วันที่ 9 เม.ย.66 นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ศรีสุวรรณ จรรยา ระบุว่า...
หมายข่าว : ศรีสุวรรณ
“ศรีสุวรรณจ่อร้อง กกต.บางพรรคแจกเงินดิจิทัลทำไมไม่บอกความจริงให้หมด”
ในวันจันทร์ที่ 10 เม.ย.66 เวลา 10.00 น. ศรีสุวรรณจะเดินทางไปยื่นคำร้องต่อ กกต.เพื่อขอให้วินิจฉัย กรณีมีบางพรรคการเมืองเสนอนโยบายแจกเงินดิจิทัล 10000 บาทให้กับประชาชนทั้งประเทศที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไปนั้น จะเข้าข่ายสัญญาว่าจะให้ทรัพย์สินหรือผลประโยชน์อื่นใด อันอาจคำนวณเป็นเงินได้ และเป็นการหลอกลวงหรือจูงใจให้เข้าใจผิดในคะแนนนิยมของผู้สมัครหรือพรรคการเมือง ตามข้อห้ามใน ม.73(1) และ(5) แห่ง พรป.เลือกตั้ง ส.ส.2561 หรือไม่ ?
ทั้งนี้มีข้อสงสัยว่า... ทำไมไม่บอกความจริงทั้งหมดให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งทราบว่า...
-แจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท แต่ประชาชนอาจได้รับจริงเพียง 8,500 บาท เพราะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายเสียก่อน 15% หรือ 1,500 บาท หรือไม่ ? (พรก.รัษฎากร ฉ.15 2561)
-ผู้มีรายได้พึงประเมินตามฐานภาษีของกรมสรรพากรกว่า 11 ล้านคน จะมีภาระต้องนำเงินได้จากเงินดิจิทัลดังกล่าวและภาษีหัก ณ ที่จ่ายดังกล่าวไปรายงานแจ้งการเสียภาษีประจำปีต่อกรรมสรรพากรด้วย หากไม่แจ้งมีโทษปรับหลายเท่าตามกฎหมาย หรือไม่ ?
-พ่อค้า แม่ค้า ร้านขายของต่างๆที่รับเงินดิจิทัลดังกล่าว จะต้องรายงานภาษีต่อกรมสรรพากรด้วยทุกบาทดิจิทัล เพื่อคำนวณเก็บภาษีจากร้านค้านั้นๆ ต่อไปนี้ร้านค้าทุกร้านที่รับเงินดิจิทัล สรรพากรจะรู้รายได้ของร้านดังกล่าวเพื่อเก็บภาษีได้ตลอดไป แต่ถ้าร้านโชว์ห่วยไม่รับ ก็เสร็จร้านสะดวกซื้อของกลุ่มนายทุนหมด จะถือเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กลุ่มทุนหรือไม่ ?
-การใช้จ่ายเงินดิจิทัล ต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น หากฝ่าฝืนมีอัตราโทษปรับทางแพ่งเป็นแสน เป็นล้าน และบางกรณีมีโทษทางอาญาถูกจำคุกด้วยหรือไม่ ? (พรก.สินทรัพย์ดิจิทัล 2561)
ฯลฯ
แบบนี้จะเรียกว่าโชคดี หรือ ทุกขลาภดีครับ
จาก ศรีสุวรรณ จรรยา
ขอบคุณข้อมูล/ภาพ : เฟซบุ๊ก ศรีสุวรรณ จรรยา