน เขตคลองสามวา

จุดที่ 3 เวลา 02.21 น. ถนนนิมิตใหม่ เขตมีนบุรี

(อยู่ระหว่างประสานตรวจสอบจุดความร้อน)

 

สำนักสิ่งแวดล้อมได้ประสานแจ้งทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เพิ่มความเข้มงวดการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง เพื่อเป็นการบรรเทาความรุนแรงของสถานการณ์ฝุ่นละออง PM2.5 และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสุขภาพอนามัยของประชาชน

 

แจ้งเตือนรวมถึงประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนตรวจสอบข้อมูลคุณภาพอากาศก่อนออกจากบ้าน ผ่านทาง

     - แอปพลิเคชัน AirBKK

     - www.airbkk.com

     - FB: สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร

     - FB: กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง สำนักสิ่งแวดล้อม

     - FB: กรุงเทพมหานคร

     - แอปพลิเคชัน AirBKK

     - LINE ALERT

     - LINE OA @airbangkok

 

เพื่อให้ประชาชนวางแผนการทำงาน การทำกิจกรรมโดยเฉพาะในพื้นที่ที่คุณภาพอากาศอยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ/มีผลกระทบต่อสุขภาพ ควรลดระยะเวลา หรืองดการทำกิจกรรมกลางแจ้ง ทั้งนี้ กรณีประชาชนพบเห็นแหล่งกำเนิดมลพิษสามารถแจ้งเบาะแสผ่านทาง Traffy Fondue

 

แหล่งข้อมูล: ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร กรมควบคุมมลพิษ กรมอุตุนิยมวิทยา และสํานักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ