ย้อนกลับไปในปี 1991 ประเทศเอสโตเนียประสบปัญหาคอร์รัปชันและขาดแคลนทรัพยากร ลดต้นทุนการให้บริการภาครัฐ และด้วยเอสโตเนียเป็นประเทศเล็ก มีประชากรประมาณ 1.3 ล้านคน ทำให้มีต้นทุนในการให้บริการของภาครัฐสูง และไม่สามารถสร้างโครงสร้างพื้นฐานรูปแบบเดียวกับประเทศอื่นๆ ที่มีประชากรจำนวนมาก เอสโตเนียปฏิรูปรัฐบาลเป็น Digital Government ประกอบกับในยุค 90 เอสโตเนียมีคนที่เชี่ยวชาญด้าน Tech จำนวนมาก เนื่องจากมีสถาบันวิจัยด้าน cybernetics ซึ่งหารือร่วมกับรัฐบาลแล้วเห็นตรงกันว่า Digitalization จะช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ ด้วยเหตุนี้เอสโตเนียจึงเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าด้าน e-Governance และ Digitalize บริการภาครัฐเป็น e-Service มากถึง 99%
โดยสิ่งที่ทำให้เอสโตเนียประสบความสำเร็จในการ Digitalize บริการภาครัฐคือ พรรคการเมืองต่างๆเห็นไปในทางเดียวกันว่า ประเทศจะต้องพัฒนาด้าน Digital ต่อเนื่องไม่ว่าพรรคการเมืองใดจะขึ้นมาเป็นรัฐบาลนอกจากนี้รัฐบาลยังร่วมมือกับภาคเอกชน ซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญในการทำวิจัยและพัฒนา รวมถึงมีการปรับกฎหมายและกฎระเบียบต่างๆ เพื่อเอื้อให้เกิด Digitalization ภาคเอกชนที่เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนา
นอกจากองค์กรด้าน IT แล้วยังมีภาคธนาคารที่ต้องการให้บริการบนดิจิทัลแพลตฟอร์ม เพื่อเข้าถึงคนได้มากขึ้นด้วยต้นทุนการให้บริการที่ถูกกว่าการเปิดสาขา นอกจากนี้ ธนาคารยังสนับสนุนการพัฒนา Computer Literacy ของคนในประเทศ เพื่อรองรับการใช้บริการแบบดิจิทัล ในปัจจุบัน 99% ของบริการกลายเป็น e-Service โดยบริการเดียวที่ยังไม่สามารถทำออนไลน์ได้คือ การหย่า เพราะติดข้อจำกัดด้านกฎหมาย คาดว่า บริการภาครัฐจะเป็น e-Service ได้ 100% ในปี 2024 อย่างไรก็ตาม ทุกบริการที่เป็น e-Service หากไม่สะดวกใช้บริการ สามารถใช้บริการรูปแบบเดิม โดยจะได้รับบริการรวดเร็วขึ้น เนื่องจากคนจำนวนมากเปลี่ยนไปใช้ e-Service
สำหรับ ตัวอย่าง e-service ที่ให้บริการคือ 1.การยื่นภาษี ซึ่งเป็นบริการแรกๆที่ปรับเป็น e-Service ปัจจุบันสามารถยื่นชำระภาษีได้ด้วยการคลิกเพียงไม่กี่คลิก เนื่องจากข้อมูลส่วนใหญ่ถูก Prefill มาให้แล้วโดยระบบ จากข้อมูลที่ดึงมาจากหน่วยงานต่างๆ ปัจจุบันคนยื่นภาษีผ่านระบบออนไลน์ 90% 2.Internet Voting (i-Voting) ปี 2005 เอสโตเนียเป็นประเทศแรกในโลกที่มีการเลือกตั้งระดับประเทศผ่านอินเตอร์เน็ต ข้อดีของการเลือกตั้ง Online คือ สะดวก ลดค่าใช้จ่ายในการจัดคูหาเลือกตั้ง รวมถึงอำนวยความสะดวกให้กับคนเอสโตเนียที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศที่ไม่มีสถานทูต นอกจากนี้ ยังช่วยลดเรื่องการซื้อสิทธิ์ขายเสียง เพราะเลือกตั้งซ้ำได้หลายครั้งจนกว่าจะปิดให้เลือกตั้ง ดังนั้นแม้ในครั้งแรกจะเลือกพรรคหนึ่ง แต่ก็สามารถกลับไปเลือกพรรคใหม่ได้ โดยการเลือกตั้งครั้งล่าสุดเดือนมีนาคม 2023 ที่ผ่านมา มีคนเลือกตั้งผ่าน i-Voting ประมาณ 51% ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีผู้เลือกตั้งออนไลน์มากกว่าครึ่งของคนที่มาใช้สิทธิ์เลือกตั้งทั้งหมด
ปัจจุบัน เอสโตเนียมี State Portal Website (eesti.ee) เป็น One-stop Shop สำหรับบริการภาครัฐและเป็นแหล่งรวมข้อมูลสำหรับบุคคลและธุรกิจ ที่ออกแบบให้เข้าใจง่าย ใช้งานง่าย นอกจากการดูข้อมูลและใช้บริการ e-Service ต่างๆของภาครัฐแล้วยังมีฟีเจอร์ที่โดดเด่นและสร้างความโปร่งใส เพิ่มความเชื่อมั่นให้กับประชาชนคือ Data Tracker ทำให้ประชาชนเจ้าของข้อมูลสามารถดูได้ว่า ข้อมูลของเราถูกหน่วยงานใดเรียกดูข้อมูลส่วนบุคคล หากมีสิ่งผิดปกติสามารถแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบได้ โดย “สามเสาหลัก” ที่เป็นรากฐาน e-Service ของเอสโตเนีย คือ Confidentiality Availability และ Integrity
โดยเสาที่หนึ่ง Confidentiality คือ การที่คนสามารถยืนยันตัวตนผ่าน e-identification ได้อย่างปลอดภัย มั่นใจว่า ข้อมูลต่าง ๆ เป็นความลับ ปัจจุบันมี “อุปกรณ์” ในการยืนยันตัวตน 3 รูปแบบคือ 1) บัตรประชาชนที่มี chip 2) Mobile ID ซึ่งเป็นซิมการ์ดที่ใช้ยืนยันตัวตน 3) Smart ID แอปพลิเคชันที่ใช้ยืนยันตัวตน โดยอุปกรณ์เหล่านี้ จะต้องใช้ร่วมกับ PIN 1 และ PIN 2 โดย PIN 1 ใช้กับการยืนยันตัวตน
ขณะที่เสาที่สองคือ Availability หมายถึงข้อมูลต้องเข้าถึงได้ตลอดเวลา โดยสิ่งที่สนับสนุนสิ่งนี้คือ X-Road พัฒนาโดยบริษัท Cybernetica X-road เป็น Secure Data Exchange Infrastructure ที่ทำให้หน่วยงานต่างๆสามารถส่งข้อมูลไปมาระหว่างกันได้อย่างปลอดภัย
ส่วนเสาที่สามคือ Integrity หรือความถูกต้องและความสมบูรณ์ของข้อมูล ซึ่งไม่มีใครสามารถแก้ไขข้อมูลจึงมีการนำ KSI Blockchain ที่บริษัท Guardtime ให้กับรัฐบาลเอสโตเนีย มาใช้ในการรักษาความปลอดภัยของ Sensitive Data การพัฒนา KSI Blockchain นอกจากนี้ยังมี Data Embassy คือ การ Back Up ข้อมูลต่างๆไว้ในต่างประเทศ เพื่อป้องกันความเสี่ยง หากเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้ข้อมูลหายไป หรือเกิด Cyberattack
ทั้งนี้ที่น่าสนใจ เอสโตเนียในปัจจุบันเป็นแหล่งรวม Start-up ของโลกแห่งหนึ่ง เห็นได้จากการที่เอสโตเนียเป็นประเทศที่มี Start-up per Capita สูงที่สุดในโลก มี Unicorn per Capita สูงที่สุดในยุโรป และเป็นอันดับ 2 ของโลก เนื่องจากรัฐบาลทำให้เอสโตเนียมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจ มี Ease of Doing Business ในระดับสูง เช่น สามารถตั้งบริษัทได้ภายในเวลาไม่ถึงชั่วโมง นอกจากนี้ยังมีโครงการ e-Residency คือ การที่คนต่างชาติมาสมัครเป็นพลเมืองของเอสโตเนีย และตั้งบริษัทสัญชาติเอสโตเนีย บริหารจัดการบริษัทได้แบบออนไลน์ 100% ลดความยุ่งยากในการติดต่อกับรัฐบาล ทำให้เข้าถึง European Single Market โดยไม่ต้องย้ายถิ่นฐานมาอยู่ที่เอสโตเนีย
โดยจากโครงการ e-Residency เอสโตเนียได้ประโยชน์จากการจัดเก็บภาษี ชดเชยภาษีที่เก็บได้น้อยลงจากการเข้าสู่สังคมสูงอายุ รวมถึงเกิดการสร้างงานทางอ้อมภายในประเทศ และมีการใช้จ่ายหรือใช้บริการบริษัทอื่นๆ นอกจากนี้ เอสโตเนียยังมีนโยบายจัดเก็บภาษีที่ดึงดูด โดยยกเว้นการเก็บภาษีจากกำไรที่นำกลับมาลงทุนต่อ รวมทั้งชุมชน Start-up สนับสนุนกันและกัน แบ่งปันความรู้กัน เนื่องจาก Start-up ในเอสโตเนีย ไม่แข่งขันกันแย่งส่วนแบ่งตลาดในประเทศ เพราะต่างมีตลาดของตนเองในต่างประเทศ
สำหรับการดูงานในครั้งนี้ Cybernetica และ Guardtime ซึ่งเป็น 2 บริษัทที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนา e-Estonia ให้กับรัฐบาล อีกทั้งยังมี Commercial Product ที่ทำให้กับรัฐบาลของประเทศอื่นๆ และหน่วยงานเอกชนต่างๆได้มาร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูล โดย Cybernetica ผู้พัฒนา X-Road ให้กับรัฐบาลเอสโตเนีย ปัจจุบันมี Commercial Product คือการเข้าไปพัฒนา Unified Exchange Platform (UXP) ซึ่งต่อยอดจาก X-Road ให้กับรัฐบาลประเทศอื่นๆ และหน่วยงานต่างๆ เช่น ในปี 2021 ได้ร่วมกับ Local Partner ในประเทศมาเลเซีย นำเทคโนโลยี UXP เข้าไปสร้าง Data Exchange Infrastructure ให้กับรัฐบาลกลางแห่งสหพันธรัฐมาเลเซีย เพื่อที่จะได้ให้บริการ e-Service ในประเทศมาเลเซีย และเมื่อดำเนินการเสร็จ มาเลเซียจะกลายเป็นเคสการใช้งาน UXP ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ส่วน Guardtime ผู้พัฒนา KSI Blockchain ได้นำ Blockchain ไปใช้ในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภาคธนาคาร ทางการทหาร โทรคมนาคม เป็นต้น นอกจากนี้ ยังอยู่ระหว่างพัฒนา Infrastructure รองรับ Web3 คือ ข้อมูลที่อยู่ในอินเตอร์เน็ตถูกเก็บแบบ decentralized และผู้ใช้เป็นเจ้าของข้อมูล ข้อมูลสามารถตรวจสอบได้ ยืนยันได้ว่าเป็นข้อมูลที่ถูกต้องแท้จริงจากการโชว์ Token โดยไม่จำเป็นต้องแสดงข้อมูลทั้งหมด ปัจจุบัน Guardtime กำลังพัฒนา Alphabill ซึ่งเป็น Blockchain ที่สามารถ Scale Up ให้รองรับ Transaction ปริมาณมาก เนื่องจากปัจจุบัน Blockchain ประสบปัญหา ไม่สามารถ Scale Up ใช้เวลาใน validate นาน ค่าใช้จ่ายสูง ใช้พลังงานมาก ทำให้ไม่สามารถนำมาใช้ได้จริงใน Scale ที่ใหญ่ได้ Alphabill มีดีไซน์ที่ต่างไปจาก Blockchain แบบเดิมโดยสิ้นเชิงคือ เปลี่ยนจากแนวคิด Account-based แบบเดิมเป็น Bill-based ซึ่งจะทำให้ Blockchain เกิด Scalability ปัจจุบันยังอยู่ในขั้น Proof of Concept