นายณัฐชาต เมฆมาสิน ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ทรีนีตี้ระบุว่า
-What happened? มองปัญหาที่เกิดขึ้นในฝั่งสถาบันการเงินสหรัฐฯตอนนี้ เป็นปัญหาทางด้านสภาพคล่องเป็นหลัก ซึ่งมีที่มาจากการสะสมของปัจจัยกดดันต่างๆ ทั้งการใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวด, การถอดถอนสภาพคล่องของ Fed, ภาวะ Earning contraction และภาวะขาลงของสินทรัพย์ Digital และ cryptocurrency
-ส่งผลให้เมื่อบริษัทที่เผชิญปัญหาเหล่านี้ต้องการสภาพคล่องแบบทันทีทันใด ธนาคารหรือสถาบันการเงิน ที่ทำหน้าที่เป็นผู้จัดหาสภาพคล่องให้ก่อนหน้านี้จึงเตรียมการไม่ทัน และเมื่อต้องการเตรียมการ ก็เผชิญกับผลขาดทุนทางด้านราคาสินทรัพย์เข้าไปอีก จากการที่อัตราดอกเบี้ยปัจจุบันอยู่สูงกว่าระดับในอดีต ส่งผลให้สถาบันการเงินเหล่านี้เผชิญกับวิกฤติสภาพคล่องแบบทันทีทันใด และทำให้ถูกสั่งปิดกิจการลงทันที
-Crisis of confidence: มองผลกระทบที่เกิดขึ้น เป็นปัญหาทางด้านสภาพคล่องและความเชื่อมั่นของนักลงทุนเป็นหลัก ซึ่งถึงแม้ปัญหาแรกอาจยังต้องใช้ระยะเวลาในการแก้ไข ปัญหาที่สองดูเหมือนจะได้รับการเยียวยาในเชิงบวกบ้างแล้ว หลังจากที่ล่าสุดทางการสหรัฐฯได้ทำตัวเป็น The last resort ออกมาตรการ Backstop เพื่อจัดหาสภาพคล่องฉุกเฉิน (Funding program) ให้กับธนาคารที่ประสบปัญหา และการันตีเงินฝากของผู้ฝากเงินทั้งในส่วนที่ได้รับความคุ้มครองและไม่ได้รับความคุ้มครอง ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้ล่าสุดสินทรัพย์เสี่ยงทั้งหลายตอบรับเชิงบวกขึ้นได้บ้าง
-Still in check: อีกทั้งนั้น จากการตรวจสอบสัญญาณต่างๆล่าสุดในตลาด พบว่าเครื่องชี้สภาพคล่องในระบบสถาบันการเงินสหรัฐฯแม้ได้รับผลกระทบบ้าง แต่ถือว่าส่วนใหญ่ยังคงอยู่ในเกณฑ์ปกติ ไม่ว่าจะดูจากเครื่องชี้ LIBOR-OIS spread (รูปที่ 1), TED spread (รูปที่ 2), หรือ CDS ของธนาคารขนาดใหญ่ต่างๆในสหรัฐฯ (รูปที่ 3) ไม่ต้องพูดถึงสัญญาณสภาพคล่องในตลาดบ้านเราซึ่งก็ยังคงอยู่ในเกณฑ์ที่ปกติมากเช่นเดียวกัน มองผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับบ้านเราอาจจะมาผ่านช่องทาง Wealth effect ของนักลงทุนบางส่วนที่มี Exposure กับหุ้นกลุ่มสถาบันการเงินสหรัฐฯ ซึ่งบางกองทุนนั้นมีการลงทุนในหุ้น SVB อยู่ประปราย โดยภาพรวมผลกระทบส่วนนี้ในเชิงตัวเลขจึงไม่น่าจะมีนัยสำคัญมากนัก
-Positive knock-on: ทั้งนี้ มองปัญหาที่เกิดขึ้นล่าสุดอาจกลับกลายเป็นปัจจัยบวกทางอ้อมต่อมายังภาวะการลงทุนในตลาดทุนโลกช่วงต่อไป ผ่านช่องทางการปรับเปลี่ยนโหมดนโยบายการเงินและนโยบายการคลังของสหรัฐ โดยเฉพาะตัวของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) เอง ที่ล่าสุดเรามองว่ามีโอกาสเพิ่มขึ้นแล้วที่ Fed จะมีมติปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเพียงแค่ 0.25% ในการประชุมวันที่ 21-22 มีนาคมนี้ ซึ่งล่าสุดดูเหมือนว่าตลาดจะเชื่อแล้ว 100% เช่นกัน (รูปที่ 4) ซึ่งหากเกิดขึ้นจริง มองว่าจะกลายมาเป็น Positive knock-on effect ทำให้ปัจจัยปัญหาวิกฤติสภาพคล่องที่เกิดขึ้นตอนนี้ผ่อนคลายลงต่อได้อีก
-กลยุทธ์: แนะถือครองหุ้นที่ได้เข้าสะสมไปที่บริเวณแนวรับดัชนีแรกของเราเดือนนี้ที่ 1580-1600 จุด มองหากราคาหุ้นกลุ่มสถาบันการเงินของไทยปรับตัวลงจากความกังวลจากเหตุการณ์ในสหรัฐฯช่วงนี้ มองเป็นโอกาสที่ดีในการเข้าซื้อ (Buy on dip) รวมไปถึงหุ้นกลุ่ม Bond-like เช่น REIT/IFF และกลุ่ม Defensive อย่าง Utilities ที่ได้ประโยชน์จากการปรับตัวลดลงของ Bond yield อย่างมีนัยสำคัญ
-Jobs report: สหรัฐฯรายงานตัวเลขตลาดแรงงานเมื่อคืนวันศุกร์มีไฮไลท์ที่น่าสนใจดังนี้
1)ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร (NFP) เพิ่มขึ้น 3.1 แสนตำแหน่ง สูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 2.3 แสนตำแหน่ง
2)อัตราการว่างงานอยู่ที่ 3.6% สูงกว่าที่ตลาดคาดที่ 3.4%
3)อัตราค่าจ้างรายชั่วโมงขยายตัว 4.6% YoY และ 0.2% MoM ใกล้เคียงตลาดคาด
-Our take: ตัวเลขสำคัญทั้งสามที่ออกมาไม่ได้เอนเอียงไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง ดังนั้น อาจต้องรอดูตัวเลขสำคัญถัดไปนั่นก็คือเงินเฟ้อที่จะออกมาในสัปดาห์นี้ แต่ปัจจัยดังกล่าวดูเหมือนจะเป็นปัจจัยรองและอาจจะมีอิทธิพลน้อยลงแล้ว (หากตัวเลขไม่ได้ออกมา Surprise ในด้านบวกมากๆ) หลังจากที่มีปัญหาความเชื่อมั่นในระบบสถาบันการเงินในสหรัฐฯล่าสุด ดังที่เราวิเคราะห์ไว้ในข้างต้น