วันที่ 7 ม.ค.66 ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดชัยภูมิ ลงพื้นที่บ้านเลขที่ 434 หมู่ที่ 10 บ้านเล่า ตำบลบ้านเล่า อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ ได้พบกับ นางสาววิรัญญา ผาแดง อายุ 45 ปี พร้อมด้วยนายโสภณ สุวรรณรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ

โดยนางสาววิรัญญา ผาแดง กล่าวว่า เดิมทีตนมีอาชีพทำนา รายได้ไม่พอเลี้ยงชีพ จึงได้เดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อไปหางานและได้ทำงานเป็นสาวโรงงานที่กรุงเทพฯ อยู่ประมาณ 7 ปี พอมีเงินเก็บได้พอประมาณ ตนอยากจะกลับมาอยู่บ้านเกิดและอยากมีธุรกิจเป็นของตนเอง โดยได้เริ่มต้นจากการไปรับงานเย็บปักเสื้อผ้าจากโรงงานในกรุงเทพฯ เพื่อมาเย็บที่จังหวัดชัยภูมิ แล้วส่งให้โรงงานโดยในช่วงแรกก็ทำเพียง คนเดียว ต่อมาเริ่มหาเครือข่ายมาช่วยเย็บอยู่ที่บ้านของตน บางคนก็นำไปเย็บที่บ้าน ของเครือข่าย จนธุรกิจตัวนี้เริ่มโตขึ้นมาเรื่อยๆ  ต่อมาตนคิดต่อว่าถ้าจะให้ธุรกิจดีขึ้น ต้องหาแนวทางประชาสัมพันธ์ให้ธุรกิจของตนให้มีคนรู้จักกว้างขึ้น จะทำอย่างไรต่อจึงได้เกิดความคิดขึ้นโดยได้ตั้งสถานีวิทยุชุมชน ขึ้นเป็นของตนเอง และขายโฆษณาให้กับลูกค้าทั่วๆ ไป โดยมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการรับโฆษณาจากลูกค้า ต่อมาได้มีความคิดว่าอยากจะมีสินค้าทำของตนเอง เพื่อมาโฆษณาขายเองตนจึงได้ติดต่อโรงงานเพื่อผลิตสินค้าจำหน่ายเอง ผลออกมายอดขายสินค้าที่เป็นของตนเอง ขายได้ดี  เกินความคาดหมายเพราะดีขึ้นมากๆ  

หลังจากเก็บเงินได้พอสมควรจึงได้หาซื้อที่ดินเพื่อเก็บไว้ เป็นของตนเองอีก  ต่อมาเห็นพื้นที่ที่ดินที่ซื้อทิ้งไว้ของตนมีพวกวัชพืชหรือหญ้าขึ้นเต็มพื้นที่ไปหมด จึงเกิดความคิดว่าอยากจะหาสัตว์อะไรมาเลี้ยงดีที่มันกินหญ้าเป็นอาหาร โดยตนเองไม่ต้องจ้างคนงานมาตัดหญ้าที่เกิดขึ้น  ตน เห็นว่าสัตว์ที่มันกินหญ้าก็คือวัวมันกินหญ้า จึงได้ซื้อวัวมาเลี้ยง และเห็นว่ามีคนจำนวนมาก เขานิยมเลี้ยงวัวกันและถ้าตนเลิกเลี้ยงก็สามารถขายให้คนอื่นๆได้ มีราคาด้วย ไม่ว่าจะเป็นวัวไทยหรือนำวัวจากต่างประเทศมาเลี้ยงก็ได้ราคาดี  หลังจากที่เลี้ยงวัวได้ช่วงหนึ่ง ตนเองได้มีการขยายกิจการเพิ่มขึ้นโดยได้ซื้อวัวเพิ่มจนถึง ณ เวลานี้มีวัวอยู่ประมาณ  30 ตัวแต่ ณ เวลานี้ ตลาดวัวเริ่มราคาไม่ดี ตนจึงมีความคิดต่อยอดว่าเอาอะไรมาทำต่อเพื่อเพิ่มรายได้ จึงมองเห็นว่าน่าจะเป็น กระบือหรือ ควายไทย และมีเพื่อนชักชวนตน จึงเริ่มหาควายมาเลี้ยงตัวแรกได้ไปซื้อมาจากจังหวัดมหาสารคราม และก่อนจะซื้อตนได้ตะเวนหาหลายๆ ที่ แต่ก็ยังไม่ได้ตามที่ต้องการสักเท่าไร

และควายตัวแรกได้ซื้อมาในราคาตัวละ 8 แสนบาทควายตัวนี้อายุเพียงแค่ 8 เดือนกว่าเท่านั้น  และต้องหาซื้อเพิ่มเพื่อให้เขามีเพื่อน ก็เลยไปซื้อควายมาเพื่อเป็นเพื่อนตัวแรกโดยซื้อมาจากจังหวัดอุดรธานี ในราคา 360,000 บาท จากนั้นก็ทยอยซื้อมาเรื่อยๆ จนถึงเวลานี้มีประมาณ 35 ตัว ถ้าคิดมูลค่าในตอนนี้ก็อยู่ประมาณ 100 กว่าล้านบาท และระหว่างนี้ก็มีการขายไปบ้างบางส่วน ขายตัวละ 5 แสน บ้าง 8 แสนบ้าง รวมแล้วก็ได้มาหลายล้านบาทพอสมควร และมีอีก 2 ตัว ที่มีคนมาขอซื้ออีก เป็นควายเพศเมีย โดยขอซื้อในราคาตัวละ 8 ล้านบาทและอีกตัวราคา 15 ล้านบาท แต่ตนยังไม่ยอมขายเพราะมีความผูกพันธุ์ เหมือนสมาชิกในครอบครัวอีกชีวิตหนึ่ง จึงยังไม่ยอมขาย ถึงแม้จะเพิ่มราคาให้อีก มากกว่า 15 ล้านบาท  ตนเองก็ยังต้องคิดดูก่อนเพราะความผูกผันที่มีให้กัน จึงยังไม่สามารถที่จะขายให้ใครได้ในตอนนี้  

ด้านนาย โสภณ สุวรรณรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ หลังได้ลงพื้นที่ไปดูกระบือที่ฟาร์ม ได้กล่าวว่า ที่จังหวัดชัยภูมิ ในปีนี้ซึ่งเป็นปีแรกที่จังหวัดชัยภูมิ ได้มีการจัดมหกรรมประกวดควายงามเพื่ออนุรักษ์ควาย ครั้งที่ 1 ของจังหวัดชัยภูมิ โดยจะจัดขึ้นในวันที่ 15 มกราคม 2566 นี้ที่สถาบันวิทยาลัยการเกษตรและเทคโนโลยี ชัยภูมิ  มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาและปรับปรุงรวมถึงการอนุรักษ์ควายไทยในวันที่ 15 มกราคมนี้ ที่จะมีการจัดงานในครั้งนี้จะมีควายจากในพื้นที่ต่างๆ มาประมาณกว่า 400 กว่าตัว ที่จะเข้ามาประกวดในครั้งนี้  เพื่อที่จะประชาสัมพันธ์ให้กับพี่น้องโดยเฉพาะพี่น้องชาวจังหวัดชัยภูมิ ของเรา ซึ่งเราเป็นพื้นที่จัดงานในครั้งนี้ตรงกับวันที่ 15 มกราคม เป็นพื้นที่จัดงานเจ้าพ่อพญาแลพอดี ดังเพื่อที่จะเป็นการส่งเสริมสนับสนุนให้กับเกษตรกรของจังหวัดชัยภูมิของเราพี่น้องที่เลี้ยงควายพื้นเมืองเพื่อใช้งาน ได้มาดูและปรับปรุงสายพันธุ์ให้มีราคาที่สูงขึ้นทำให้เศรษฐกิจผู้เลี้ยงควายมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพราะ ณ เวลานี้ราคาควายไทยในปัจจุบันนี้เบาๆ ก็อยู่ในหลักล้านทั้งนั้นเลย  จึงอยากให้มาดู และโดยเฉพาะที่จังหวัดชัยภูมิของเรายังมีโรงเรียนควายไทยอยู่ที่อำเภอเนินสง่าด้วย ยังสามารถที่จะไปดูและศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับเรื่องของควายไทยได้ที่โรงเรียนควายไทยของจังหวัดชัยภูมิได้