วันที่ 6 ม.ค.65 รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Thira Woratanarat ระบุข้อความว่า... 

เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 403,401 คน ตายเพิ่ม 990 คน รวมแล้วติดไป 666,941,607 คน เสียชีวิตรวม 6,705,053 คน

5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน ฮ่องกง และสหรัฐอเมริกา

เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 8 ใน 10 อันดับแรก และ 16 ใน 20 อันดับแรกของโลก

จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 93.8 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 81.11

...อัพเดต Long COVID ในสหราชอาณาจักร

ล่าสุด Office for National Statistics ของสหราชอาณาจักร เปิดเผยผลการสำรวจจำนวนผู้ที่ประสบปัญหา Long COVID โดยทำการสำรวจจนถึง 4 ธันวาคม 2565 ที่ผ่่านมา

พบว่ามีคนที่กำลังประสบปัญหา Long COVID สูงราว 2.1 ล้านคน คิดเป็น 3.3% ของจำนวนประชากรทั้งหมด

ทั้งนี้ 191,000 คน (9%) มีประวัติติดเชื้อมาก่อน ภายใน 3 เดือนก่อน

1.9 ล้านคน (87%) ติดเชื้อมาก่อนหน้านี้ อย่างน้อย 3 เดือน

1.2 ล้านคน (57%) ติดเชื้อมาก่อนอย่างน้อย 1 ปี

และ 645,000 คน (30%) ติดเชื้อมาก่อนอย่างน้อย 2 ปี

ที่สำคัญคือ กว่าสามในสี่ (76%) รายงานว่าปัญหา Long COVID ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน

และมีถึง 389,000 คน หรือเกือบหนึ่งในห้า (18%) ที่รายงานว่า Long COVID ทำให้มีข้อจำกัดในการใช้ชีวิตอย่างมาก

อาการผิดปกติส่วนใหญ่ที่เจอคือ อาการอ่อนเพลีย/เหนื่อยล้า (71%), ไม่มีสมาธิ (49%), หอบเหนื่อย (47%), ปวดกล้ามเนื้อ (46%)

...สถานการณ์ไทยเรานั้น

หากประเมินตามธรรมชาติของการระบาดทั่วโลกที่เกิดสายพันธุ์ย่อยใหม่ๆ ขึ้นมา ทั้ง BQ.1.x, CH.1.1, XBB.x รวมถึงที่น่าเป็นห่วงคือ XBB.1.5 นั้น

ผนวกกับการเปิดเสรีการเดินทางท่องเที่ยวจากประเทศที่ระบาดหนัก

ณ ภาวะเช่นนี้

ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ว่าระลอกถัดไปจะมาหรือไม่? ตอบได้ว่ามาแน่นอน เพราะหน้าต่างเปิดทุกบาน

แต่ปัญหาคือ เมื่อใด? และจะเกิดผลกระทบหรือความสูญเสียมากน้อยเพียงใด? ต่างหาก

ถ้าการ์ดเปราะบาง และหลงไปกับกิเลส ภาพลวง ว่าระบบกรูแน่ ทั้งที่จริงแล้วไม่ใช่ เมื่อนั้นก็จะลำบากมากหากเผชิญวิกฤติ

นี่คือเหตุผลสำคัญที่เตือนเสมอ เตือนทุกวันว่า พฤติกรรมในการใช้ชีวิตประจำวันของแต่ละคนนั้นสำคัญที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง"การใส่หน้ากากอย่างถูกต้องสม่ำเสมอ"

ความใส่ใจสุขภาพ ใช้ชีวิตอย่างมีสติ รับผิดชอบทั้งต่อตัวเอง คนในครอบครัว และสังคม ก็จะช่วยลดความเสี่ยงลงไปได้