หน่วยสืบสวนปราบปรามสตูล-ปากบารา สังกัดส่วนสืบสวนปราบปราม 2 กองสืบสวนและปราบปรามกรมศุลกากร  นำโดยนายยุทธภูมิ ทันทะรักษ์ นักวิชาการศุลกากรชำนาญการ  หัวหน้าหน่วยสืบสวนปราบปรามสตูล-ปากบารา  สังกัดส่วนสืบสวนปราบปราม 2 กองสืบสวนและปราบปราม กรมศุลกากรกระทรวงการคลัง บูรณาการร่วมโดยนำเรือศุลกากร 701 ศรชล.ภาค 3 , ศรชล.สตูล ร่วมกับฝ่ายสืบสวนและปราบปรามสำนักงานศุลกากรภาคที่ 4 ส่วนควบคุมศุลกากร สถานีตำรวจน้ำ, ตรวจคนเข้าเมืองสตูล,อุทยานแห่งชาติตะรุเตา,สำนักงานเจ้าท่าส่วนภูมิภาค , กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง



ได้ร่วมกันออกปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามน้ำมันผิดกฎหมายเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2566 ได้สืบทราบว่าในการลักลอบนำน้ำมันผิดกฎหมายมาจำหน่ายบริเวณตำบลเกาะสาหร่าย   (ใกล้เกาะหลีเป๊ะ)  อำเภอเมือง   จังหวัดสตูล   จึงได้สืบสวนหาข่าวเพิ่มเติม  และจัดกำลังเฝ้าระวังเรือต้องสงสัย  จนกระทั่งเวลา 17:00 น ของวันเดียวกันได้สังเกตพบเรือต้องสงสัยแล่นมาบริเวณดังกล่าวจึงแสดงตัวขอเข้าตรวจค้น

ทราบชื่อภายหลังคือเรือ “อุมาภรณ์  ขนาดประมาณ 25.82 ตันกลอส  ตรวจค้นด้านในพบถังพลาสติกขนาด 200 ลิตรจำนวน 25 ใบซุกซ่อนอยู่ใต้ระวางเรือ เบื้องต้นผู้ต้องหาให้การรับสารภาพว่า ได้เช่าเรือของกลางลำดังกล่าวมาเพื่อบรรทุกน้ำมันผิดกฎหมายเพื่อจำหน่ายให้เรือประมงในพื้นที่บริเวณเกาะหลีเป๊ะโดยน้ำมันดังกล่าวไปรับออกจากเรือลากจูงสินค้าระหว่างประเทศโดยปริมาณที่ตรวจพบเป็นน้ำมันดีเซลจำนวน  5000 ลิตร



เบื้องต้นได้แจ้งข้อหาผิดพระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2560 มาตรา 246 กล่าวไว้ว่า ผู้ใดช่วยซ่อนเร้นช่วยจำหน่ายช่วยพาเอาไปเสียซื้อรับจำนำหรือรับไว้โดยประการใดซึ่งอันควรรู้ว่าเป็นของอันเนื่องด้วยความผิดตามมาตรา 242 ระวังโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปีหรือปรับเป็นเงิน 4 เท่าของราคาซึ่งได้รวมอากรเข้าด้วยแล้วหรือทั้งจำทั้งปรับ

นายุทธภูมิ ทันทะรักษ์ นักวิชาการศุลกากรชำนาญการ หัวหน้าหน่วยสืบสวนปราบปรามสตูล-ปากบารา  สังกัดส่วนสืบสวนปราบปราม 2 กองสืบสวนและปราบปราม  กรมศุลกากรกระทรวงการคลัง  กล่าวว่า  เรือลำดังกล่าวได้ติดตามมาโดยตลอด  เพราะเคยเข้าตรวจตราแล้วแต่ไม่พบสิ่งผิดกฎหมาย โดยตบตาด้วยการทำประมงแบบวิถีชาวบ้าน ดัดแปลงขายสินค้า (เสมือนร้านสะดวกซื้อ) จนมาครั้งนี้สามารถตรวจยึด  กลับไม่พบสินค้า แต่พบน้ำมันเถื่อนของกลางได้  สำหรับผู้ต้องหาที่จับได้เป็นชาวจังหวัดระนอง 2 คน  สารภาพว่าซื้อน้ำมันจากเรือลากจูงประเทศมาเลเซียเพื่อนบ้านมาขายในพื้นที่ให้กับเรือประมงราคาเพียงลิตรละ 31 บาท (ราคามาเลเซียประเทศเพื่อนบ้านลิตรละ 17-18 บาท)  ซึ่งมีส่วนต่างจากท้องตลาดในสตูล 4 บาท  



จากการตรวจสอบพบว่าเรือลำนี้สามารถบรรทุกน้ำมันได้มากถึง 10,000 ลิตร และมีการขายได้ไปบางส่วนแล้วจนเหลือ 5,000 ลิตร  ซึ่งของกลางที่ตรวจยึดได้นอกจากเรือ น้ำมันของกลางแล้วยังพบอุปกรณ์อย่างมิเตอร์ขายน้ำมัน  สายยางจำนวนมากในการระบายน้ำมันออกจากถังในเรือดัดแปลงดังกล่าว