จากสถติความร้อนที่เพจเฟซบุ๊ก GISTDA สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) ได้เก็บรวบรวมไว้ โดยทางเพจได้เผยข้อมูลจากดาวเทียมซูโอมิ เอ็นพีพี ของวันที่ 26 มีนาคม 2566 ซึ่งไทยพบจุดความร้อนมากที่สุด 5,572 จุด สูงสุดในรอบปี 5 จากการเก็บสถิติที่ผ่านมา ในขณะที่เพื่อนบ้านอย่างพม่ายังครองแชมป์สูงสุงถึง 10,563 จุด ตามด้วย สปป.ลาว 9,652 บาท, กัมพูชา 1,342 จุด, เวียดนาม 870 จุด และ มาเลเชีย 22 จุด

ซึ่งจากอุณหภูมิความร้อนที่สูงขึ้นโดยรอบนี้ จึงทำให้ หลายคนเป็น ฮีทสโตรก แบบฉับพลันล้มคว่ำไม่เป็นท่าดังที่เป็นข่าวอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น "สยามรัฐออนไลน์" จึงมานำเสนอวิธีปฏิบัติตัว เพื่อให้อยู่รอดในสถานการณ์วิกฤติเช่นนี้ 

ทั้งนี้ จากข้อมูลโดย อ. นพ.กานต์ สุทธาพานิช ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ระบุถึงอาการ "ฮีทสโตรก" ไว้ว่า เป็น ภัยจากอากาศร้อน ที่มีตั้งแต่อาการน้อยจนถึงอาการมาก ผู้ป่วยที่มีอาการน้อยได้แก่ คนไข้ที่มีอาการตั้งแต่การบวมเฉพาะปลายมือ ปลายเท้า  คนไข้ที่ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ เวียนหัว

ส่วน ผู้ป่วยที่มีอาการมาก ได้แก่ กลุ่มคนไข้ที่มีอาการขาดน้ำจากการได้รับความร้อนมากๆ จนอุณหภูมิภายในร่างกายสูงขึ้น และอีกกลุ่มคือกลุ่มฮีทสโตรกหรือโรคลมแดด เป็นกลุ่มที่รุนแรงที่สุด

โดย "ฮีทสโตรก" สามารถทำให้เสียชีวิตได้ เพราะ ความร้ายแรงของฮีทสโตรก คือ เมื่อร่างกายมีอุณหภูมิที่สูงขึ้น  จะทำให้ระบบในร่างกายทำงานผิดปกติ ซึ่งความผิดปกติเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ มึนศีรษะ ปวดศีรษะ อันนี้เป็นอาการเริ่มต้น หลังจากนั้น ถ้าไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิได้ ก็จะทำให้เกิดอาการฮีทสโตรก ก็จะมีอาการที่มีความรู้สึกตัวที่ผิดปกติไป อาจจะมีภาวะชัก หรือว่าการหมดสติจากการที่หัวใจเราเต้นผิดจังหวะได้ และสุดท้ายคือเสียชีวิตได้

สำหรับ สิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดโรคลมแดดนั้น  อ. นพ.กานต์ ให้สังเกตุ ดังนี้ อุณหภูมิที่สูง c]tความชื้นที่สูงทำให้อากาศถ่ายเทไม่ดีdHทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นได้เช่นกัน หรือ ภาวะแรงลม ถ้าไม่มีลม ก็ไม่สามารถพัดความร้อนได้

ดังนั้น การป้องกัน หรือการดูแลตัวเองในหน้าร้อน คืออย่าไปอยู่กลางแจ้งให้นานเกินไป ถ้ามีร่มก็สามารถใช้ร่มได้ ดื่มน้ำให้มาก ๆ ทานน้ำแข็ง ทานไอศกรีม  หรือถ้าอยู่ในบ้าน พยายามเปิดประตู หน้าต่าง อย่าอยู่ในที่อับ อย่าอยู่ในห้องปิด การอยู่ในห้องปิดจะทำให้อากาศถ่ายเทไม่ได้ แล้วเกิดความร้อนสะสม ทำให้เกิดฮีทสโตรกได้แม้อยู่ในบ้าน

ขณะที่ ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว อย่าออกไปอยู่กลางแดดนานเกินไป ถ้าจำเป็นจริง ๆ ที่จะต้องออกไปอยู่กลางแจ้ง แนะนำว่าเราต้องหาเวลาเข้ามาอยู่ในที่ร่มบ้าง ถ้าเราอยู่กลางแดดนาน ๆ ก็จะเกิดฮีทสโตรกได

แต่ที่สำคัญ และควรระวังคือ อย่าทำให้ร่างกายขาดน้ำ เตรียมน้ำ ดื่มน้ำเป็นจำนวนมาก อาจจะต้องมากกว่าในฤดูอื่นๆ