นายอัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก ระบุว่า “ล้ม เลิก” เพราะคำนึงถึงผลประโยชน์ประชาชนหรือผลปนทางการเมืองของตนเองและพวกพ้อง ?
ผู้ว่าฯ ชัชชาติ กล่าวถึง “การเดินเรือโดยสารพลังงานไฟฟ้า (Electric Vehicle EV) ในคลองผดุงกรุงเกษม เขตพระนคร” ว่า จะมีการพิจารณาว่าจะทำต่อไหม
1.ถ้าทำต่อจะคุ้มค่าไหม
2.หากจะทำต้องดูเรื่องความคุ้มทุนด้วย
3.เนื่องจากเป็นเงินภาษีของพี่น้องประชาชน
มาดูการขนส่งสาธารณะอื่นๆ
ข้อมูลเท่าที่ผมมีคือ
ขสมก.เริ่มต้นเดินรถเมื่อ 1 ตุลาคม 2519 โดยตลอดระยะเวลากว่า 43 ปี นับตั้งแต่ก่อตั้ง องค์กรนี้ขาดทุนสะสมทุกปี ยกเว้นปี 2535 ปีเดียวเท่านั้นที่มีกำไร 61 ล้านบาท
ในปี 2563 ขสมก. ขาดทุนเฉลี่ยถึงเดือนละ 360 ล้านบาท ที่น่าสนใจคือ 233 ล้านบาท หรือ 65% เป็นการจ่ายภาระดอกเบี้ย
ในปี 2563 ขสมก.มีหนี้สิน 127,786 ล้านบาท มีผลขาดทุนสะสมกว่า 9,000 ล้านบาท
ณ วันที่ 30 กันยายน 2564 มีการประเมินว่า หนี้สิ้นของ ขสมก.จะเพิ่มเป็น 127,786 ล้านบาท
จึงต้องเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ
รัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงมี 4 พี่น้อง ที่ต้องเข้าแผนฟื้นฟูกิจการ คือ การบินไทย ขสมก., การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และบริษัทขนส่ง จำกัด (บขส.)
โดยนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เผยเมื่อพฤศจิกายน 2564 ว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท. มีภาระการบริหารงานขาดทุนต่อเนื่องล่าสุดขาดทุน 1.6 แสนล้านบาท
นอกจากนี้รถเมล์ของ ขสมก.ส่วนใหญ่มีสภาพทรุดโทรม ต้นทุนบำรุงรักษาสูง ปล่อยควันพิษซึ่งทำลายสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน
คำถามคือ ขสมก. บขส. รฟท. ควรยกเลิกกิจการตามเรือไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ตามวิธีคิดและวิธีการบริหารกิจการสาธารณะของผู้ว่าฯชัชชาติด้วยหรือไม่
ท่านผู้ว่าฯ ได้พิจารณาถึงการเดินรถของ ขสมก.ในเรื่องความคุ้มค่า คุ้มทุนหรือไม่ เนื่องจากเป็นเงินภาษีของพี่น้องประชาชน
ตกลงปัญหาจริงๆ คือความคุ้มค่า คุ้มทุนและการคำนึงถึงเงินภาษีของพี่น้องประชาชน หรือการไม่เข้าใจปรัชญาของการบริหารกิจการสาธารณะ หรือเพราะการเมือง?
ล้ม เลิก ผลงานที่คนเก่า (ทั้งผู้ว่าฯอัศวินและนายกฯพลเอกประยุทธ์) ที่ทำไว้ เพื่อไม่ให้ได้ชื่อว่าเป็นผลงานของคนเก่าที่ได้ริเริ่มไว้หรือไม่ ?