จากกรณี "กรมอุตุนิยมวิทยา" โดยกองเฝ้าระวังแผ่นดินไหว แจ้งว่า มีเหตุ "แผ่นดินไหว" ขนาด 4.6 บริเวณ ความลึก 134 กิโลเมตรไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของ อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน ประมาณ 656 กม. โดยมีบริเวณศูนย์กลางอยู่ที่พรมแดนประเทศเมียนมา - ประเทศอินเดีย เบื้องต้นยังไม่มีปรระชากรแจ้งการรับรู้ รวมถึงความเสียหายที่เกิดขึ้น โดยเป็นแผ่นดินไหว ปานกลาง ผู้ที่อาศัยอยู่ทั้งภายในอาคารและนอกอาคารจะรู้สึกถึงการสั่นสะเทือน วัตถุห้อยแขวนแกว่งไกว
นอกจากนี้ ยังมีเหตุแผ่นดินไหวขนาด 1.6 บริเวณ ความลึก 3 กิโลเมตร ต.แม่ปูคา อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ เบื้องต้นยังไม่มีประชาชนแจ้งการรับรู้ หรือสั่นไหว รวมถึงความเสียหาย โดยแผ่นดินไหวครั้งนี้ อยู่ระหว่าง ขนาด 1-2.9 : เกิดการสั่นไหวเล็กน้อย ผู้คนเริ่มมีความรู้สึกถึงการสั่นไหว บางครั้งรู้สึกเวียนศีรษะ
-สถิติแผ่นดินไหวในประเทศไทย ดังนี้
สถิติแผ่นดินไหวในประเทศไทย แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ซึ่งตรวจวัดโดย กรมอุตุนิยมวิทยา มีขนาดอยู่ในระดับเล็กถึงปานกลาง (ไม่เกิน 6.0 ริคเตอร์) หากเกิดแผ่นดินไหวที่มีขนาดใหญ่พอก็จะส่งแรงสั่นสะเทือนมายังประเทศไทย ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายเล็กน้อยต่อสิ่งก่อสร้างใกล้ศูนย์กลาง โดยมีรายละเอียดดังนี้
1.แผ่นดินไหวเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2518 ขนาด 5.6 ริคเตอร์บริเวณ อ.ท่าสองยาง จ.ตาก
2.แผ่นดินไหวเมื่อ 15 เมษายน 2526 ขนาด 5.5 ริคเตอร์ บริเวณ อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี
3.แผ่นดินไหว เมื่อ 22 เมษายน 2526 ขนาด 5.9 ริคเตอร์ บริเวณ อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี
4.แผ่นดินไหวเมื่อ 22 เมษายน 2526 ขนาด 5.2 ริคเตอร์ บริเวณ อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี
5.แผ่นดินไหวเมื่อ 11 กันยายน 2537 ขนาด 5.1 ริคเตอร์ บริเวณ อ.พาน จ.เชียงราย
6.แผ่นดินไหวเมื่อ 9 ธันวาคม 2538 ขนาด 5.1 ริคเตอร์ บริเวณ อ.ร้องกวาง จ.แพร่
7.แผ่นดินไหวเมื่อ 21 ธันวาคม 2538 ขนาด 5.2 ริคเตอร์ บริเวณ อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
8.แผ่นดินไหวเมื่อ 22 ธันวาคม 2539 ขนาด 5.5 ริคเตอร์ บริเวณพรมแดนไทย-ลาว
-เหตุการณ์แผ่นดินไหวรู้สึกได้ในประเทศไทย (2542-สิงหาคม 2543) วัน เดือน ปี บริเวณที่เกิดแผ่นดินไหว ดังนี้
31 สิงหาคม 2542 :ใกล้ พรมแดนไทย-ลาว ขนาด 4.8 ริคเตอร์ รู้สึกได้ที่จังหวัดน่าน
3 เมษายน 2542 :ใกล้ พรมแดนไทย - พม่า ขนาด 3.2 ริคเตอร์ รู้สึกได้ที่อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย
29 มิถุนายน 2542 :ในประเทศพม่าขนาด 5.6 ริคเตอร์ รู้สึกได้ที่ จังหวัดเชียงราย
15 สิงหาคม 2542 :ตอนใต้ของประเทศพม่า ขนาด 5.6 ริคเตอร์ รู้สึกได้ที่จังหวัดเชียงใหม่
17 สิงหาคม 2542 :บริเวณทะเลอันดามัน ขนาด 2.1 ริคเตอร์ รู้สึกได้ที่ จังหวัดภูเก็ตและ จังหวัดพังงา
29 สิงหาคม 2542 :บริเวณทะเลอันดามัน ขนาด 2.1 ริคเตอร์ รู้สึกได้ที่ จังหวัดภูเก็ตและ จังหวัดพังงา
20 มกราคม 2543 :ที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ขนาด 5.9 ริคเตอร์ รู้สึกได้ที่ จังหวัดน่าน แพร่ พะเยา เชียงราย มีความเสียหายที่ จังหวัดน่านและแพร่
14 เมษายน 2543 :ที่พรมแดนลาว-เวียดนาม ขนาด 4.9 ริคเตอร์ รู้สึกได้ที่จังหวัดสกลนคร
29 พฤษภาคม 2543 :บริเวณ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ขนาด 3.8 ริคเตอร์ รู้สึกได้ที่อำเภอเมือง อำเภอสันกำแพง และอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
7 สิงหาคม 2543 :บริเวณพรมแดนไทย - พม่า ขนาด 3.0 ริคเตอร์ รู้สึกได้ที่บริเวณ อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ทั้งนี้ อัตราเฉลี่ยของการเกิดแผ่นดินไหวรู้สึกได้ในรอบ 10 ปี ระหว่าง 2533-2542 ประมาณ ปีละ 8 ครั้ง โดยตำแหน่งของแผ่นดินไหวรู้สึกได้ส่วนใหญ่อยู่ในบริเวณภาคเหนือ
-สำหรับระดับแรงสั่นสะเทือนมีหลายขนาด ดังนี้
ขนาด 3-3.9 : เกิดการสั่นไหวเล็กน้อย ผู้คนที่อยู่ในอาคารรู้สึกเหมือนรถไฟวิ่งผ่าน
ขนาด 4-4.9 : เกิดการสั่นไหวปานกลาง ผู้ที่อาศัยอยู่ทั้งภายในอาคารและนอกอาคารรู้สึกถึงการ สั่นสะเทือน วัตถุห้อยแขวนแกว่งไกว
ขนาด 5-5.9 : เกิดการสั่นไหวรุนแรงเป็นบริเวณกว้าง เครื่องเรือนและวัตถุมีการเคลื่อนที่
ขนาด 6-6.9 : เกิดการสั่นไหวรุนแรงมาก อาคารเริ่มเสียหาย พังทลาย
ขนาด 7.0 ขึ้นไป : เกิดการสั่นไหวร้ายแรง อาคาร สิ่งก่อสร้างมีความเสียหายอย่างมาก แผ่นดินแยก วัตถุที่อยู่บนพื้นถูกเหวี่ยงกระเด็น