มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร จับมือ อว.ลุยอีสาน UT มหาวิทยาลัย ตำบล เปิดมหกรรมสินค้า U2T for BCG นำผลผลิตชุมชนออกสู่ตลาดผู้บริโภค กระตุ้นเศรษฐกิจ ลดปัญหาการว่างงาน "ผลิตแล้วต้องขายได้"
วันที่ 24 มกราคม 2566 เวลา 10.00 น. ที่หอประชุมมหาวชิราลงกรณ มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร ดร.ดนุช ตันเทอดทิตย์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดม ศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เดินทางสำรวจพื้นที่การผลิตสินค้าชุมชน ในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) หรือ โครงการ U2T โดย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ผสานความร่วมมือกับ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Science Park,คลินิกเทคโนโลยี ผู้ผลิตสินค้าระดับโอทอป (OTOP) และ หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา หรือ University Business Incubator :
UBI นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้าไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชนรูปแบบต่างๆ ในพื้นที่ 7,435 ตำบล ครอบคลุม 77 จังหวัดทั่วประเทศ มีผลิตภัณฑ์ที่ได้รับคำปรึกษาและพัฒนาแล้วกว่า 15,000 ชนิด พร้อมออกสู่ตลาดผู้บริโภค
ด้วยเหตุนี้ ดร.ดนุช ตันเทอดทิตย์ และคณะกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)ใช้งบประมาณปี 2566 ที่ยังคงมุ่งเน้นเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการ BCG หรือ Bio Circular Green Economy การผสมผสานระหว่างเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green) ในพื้นที่ด้วยองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อให้ผลิตภัณฑ์และบริการออกสูตลาดอย่างเป็นระบบ ยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการโดยมหาวิทยาลัยเป็น System Integrator จัดทำข้อมูลขนาดใหญ่ของชุมชน พร้อมกระตุ้นให้เกิดการจ้างงานประชาชนทั่วไป บัณฑิตจบใหม่ และนักศึกษา มีงานทำในบ้านเกิดของตนเอง ส่งเสริมการตลาดและขายสินค้าทั้ง online/offine ผลักดันให้จำหน่ายได้ทั้งในและต่างประเทศ โดย อว. เป็นผู้พัฒนาระบบ ในการเชื่อมต่อกับแพลตฟอร์ม (Platform) ที่สำคัญมีการจัดทำข้อมูล Thailand Community Data (TCD) ให้สมบูรณ์ครบทุกพื้นที่ รวมถึงการถ่ายทอดการใช้ประโยชน์จาก TCD ให้ผู้สนใจทั้งภาครัฐภาคเอกชนและชุมชนระดับตำบล เข้าสู่ระบบการจัดจำหน่ายจริงของการ ส่งเสริมการตลาดเพื่อประชาสัมพันธ์และแนะนำผลิตภัณฑ์สินค้า U2T for BCG ประเดิม นำร่องลุย 4 จังหวัดภาคอีสาน เริ่มที่ หนองคาย สกลนคร กาฬสินธุ์ และ ร้อยเอ็ด ตามลำดับ พร้อมจัดแสดงสินค้า U2T ในรูปโฉมใหม่ จากสินค้าภูมิปัญญาท้องถิ่นที่วางขายแค่ในชุมชน สู่การวางจำหน่ายในห้างสรรพสินค้า หรืองานแสดงสินค้าขนาดใหญ่ได้ทั่วประเทศ ด้วยคุณภาพสินค้าที่ได้รับการพัฒนาสูตรและออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่สวยงามมาแล้ว
ในการนี้ ตร.ดนุช ตันเทอดทิตย์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า "โครงการส่งเสริมการตลาด เพื่อประชาสัมพันธ์และแนะนำผลิตภัณฑ์สินค้า U2T for BCG เป็นโครงการต่อเนื่องจากโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) หรือ UT มหาวิทยาลัย ตำบล โครงการ U2T มีสินค้าชุมชนจำนวนมากที่ได้รับการพัฒนา เมื่อมีสินค้าดีแต่จำหน่ายอย่างไรให้เข้าถึงผู้บริโภคครอบคลุมทุกพื้นที่ นี่คือสิ่งที่ อว. ต้องทำต่อ ซึ่งการจัดแสดงสินค้าออกสูตลาดผู้บริโภคเป็นการขบายโอกาสและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและพัฒนาช่องทางการตลาดให้แก่ผู้ประการภาคธุรกิจและภาคบริการ จุดนี้เป็นเรื่องสำคัญมาก เมื่อเราเข้าไปพัฒนาศักยภาพการผลิตสินค้าในรูปแบบต่างๆแล้ว เราต้องให้ความรู้ในการจัดจำหน่ายด้วย เพื่อให้ประชาชนได้เป็นผู้ประกอบการมืออาชีพ สร้างความเข้าใจและปรับตัวในการผลิตสินค้าให้สอดคล้องกับ BCG
โดยครั้งนี้ อว. ผสานความร่วมมือกับอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย หรือ Science Park ,คลินิกเทคโนโลยี ผู้ผลิตสินค้าระดับโอทอป (OTOP) และ หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา หรือ University Business Incubator : UBI เข้ามาช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์ U2T อย่างเต็มที่ ถือเป็นการโชว์สินค้า แชเทคโนโลยี และนำไปต่อยอดต่อไปได้ สินค้าภายใต้โครงการ U2T FOR BCG ซึ่งชาวบ้านได้นำองค์ความรู้ที่ได้รับจากทามหาวิทยาลัยไปปรับใช้จริง มีการอบรม สาธิตการทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ จำหน่ายสินค้า โดยงานแสดงสินค้าเหล่านี้จัดขึ้นในจังหวัดเป้าหมายหลัก ตลอดเดือน มกราคม - มีนาคม 2566 กระจายในทุกภาคทั่วประเทศ และเพิ่มศักยภาพการจำหน่ายช่องทางออนไลน์ด้วยโดยลงพื้นที่ไปให้ความรู้อย่างเป็นระบบ วิธีการเพิ่มช่องทางการขายในออนไลน์ สอนสร้างเพจจำหน่ายสินค้าใน Facebook,Instagram , Tiktok สอนการ Live ขายสินค้า ซึ่งเป็นช่องทางที่ทำเงินได้ไม่ยากและสนุก จุดนี้คือสายสัมพันธ์ระหว่างเกษตรกร หรือผู้ประกอบการรุ่นเก่ากับลูกหลานที่เป็นคนรุ่นใหม่ ได้ทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ลดปัญญาบัณฑิตจบใหม่ ไม่มีงานทำได้อย่างเป็นรูปธรรม และสามารถฟื้นฟูเศรษฐกิจหมุนเวียนให้แก่ประเทศ ผมจะพลักดันให้โครงการ
U2T ได้อยู่กับพี่น้องประชาชนต่อไปทุกยุคทุกสมัย หากพัฒนาอย่างสม่ำเสมอก็จะเพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชนอย่างยั่งยืน และสร้างผู้ประกอบการมืออาชีพได้ตลอดไป
ซึ่งพี่น้องประชาชน เกษตรกร ผู้ประกอบการทั่วประเทศจะมีหน่วยงานหลักสำหรับให้คำปรึกษาและร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนอยู่ในทุก มหาวิทยาลัย ทั้ง คลินิกเทคโนโลยี , Science Park OTOP และ UB หากมีความสนใจหรือต้องการพัฒนาสินค้าต่าง สามารถติดต่อไปได้ที่ มหาวิทยาลัยใกล้บ้าน เราให้คำปรึกษาด้าเทคโนโลยี การตลาด การจัดการ เพื่อต่อยอด อว. ไม่ได้ห่างเหินจากประชาชน แต่จะต้องลงพื้นที่ ดูแลและเป็นกองหนุนให้กับทุกกระทรวง เพื่อการทำงานอย่างยั่งยืน สร้างชีวิตใหม่ ส้ร้างผู้ประกอบการมืออาชีพในแต่ละตำบล และทำให้เกิดการสานต่อผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม