วันที่ 9 เม.ย.66 ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “คนอุบลราชธานีเลือกพรรคไหน” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 27-30 มีนาคม 2566 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และมีสิทธิเลือกตั้งในจังหวัดอุบลราชธานี กระจายทุกระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,100 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับคนจังหวัดอุบลราชธานีเลือกพรรคไหน การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 95.0

จากการสำรวจเมื่อถามถึงบุคคลที่คนอุบลราชธานีจะสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรีในการเลือกตั้งครั้งนี้ พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 45.55 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร (อุ๊งอิ๊งค์) ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) อันดับ 2 ร้อยละ 12.18 ระบุว่าเป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล)  อันดับ 3 ร้อยละ 10.82 ระบุว่าเป็น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (พรรครวมไทยสร้างชาติ) อันดับ 4 ร้อยละ 7.45 ระบุว่าเป็น นายเศรษฐา ทวีสิน (พรรคเพื่อไทย) อันดับ 5 ร้อยละ 7.09 ระบุว่าเป็น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (พรรคไทยสร้างไทย) อันดับ 6 ร้อยละ 4.45 ระบุว่าเป็น  พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส (พรรคเสรีรวมไทย) อันดับ 7 ร้อยละ 3.00 ระบุว่า ยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้ อันดับ 8 ร้อยละ 2.55 ระบุว่าเป็น นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว (พรรคเพื่อไทย) อันดับ 9 ร้อยละ 2.09 ระบุว่าเป็น นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ (พรรคประชาธิปัตย์) อันดับ 10 ร้อยละ 1.55 ระบุว่าเป็น นายอนุทิน ชาญวีรกูล (พรรคภูมิใจไทย) อันดับ 11 ร้อยละ 1.09 ระบุว่าเป็น นายกรณ์ จาติกวณิช (พรรคชาติพัฒนากล้า) และร้อยละ 2.18 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ น.ส.กัญจนา ศิลปอาชา (พรรคชาติไทยพัฒนา) นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ (พรรคไทยศรีวิไลย์) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (พรรคประชาธิปัตย์) พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ (พรรคพลังประชารัฐ) นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค (พรรครวมไทยสร้างชาติ) นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม (พรรคไทยภักดี) และนายเทวัญ ลิปตพัลลภ (พรรคชาติพัฒนากล้า)   

สำหรับพรรคการเมืองที่คนอุบลราชธานีจะเลือกให้เป็น ส.ส. แบบแบ่งเขต พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 62.27 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย อันดับ 2 ร้อยละ 12.55 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล อันดับ 3 ร้อยละ 7.18 ระบุว่าเป็น พรรครวมไทยสร้างชาติ อันดับ 4 ร้อยละ 4.09 ระบุว่าเป็น พรรคไทยสร้างไทย อันดับ 5 ร้อยละ 3.82 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์ อันดับ 6 ร้อยละ 3.36 ระบุว่าเป็น พรรคภูมิใจไทย อันดับ 7 ร้อยละ 2.45 ระบุว่าเป็น พรรคเสรีรวมไทย อันดับ 8 ร้อยละ 1.55 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ และร้อยละ 2.73 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ พรรคพลังประชารัฐ พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคชาติพัฒนากล้า พรรคไทยภักดี พรรคไทยศรีวิไลย์ พรรครวมพลัง พรรคกล้า พรรคเทิดไท และพรรคสร้างอนาคตไทย    

ส่วนพรรคการเมืองที่คนอุบลราชธานีจะเลือกให้เป็น ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 61.36 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย อันดับ 2 ร้อยละ 12.91 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล อันดับ 3 ร้อยละ 8.09 ระบุว่าเป็น พรรครวมไทยสร้างชาติ อันดับ 4 ร้อยละ 4.09 ระบุว่าเป็น พรรคไทยสร้างไทย อันดับ 5 ร้อยละ 3.73 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์ อันดับ 6 ร้อยละ 2.91 ระบุว่าเป็น พรรคภูมิใจไทย และพรรคเสรีรวมไทย ในสัดส่วนที่เท่ากัน อันดับ 7 ร้อยละ 1.36 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ และร้อยละ 2.64 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ พรรคพลังประชารัฐ พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคชาติพัฒนากล้า พรรคไทยภักดี พรรครวมพลัง พรรคสร้างอนาคตไทย พรรคกล้า พรรคไทยศรีวิไลย์ และพรรคเพื่อชาติ