เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2566 ชาวบ้านกว่า 5 หมู่บ้านใน ต.แม่จัน และ ต.สันทราย อ.แม่จัน จ.เชียงราย จำนวนกว่า 100 คน ได้เดินทางมาชุมชน ที่บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดเชียงราย เพื่อคัดค้านการขอประทานบัตรทำเหมืองแร่ หินอุสาหหากรรม ชนิดหินแกรนิตเพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้าง ของบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง ซึ่งจะดำเนินการในพื้นที่ดินประมาณ 65 ไร่ ใกล้หมู่บ้านธรรมจาริก หมู่ 13 ต.แม่จัน อ.แม่จัน เนื่องจากชาวบ้านเกรงจะส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตละความเป็นอยู่ของชุมชน
โดยนางสุดารัตน์ จริยะประเสริฐ ชาวบ้านธรรมจาริก กล่าวว่า หากมีการทำเหมืองแร่ในพื้นที่จะส่งผลกระทบต่ออระบบนิเวศน์ ซึ่งพื้นที่เป็นต้นน้ำกว่า 5 สายที่ชาวบ้านใช้ประโยชน์ มีผลกระทบด้านฝุ่นละออง กระทบการทำเกษตรทำสวนและทำนา ที่น่าห่วงคือด้านสุขภาพที่เกิดจากมลพิษและเสียง หากมีการระเบิดอาจกระทบต่อสิ่งปลูกสร้างได้ เพราะชาวบ้านไม่ได้สร้างบ้านที่รองรับแรงสั่นสะเทือนที่รุนแรงได้ จุดทำเหมืองอยู่ห่างหมู่บ้านเพียง 2 กิโลเมตร และอยู่ติดกับพื้นที่ทำมาหากินของชาวบ้าน ทำให้ช่วงปลายเดือนมกราคมที่ผ่านในการทำประชาคมหมู่บ้าน ชาวบ้านทั้งหมดจึงไม่เห็นด้วย จนทำให้ทางบริษัทมีการขนย้ายอุปกรณ์ต่างๆ ออกนอกพื้นที่ แต่ชาวบ้านยังมีความกังวลว่าจะกลับมาดำเนินการอีก จึงมาเพื่อยื่นหนังสือคัดค้านกับทางจังหวัด และส่งต่อไปถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด
ด้านนายนิติพล ผิวเหมาะ ส.ส.บัญชีรายขื่อ พรรคก้าวไกล ซึ่งมีบ้านอยู่ในหมู่บ้านธรรมจาริก กล่าวว่า ตนทำหน้าที่เป็นเครือข่ายด้านสิ่งแแวดล้อมให้กับพรรคก้าวไกลอยู่แล้ว เมื่อเกิดกรณีนี้ขึ้นจึงเข้ามาดู พบว่าทางบริษัทมีการนำเครื่องจักรเข้ามาปรับพื้นที่ตัดหน้าดินและทำถนนให้สามารถวิ่งรถบรรทุกได้ แต่ชาวบ้านหลายคนไม่ทราบเรื่องและไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับหมู่บ้านของตนเอง ซึ่งการทำเหมืองแร่จะต้องคำนึงถึงผลกระทบด้านสิ่งแแวดล้อมและต้องให้คนในพื้นที่นั้นๆ รับรู้แและเข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งการทำเหมืองแร่ไปพัฒนานั้นเข้าใจว่ามีความจำเป็น แต่ต้องคำนึงถึงปัญหาด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ของคนที่อาศัยบริเวณใกล้เคียง ซึ่งมีจำนวนหลายร้อยหลังคาและหลายพันชีวิต ปัญหาที่สำคัญคือขาดการมีส่วนร่วมของชาวบ้านในพื้นที่ วันนี้ชาวบ้านจึงต้องออกมาป้องกันชีวิตและที่อยู่อาศัยของตนเอง
ต่อมาทางนายนายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชจังหวัดเชียงราย ได้มอบหมายนางกฤษนันท์ ทะวิชัย อุตสาหกรรมจังหวัดเชียงราย เป็นตัวแทนมาพบเจรจากับทางชาวบ้าน โดยนางกฤษนันท์ ได้ชี้แจงว่า บริษัท ได้มายื่นขอประทานบัตร ทำเหมืองแร่ซึ่งเป็นที่ดินของเอกชนมาตั้งแต่ปี 2565 ตาม พรบ.เหมืองแร่ จะต้องประกาศให้รับฟังความคิดเห็นของประชาชน จึงเข้าไปรับฟังจากชาวบ้านในวันที่ 25-26 มกราคม 2566 ที่ผ่านมา ซึ่งก็พบว่าข้อกังวลทั้งด้านระบบนิเวศน์และด้านสุขภาพ ซึ่งทางอุตสาหกรรมได้ประมวลผลกระทบต่างๆ เสนอให้กับทางจังหวัดพิจารณาซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาชาวบ้านก็เดินทางมาติดตามเสียก่อน
นางกฤษนันท์ กล่าวด้วยว่า ตนยืนยันว่าขณะนี้ยังไม่มีการออกประทานบัตรให้กับบริษัทเอกชนแต่อย่างใด ทำให้ทางบริษัทไม่สามารถดำเนินการทำเหมืองแร่ได้ จึงต้องหยุดการดำเนินการไปก่อน ส่วนที่เข้ามีการปรับพื้นที่ เนื่องจากเป็นที่ดินเอกชน ย่อมจะดำเนินการได้ในรูปแบบอื่นแต่ไม่สามารถทำเหมืองแร่ได้ จนกว่าจะมีการทำขบวนการให้เป็นที่ยอมรับของประชาชนเสียก่อน ซึ่งชาวบ้านก็ต้องช่วยดูให้กับเจ้าหน้าที่ด้วยว่ามีการแอบทำเหมืองแร่หรือไม่ ซึ่งเชียงงรายมีระบบลอจิส ติดเชื่อมกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งการพัฒนาระบบพื้นฐานเหล่านี้ ความต้องการหินแร่นี้จึงมีมาก ซึ่งเชียงรายมีการทำเหมืองประมาณ 4 แห่ง แต่ก็ไม่เพียงพอ จึงมีการสำรวจและทำเหมืองแร่เพิ่ม ซึ่งที่มีการทำอยู่ก็ไม่พบว่ามีปัญหาอะไร แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่ความเห็นชอบของชาวบ้านแต่ละพื้นที่
ล่าสุดทางชาวบ้านได้รับคำตอบเป็นที่น่าพอใจ จึงส่งตัวแทนเข้ามอบหนังสือให้กับทางจังหวัดเชียงราย และหน่วยงานที่เกี่ยว โดยผ่านทางนางกฤษนันท์ ทะวิชัย อุตสาหกรรมจังหวัดเชียงราย ซึ่งทางอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงราย รับปากที่จะส่งต่อหนังสือคัดค้านไปตามหน่วยงานที่ทางชาวบ้านยื่นมา ชาวบ้านต่างแแสดงความดีใจ และพากันยกย้ายกลับในที่สุด