ปากกาขนนก / สกุล บุณยทัต
“ประเด็นหลักที่คนญี่ปุ่น ถือเป็นหลักยึด ในการให้บริการต่อผู้อื่น..คือความใส่ใจที่มาจากรากฐานของคำว่า.. “โอโมเตนาชิ” อันมีความหมายโดยรวมระหว่างความสำคัญของคำว่า..."โอโมเทะ(Omote)"ที่แปลว่า"เบื้องหน้า" กับคำว่า "นาชิ"(Nashi) ที่แปลว่า "ไม่มี" ความหมายทั้งจึงหมายถึง..การบริการแบบไม่มีเบื้องหน้าเบื้องหลัง "เป็นการบริการโดยบริสุทธิ์ใจ"...."
"โอโมเตนาชิ:จิตวิญญาณการบริการแบบญี่ปุ่น" คือหนังสือ แห่งการสะท้อนถ่ายวัฒนธรรมอันเกื้อการุณย์นี้ที่มี่มีอายุแห่งการก่อเกิดและดำรงอยู่มานานร่วมหนึ่งพันปี..ซึ่งสถิตอยู่เบื้องหลังสินค้าและการให้บริการชั้นยอดของชาวญี่ปุ่น..ตลอดมา...มันหมายถึงความใส่ใจอย่างหยั่งรากลึกเหนือภาวะสามัญธรรมดา..กระทั่งได้บรรลุสู่การค้นพบความหมายที่ลุ่มลึกแท้จริงในสิ่งที่ตัวเองได้กระทำ...จึงไม่แปลกที่จะได้สัมผัสการกระทำในสิ่งต่างๆอย่างทุ่มเท เกินความคาดหวังของชาวญี่ปุ่นที่อยู่เหนือชีวิตมาโดยตลอด..ทั้งหมดคือ..ปรากฏการณ์แห่งความใส่ใจที่โลกต้องตระหนักและยอมรับถึงอุปนิสัยของความใส่ใจของชาวญี่ปุ่นที่จริงจังนับแต่เรื่องเล็กน้อยไปจนถึงเรื่องสำคัญๆอันใหญ่โต ที่ถือเป็นเจตจำนงอันสมบูรณ์แบบ..."
ว่ากันว่า..การต้อนรับและการบริการแบบญี่ปุ่นมัก...สื่อถึงการเอื้ออาทรที่ดีและมีค่าต่อกันและกัน...เป็นธรรมชาติที่ติดตรึงของคนญี่ปุ่นที่ชาวโลกสัมผัสได้..เป็นความพยายามที่จะเห็นได้จากการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆขึ้นมา ด้วยเจตจำนงเพื่อให้ชีวิตทุกๆชีวิต..ได้สะดวกสบาย มีความคล่องตัวในการใช้ชีวิต...ทุกสิ่งล้วนผ่านการคิดคำนึงต่อการสร้างประโยชน์สุขแก่ผู้คน อย่างเช่นการคิดค้น ทางด้านอาหารการกิน ที่เน้นความง่าย รสชาติที่จับใจต่อการบริโภค.และบรรจุอยู่ในหีบห่อที่สวยงาม..เป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่ถือเป็นจารีต โดยเฉพาะ ในมิติของมารยาทแห่งตัวตน ชาวญี่ปุ่นจะให้คุณค่าแห่งความสำคัญอย่างยิ่ง...จะรับรู้ได้จากกระบวนการใช้ชีวิตโดยทั่วไปมากมาย อาทิ ในด้านมารยาทที่เป็นระเบียบและให้เกียรติต่อกันยิ่ง นับแต่การเข้าแถวในการร่วมทำกิจกรรมต่างไป ไปจนถึง..ความพยายามที่จะเข้าใจในปัญหาต่างๆ เพื่อจะหาทางแก้ปัญหาได้ง่ายขึ้น...
ความแตกต่างระหว่าง...แนวคิดนี้กับแนวคิดอื่นจึงอยู่ที่...การกระทำและการการดำเนินการ เหมือน รูปลักษณ์ที่ไม่ได้กระทำ เป็นการเอื้ออาทรที่หยั่งลึกอยู่ภายใน กระทั่งแสดงออกมาเป็นความสุข...สว่างที่โอบประคองชีวิตไว้อย่างทะนุถนอม จริงใจ ดั่งไม่รู้ตัว...เหมือนอยู่ในสิ่งที่ไม่ได้ทำ...แต่ได้ทำ...มันจึงเหมือนตกอยู่ในภาวะทื่อๆ แต่น่าค้นหาและจดจำยิ่ง..
มันอาจจะเข้ากับบุคลิกของคนญี่ปุ่นโดยทั่วไป ที่ค่อนข้างจะเนิบช้า ไม่ค่อยกล้าแสดงออกในการกระทำตรงบทเริ่มต้น แต่เมื่อได้ตัดสินใจลงมือกระทำแล้ว ก็จะทำอย่างใส่ใจและจริงจังเต็มที่เหมือนการจัดกีฬาโอลิมปิกในแต่ละครั้ง ซึ่งญี่ปุ่นได้ใช้หลักการนี้ในการให้บริการแขกผู้มาเยือน.. .หรือในกรณีความใส่ใจในอาชีพของนักฟุตบอลอาชีพของญี่ปุุนที่กำลังสร้างชื่อเสียงในฝีเท้าและะความสามารถอยู่ทั่วยุโรป ณ ในขณะนี้/ รวมทั้งงานศิลปะแขนงต่าง ๆอันเป็นที่รู้จักกันดีทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น ภาพยนตร์ เพลง ดนตรี การละคร หรือ วรรณกรรม ล้วนเป็นเอกของโลกให้ได้พูดถึงเป็นส่วนใหญ่แทบทั้งสิ้น..นี่คือตัวอย่างอันตื่นตระการชวนสนใจ แก่นการเรียนรู้และรับรู้ของโลกวันนี้แทบทั้งสิ้น..
โอโมเตนาชิ:จิตวิญญาณการบริการแบบญี่ปุ่น
"จากความคิดภายในสู่การกระทำภายนอก...เมื่อเราถูกมองอยู่ตลอดเวลา..ต้องระวังสีหน้า/ต้องมีบุคลิกที่ดีในการวางตัว/และ แม้กระทั่งน้ำเสียง คำพูด และ จังหวะ ก็ต้องระวังอารมณ์ที่จะต้องถ่ายทอดออกมาให้มีชีวิตชีวา.."
จิตวิญญาณของ"โอโมเตนาชิ"รายรอบชีวิตของเรา..ต้องสังเกต เพื่อที่จะเข้าใจบริบทของสิ่งอันมีโครงสร้างที่ก่อให้เกิดความสุขแก่ชีวิตนี้ให้ดีในทุกๆบทตอนของชีวิต..
อยากให้ทุกคนได้อ่านหนังสือเล่มนี้ เพื่อพิจารณาถึงวิถีแห่งความใส่ใจในตัวตน... แน่นอนว่า..เราอาจไม่เคยพบกันเลยแต่เราก็ห่วงใยกันได้ เราอาจเคยเจอกับอดีตของชีวิตที่เจ็บปวดและหน่วงหนักแต่เราก็สามารถที่จะยอมรับและอยู่ร่วมกับมันได้..มันคือวิถีแห่งความใส่ใจทั้งต่อบุคคลและสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ละเอียดละออ..บนพื้นฐานแห่งความเป็นชีวิต หีบห่อแห่งสินค้า ไปจนถึงจิตวิญญาณด้านในที่เชื่อมโยงกับภายนอกในทุกๆ ขณะและโอกาส
"โอโมเตนาชิ..ไม่จำเป็นที่จะต้องเกิดขึ้นตั้งแต่วันแรกหรือครั้งแรก..แต่มันจะค่อยๆเกิดขึ้นในวันต่อไป หรือในครั้งต่อๆไปอย่างมีคุณค่า เเละ..ฝังจำตลอดไป..."
บริการแบบญี่ปุ่น"...บทเรียนของการปฏิบัติการในชีวิต ที่ลึกซึ้งและมีคุณค่า ในการบ่มเพาะความใส่ใจในวิถีเชิงจิตวิญญาณที่ขับขานสาระประโยชน์ของชีวิตออกมาอย่างจริงจังและต่อเนื่องนี้เขียนโดย"ดร.กฤตินี พงษ์ธนเลิศ.."อาจารย์จากคณะพาณิชยศาสตร์ฯ จุฬาลงกรณมหาวิยาลับ ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดแบบยั่งยืน ซึ่งได้เขียนเพื่อ ..แสดงให้ผู้อ่านทุกคนได้รู้ซึ้ง และ ประจักษ์ว่า ความสุดยอดทั้งหลายทั้งปวง ที่เกิดขึ้นกับชาวญี่ปุ่นมาช้านานนี้น.มีจุดเริ่มต้นมาจากปัญญาญาณที่ยั่งยืนนี้
"การใส่ใจในสิ่งที่เล็กน้อย อย่างเกินความคาดหวัง"
คือสายทางแห่งสายใยของอุดมการณ์ของความคิดนี้...อันเป็นหนึ่งในความคิดของญี่ปุ่น ที่มีอยู่มากหลาย/ การเลือกที่จะศรัทธาในความคิดใดความคิดหนึ่งนั้น จักต้องกระตุ้นเตือนมโนสำนึกได้จริงๆ มันจะต้องเป็นความทรงจําจากรุ่นต่อรุ่น ที่ถือเป็นคำสอนสั่งที่สนองต่อปรารถนาของชีวิตได้อย่างเป็นเอกภาพ...จริงๆ
หนังสือได้พรรณนาถึงจุดสำคัญ ที่น่าใส่ใจ..โดยเน้นถึงว่า ในด้านจิตวิญญาณนั้น คนญี่ปุ่นมีวิธีคิดอย่างไร../ ด้านวิธีการ ปรับใช้ในชีวิตประจำวันอย่างไร /และ ด้านบริหาร สร้างองค์กรอย่างไร..
ผลสรุปก็คือว่า..วิธีคิดนั้น..จะโฟกัสอยู่กับการบริการเป็นหลักใหญ่..ด้วยการทำทุกสิ่งด้วยใจ ไม่ได้หวังสิ่งตอบแทน/ เท่าเทียมในลูกค้า โดยดูแลไปตามวิถี ของแต่ละบุคคล ไม่มีแบบแผนที่ตายตัว.._/กระทั่งความภูมิใจและเห็นคุณค่าในตัวเอง..