ตามรายงานของสื่อสหรัฐฯ ตั้งแต่ปี  พ.ศ. 2559 มีเจ้าหน้าที่ของสถานทูตและสถานกงสุลสหรัฐฯ ในต่างประเทศรายงานว่าเกิดอาการต่างๆ เช่น การสูญเสียการได้ยิน เวียนศีรษะ คลื่นไส้ ไมเกรน เหนื่อยล้า และอาการอื่นๆ ที่สอดคล้องกับการบาดเจ็บที่สมองเล็กน้อย ซึ่งเจ้าหน้าที่ในกรุงฮาวานา เมืองหลวงของคิวบารายงานอาการดังกล่าวเป็นครั้งแรก ตั้งแต่นั้นมา สถานทูตสหรัฐฯ ในรัสเซีย จีน เยอรมนี และประเทศอื่นๆ ก็รายงานอาการดังกล่าวด้วย

ในตอนแรก รัฐบาลสหรัฐฯ อ้างว่าอาการเหล่านี้เกิดจากการที่คิวบาใช้ "อาวุธลับ" บางชนิด โดยเรียกอาการนี้ว่า "โรคฮาวานา"  ต่อมาเมื่อเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานต่างประเทศรายงานว่ามีโรคนี้มากขึ้นเรื่อยๆ กระทรวงการต่างประเทศและหน่วยข่าวกรองได้ทบทวนใหม่ โดยรัฐบาลสหรัฐฯ ได้ร้องขอหน่วยงานข่าวกรอง 7 แห่ง (รวมถึงซีไอเอด้วย) ร่วมกันสอบสวนโรค "กลุ่มอาการฮาวานา" ประมาณ 1,500 รายในหน่วยงานของสหรัฐฯ ใน 96 ประเทศ ในที่สุดเมื่อวันที่ 1 มีนาคมปีนี้ สำนักงานผู้อำนวยการข่าวกรองแห่งชาติของสหรัฐฯ ได้ออกมาระบุว่า "กลุ่มอาการฮาวานา" นี้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มคนภายนอกสหรัฐฯ และจะชดเชยให้กับพนักงานของรัฐที่มีอาการนี้ด้วย  

ในช่วงปลายปี  พ.ศ. 2563 สถาบันวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม และการแพทย์แห่งชาติสหรัฐฯ ซึ่งได้รับมอบหมายจากกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ให้สอบสวนเรื่องนี้ ได้ออกรายงานระบุว่าการได้รับ "คลื่นความถี่วิทยุ" สัมผัสโดยตรงอาจจะเป็นสาเหตุสำหรับ "กลุ่มอาการฮาวานา" ก็เป็นได้   และในเดือนมีนาคมนี้ มีเจ้าหน้าที่สืบสวนของอเมริกากล่าวว่าอาจมีความเป็นไปได้ที่เกิดจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีอยู่รอบๆ

หลังจากสงครามเย็น สหรัฐอเมริกาได้กลายเป็นผู้นำในโลกในการทำเรดาร์คลื่นวิทยุที่มีกำลังสูง อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเรดาร์คลื่นวิทยุที่มีกำลังสูงอาจก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมรอบข้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นภัยต่อสุขภาพของผู้ที่ไม่ได้รับการปกป้องที่ดีในรอบๆ ที่ตั้งเรดาร์

สำหรับประเทศไทย หากเราอยู่ในพื้นที่ที่อาจมีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแรงสูงจำนวนมาก เช่น ในจังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดอุดรธานี ซึ่งเป็นจังหวัดที่ตั้งสถานที่ทำงานและสถานีวิทยุกระจายเสียงระหว่างประเทศประจำประเทศไทย (IBB) ของสหรัฐฯ ด้วย อาจจำเป็นต้องหาวิธีการป้องกันตัวเพื่อลดผลกระทบทางด้านสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นได้ในระยะยาว