วันที่ 16 ม.ค.66 เวลา 10.00 น.ผู้สื่อข่าวรายงาน ว่า ที่ ห้องประชุมชั้น 2 กองบังคับการปราบปราม อาคารประชาอารักษ์ กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางบก.ปคบ. ร่วม อย. และ สบส.แถลงข่าว 1.ตรวจยึดยาเถื่อนคลินิกหรูย่านเกษร มูลค่าของกลางกว่า 5 ล้านบาท 2.ขยายผลซิลิโคนศัลยกรรมเถื่อน ผลิตจากโรงสีส่งคลินิกเสริมความงามรายใหญ่ 

ทั้งนี้ นายแพทย์​สุระ วิเศษศักดิ์​ อธิบดี​กรม​สนับสนุน​บริการ​สุขภาพ​ พร้อมด้วย นานแพทย์​ภานุวัฒน์​ ปานเกตุ  รองอธิบดี​กรม​สนับสนุน​บริการ​สุขภาพ​, นายแพทย์ไพศาลดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา, เภสัชกรวีระชัย นลวชัย รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ร่มกับ พ.ต.อ.ธรากร เลิศพรเจริญ รอง ผบก.ปคบ. แถลงผลการ การตรวจค้นคลินิกสหเวชหรูใจกลางเมืองกรุงเทพฯ 


     
หลังได้รับร้องเรียนว่า คลีนิคเวชกรรมในอาคารหรู  ย่านลุมพินี  เปิดรับรักษา​โรคสมาธิ​สั้น​ และชะลอวัย ให้กับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ โดยเฉพาะ​กลุ่มคนไข้ยุโรป เรียบด่วนค่ารักษาเป็นคอร์สคอร์สละ 2พันบาทถึง 2 ล้านบาท แต่ใช้ยาที่ไม่ได้ ประสิทธิภาพและ ไม่ได้ขึ้นทะเบียน​ตำรับยา ทั้งยาฉีดและยารับประทาน​ ขณะที่​อาหารเสริม​มีการผสมสารอันราย 
       
โดย เภสัชกรวีระชัย นลวชัย รองเลขาธิการ อย.ระบุว่า สำหรับอาหารเสริมขณะนี้ยังไม่ทราบว่าสารอันตรายที่ถูกระบุเป็นสารชนิดใดขณะนี้อยู่ระหว่างการทรงตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อทำการแยกสารและระบบศาลที่ใช้ในตัวอาหารเสริม ส่วนยาฉีดเชื่อว่าเป็นยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยาไว้และไม่มีคุณภาพซึ่งเชื่อว่ายากลุ่มนี้ผลิตขึ้นภายในประเทศไทยเองแต่ยังไม่ทราบสถานที่ผลิตแน่ชัดจึงอยู่ระหว่างการขยายผลเพื่อหาแหล่งที่มาและดำเนินการจับกุมตามกฎหมายต่อไป สำหรับคลินิกแห่งนี้ถือว่ากระทำผิดเข้าข่ายหลอกลวงผู้บริโภคหรือคนไข้เนื่องจากเป็นการอวดอ้างการรักษาซึ่งไม่สามารถรักษาได้จริงตามที่กล่าวอ้างโรคชะลอวัยและเพิ่มความแข็งแรง ที่บอกว่าสามารถรักษาได้ก็เป็นเพียงการฉีดวิตามินเข้าสู่ร่างกายเพื่อให้ร่างกายแข็งแรงขึ้นและดูศึกสดชื่นขึ้นเท่านั้น


       
ด้าน พ.ต.อ.ธรากร รอง ผบก.ปคบ.กล่าวว่า ผลการตรวจค้นคลินิกของตำรวจปคบ. สามารถตรวจยึดของกลางที่เกี่ยวข้องภายในคลินิก 252 รายการ มีมูลค่าสูงเกือบ 6 ล้านบาท อาทิ วิตามิน, อาหารเสริม​, ยาสำหรับ​รับประทานและ ยาฉีดบางชนิด ซึ่งยาที่ตรวจพบทั้ง ไม่ได้ขึ้นทะเบียน​ตำหรับ​ยาเลย  จากการตรวจสอบพบว่าคลินิกดังกล่าวมีการขออนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาลถูกต้องตามกฎหมายแต่กระทำผิดในด้านการใช้ยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยาซึ่งมีอัตราโทษตามพรบยาพ.ศ 2510 มาตรา 72 ( 4)​ฐานขายยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนสำหรับยาจกไม่เกิน 3 ปีหรือปรับไม่เกิน 5,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับและพ.ร.บอาหารพ.ศ 2522 มาตรา 6 ได้รับอนุญาต (10)​ฐานจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารที่ไม่แสดงฉลากที่ถูกต้องต้องระวังโทษปรับไม่เกิน 30,000 บาท
         
นอกจากนี้ตำรวจ ปคบ.ยังเข้าตรวจค้นโรงสีล้างโรงสีร้างในพื้นที่หลังได้รับรายงานว่ามีการลักลอบผลิตชิ้นส่วนซิลิโคนศัลยกรรม เสริมใบหน้าส่งให้กับคลินิกชื่อดัง ​ 32 สาขา ทั่วประเทศทั่วประเทศ
       
ซึ่งการตรวจค้นครั้งนี้เจ้าหน้าที่สามารถตรวจยึดซิลิโคน 68 แบบจำนวน 68 แบบ, ซิลิโคนหน้าผากและจมูก 1,098 ชิ้น มูลค่าความเสียหายรวมกว่า 3 ล้าน 5 แสนบาท จากนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ขยายผลเข้าตรวจค้นคลินิกชื่อดังจำนวน 6 จุดในพื้นที่กรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ซึ่งเป็น 6 สาขาที่มีผู้เข้าใช้บริการมากที่สุด จากการสอบสวนผู้ผลิตซิลิโคนรับสารภาพว่า ได้ผลิตชิ้นส่วนซิลิโคน ที่บริษัทเคมีเคมีคอลไทยแลนด์จำกัดสั่งทำ เมื่อทำเสร็จขึ้นมาก็จะถูกส่งไปยังสาขางามวงศ์วานและขอนแก่นจากนั้นจะถูกกระจายต่อไปยังสาขาอื่นๆอีกกว่า 30 สาขาเพื่อใช้ในการทำศัลยกรรมให้กับลูกค้า  โดยต้นทุนซิลิโคนชิ้นละประมาณ 60-80 บาทแต่เมื่อนำสู่การผ่าตัดทำศัลยกรรมให้กับลูกค้าจะมีราคาสูงถึง 4,900 บาทถึง 50,000 บาท  


       
ทั้งนี้ พ.ต.ท.สุพจน์ พุ่มแหยม รอง ผกก.4 บก.ปคบ.กล่าวว่าในช่วงปี 65 มีลูกค้าเข้าใช้บริการทำศัลยกรรมตกแต่งใบหน้ากับ 5 สาขา 1,621 ราย ซึ่งตำรวจจะเรียกตัวทั้งหมดมาทำการสอบสวน บ้าหลัง ผ่าตัดใส่ซิลิโคนดังกล่าวเข้าสู่ร่างกายแล้วร่างกายมีปฏิกิริยาอย่างไร 

ขณะที่ นายสุระ วิเศษศักดิ์ อธิบดีอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพกล่าวว่า จากการตรวจสอบคลินิกเสริมความงาม 32 แห่งมีการโฆษณาโดยไม่ได้รับอนุญาตในจำนวนนี้ มี 2 แห่งผู้ให้บริการไม่มีใบอนุญาตประกอบโรคศิลป์ รวมถึงให้บริการให้บริการที่ไม่ได้ขออนุญาต นอกจากนี้ยังพบว่าบางสาขามีการขยายห้องผ่าตัดโดยไม่ได้รับอนุญาตซึ่งมีความเสี่ยงไม่ได้รับการตรวจสอบจากทางกรมสนับสนุนและบริการสุขภาพจึงสุ่มเสี่ยงต่อความปลอดภัย นอกจากนี้ยังมีการนำเข้าสินค้าประเภทไหมร้อยหน้ามาจากต่างประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาตซึ่งมีความติดตามพรบ.ยา

สำหรับ คลินิกศัลยกรรมกรวินคลินิก มีทั้งขายเครื่องมือแพทย์ที่ไม่ได้รับอนุญาตตามพรบเครื่องมือแพทย์พ.ศ 2551 มาตรา 46/1 ต้องระวังโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปีหรือปรับไม่เกิน 2 แสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ, ร่วมกันขายเครื่องมือแพทย์ที่ไม่ปลอดภัยในการใช้ ตามพรบเครื่องมือแพทย์พ.ศ 2551 มาตรา 46 วงเล็บ 4 ต้องระวังโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปีปรับไม่เกิน 100,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ, ร่วมกันขายยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยาตามพรบยาพ.ศ 2510 มาตรา 74 ( 4)​ต้องระวังโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปีหรือปรับไม่เกิน 5,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ, 
ร่วมกันขายเครื่องสำอางที่แสดงฉลากไม่ถูกต้องตามพรบเครื่องสำอางพ.ศ 2558 มาตรา 32 ( 4)​ ต้องระวังโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือนหรือปรับไม่เกิน 10,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ และร่วมกันจำหน่ายอาหารที่ไม่แสดงสลัก ไม่ถูกต้องตามพรบอาหารมาตรา 6 (10)​ต้องระวังโทษปรับไม่เกิน 30,000 บาท