วันที่ 30 ธ.ค. 65 นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา ให้สัมภาษณ์ถึงการวางแนวทางการทำงานของ ส.ว. ในปี2566 ว่า ก่อนจะครบวาระ 5 ปี ก็จะเหลือเวลาอยู่ปีเศษ ได้บอกกับสมาชิกว่าคงจะมีการเปลี่ยนคณะ ส.ส. ทั้ง 500 คนใหม่ และคงต้องทำงานร่วมกับส.ส.ทั้งหมด ซึ่งเรายังไม่รู้ว่าพรรคการเมืองใดจะได้คะแนนเสียงมาก และประธานรัฐสภาจะมาจากพรรคการเมืองใดเราก็ยังไม่ทราบแน่นอนก็คิดลำบาก แต่ว่าเราก็พร้อมให้ความร่วมมือ ประสบการณ์ที่ผ่านมา 3-4 ปี คิดว่าจะทำงานโดยประสานงานกับสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้ได้กฎหมายที่ดี ให้ได้ข้อยุติที่ดีจากญัตติต่างๆ ที่ทั้ง 2 สภาเสนอหรือประชุมร่วมกัน ถ้าเป็นกฎหมายส่วนใหญ่ก็เป็นไปตามขั้นตอนคือสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาก่อน แล้วจึงมาถึงวุฒิสภา ซึ่งจะเห็นได้ว่า ส.ว.มีส่วนในการแก้ไขและตกลงกันได้จนแทบทุกฉบับ เป็นระบบที่ตนคิดว่าประเทศไทยที่พัฒนาระบบกฎหมายมาจะได้กฎหมายที่ดีบังคับใช้กับประชาชนต่อไป แต่หากมีปัญหามากก็อาจจะไม่ผ่านและต้องยอมรับ 

เมื่อถามว่าที่ผ่านมาพอใจกับการทำงานหน้าที่ของสภาและตัวท่านเองหรือไม่ ประเมินอย่างไรบ้าง นายพรเพชร กล่าวว่า ประเมินว่าทำได้ดี อาจจะมีที่จะถูกวิจารณ์ว่าไม่ผ่านก็มีเฉพาะกฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีเรื่องที่ผ่านเพียงเรื่องระบบปาร์ตี้ลิสต์ การแก้กฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้งเท่านั้น นอกนั้นก็ไม่ผ่าน ก็เป็นเรื่องที่ต้องพัฒนากันต่อไป ตนก็ยอมรับว่าประชาชนหรือผู้ที่เห็นว่าไม่ผ่าน ต้นเหตุมาจากกฎหมายรัฐธรรมนูญที่ให้อำนาจ ส.ว. 1 ใน 3 แต่จริง ๆ แล้ว บางครั้งก็ไม่ใช่เกี่ยวกับเสียง ส.ว. 1ใน3 แต่เสียงส่วนใหญ่ไม่ให้เลย ไม่ว่าจะเป็นของ ส.ว.หรือเป็นของ ส.ส. 

ต่อข้อถามว่าที่กฎหมายไม่ผ่านเป็นเพราะ ส.ว.ที่มาจากการแต่งตั้งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) เรามีสิทธิ์ที่จะโหวตเองจริงๆ หรือไม่ นายพรเพชร กล่าวว่า ตนเป็นประธาน หลายคนเข้าใจว่าตนสามารถไปสั่งการอะไรได้ แต่ในความเป็นจริงไม่ใช่สมาชิกหรือท่านใดก็ตามเลือกตนมา ก็มองตนในแง่ที่มีประสบการณ์เรื่องนิติบัญญัติมาตั้งแต่สมัยตนยังเป็นหนุ่มๆ อยู่ซึ่งตนบรรจุที่สภา  ตั้งแต่สมัยนายมารุต บุนนาค นายชวน หลีกภัย เป็นรัฐมนตรีใหม่ ตนมาสภาแล้ว เขาก็ไว้วางใจตนที่จะทำงานด้านนี้ ส่วนการเป็นวิปตนก็ไม่ทราบว่าวิปของ ส.ว. จะมีแค่ไหนเพียงไร ก็คงได้เป็นกลุ่มๆ ถ้าเห็นด้วยกันก็ไปทางเดียวกัน แต่ตนมั่นใจว่าไม่เป็นทางเดียวกันไปตลอด 

ประธานวุฒิสภา ยังกล่าวถึงการปฏิรูประเทศที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ไม่มีความคืบหน้าว่า เราก็ต้องยอมรับว่ากฎหมายเกี่ยวกับการปฏิรูปประเทศก็มีบางส่วนที่ผ่านไปแล้ว เช่น เรื่องตำรวจ ซึ่งเท่าที่ตนฟังดูก็ยังไม่เป็นที่พอใจ แต่ก็ผ่านไปตอนนี้เรื่องของการศึกษาจะเข้าวันที่ 10-11 ม.ค.66 นี้ รู้สึกว่าขนาดร่างมาก็ยังไม่ค่อยพอใจกัน แต่ถ้าเป็นเรื่องที่สั้นหน่อยก็ผ่านไป เช่น เรื่องกฎหมายเกี่ยวกับการซ้อมทรมาน แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงบ้าง เราทราบดีว่าทางสภาผู้แทนราษฎรให้ความเห็นใจกับประชาชนเป็นหลัก ซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกต้อง แต่ทาง ส.ว.ก็ได้พิจารณาดูว่าบางเรื่องต้องเข้าใจเจ้าหน้าที่ ๆ เขาจะต้องมีอำนาจบางอย่าง แต่จะใช้อำนาจเกินเลยไม่ได้ นอกจากนั้นกฎหมายเรื่องการทำแท้งอะไรต่างๆ ก็ผ่านไปได้ด้วยดี และยังมีกฎหมายคุ้มครองการล่วงละเมิดทางเพศ ซึ่งบางเรื่องก็พิจารณาร่วมกัน บางเรื่องก็พิจารณาตามขั้นตอน

เมื่อถามถึงการปฏิรูปประเทศจะไปอย่างไรต่อ และ ส.ว.จะพิจารณาบทบาทของตัวเองต่อไปอย่างไร นายพรเพชรกล่าวว่า พล.อ.สิงห์ศึก สิงห์ไพร รองประธานวุฒิสภา เคร่งครัดมาก การที่จะให้เป็นไปตามแผนปฏิรูปประเทศที่กำหนดไว้ทั้งในรัฐธรรมนูญและกฎหมาย มี 2 ส่วน คือ ทางกฎหมายก็ทำ แต่ยังไม่เป็นที่พอใจอย่างที่ตนได้บอกแล้วและในส่วนที่เขาต้องดำเนินการโดยไม่ต้องใช้กฎหมายก็มีเยอะ ซึ่งเป็นส่วนที่ยาก หน่วยราชการต่างๆ อาจจะไม่คุ้นเคยกับสิ่งนี้คิดว่าเป็นการชี้แจงธรรมดา ตามที่มีการชี้แจงกันในทุกปี แต่เรื่องนี้ทาง ส.ว.ให้ความสำคัญมาก 

“เท่าที่ผมดู ส.ว.บางส่วนมาจากสภาปฏิรูปประเทศ เขาก็เข้มแข็งและพยายามที่จะดูแลสิ่งเหล่านี้ และคิดว่าจะต้องดำเนินการต่อไป ถึงแม้ว่าเป็นช่วงปิดสมัยประชุม หรือรอชุดใหม่มา ตนบอกสมาชิกแล้วว่าเราต้องทำงานต่อ แม้งานด้านนิติบัญญัติจะทำยังไม่ได้ หรือสภายังไม่มี เว้นแต่จะเป็นเรื่องที่สำคัญจริงๆ ที่สามารถจะให้มีการเปิดสภาได้ตามลำดับขั้นตอน แต่ก็ยาก ดังนั้นจึงต้องไปเน้นในเรื่องการปฏิบัติ เช่น ปฏิบัติต่อหน่วยราชการต่างๆ รับฟังความคิดเห็นของประชาชน แต่ถ้าเกิดเขาออกหาเสียงกันเราก็คงต้องหยุดก่อน  ถ้าเรียบร้อยแล้วเราค่อยออกไปหาประชาชนต่อ” นายพรเพชร กล่าว

เมื่อถามถึง การปฏิรูปประเทศที่ทางวุฒิสภาต้องดำเนินการแต่ถูกวิจารณ์ว่ายังไม่ไปถึงไหน นายพรเพชร กล่าวว่า ในส่วนนี้เราก็ต้องยอมรับว่ากฎหมายเกี่ยวกับการปฏิรูปประเทศมีบางส่วนที่ได้ผ่านไปบ้างแล้ว เช่นเรื่อง การปฏิรูปด้านตำรวจ แต่เท่าที่ตนทราบยังไม่เป็นที่พอใจ ส่วนเรื่องพ.ร.บ.การศึกษา ที่จะเข้าที่ประชุมร่วมรัฐสภาในวันที่ 10-11 ม.ค. 66 นั้น รู้สึกว่าขณะร่างมาก็ยังไม่พอใจ แต่ถ้าเป็นเรื่องที่สั้นหน่อยก็ผ่านไปได้ เช่น กฎหมายที่เกี่ยวกับการซ้อมทรมาน ซึ่งความจริงกฎหมายฉบับนี้เริ่มต้นจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ซึ่งตอนนี้พยายามที่จะทำให้เสร็จ แต่เป็นที่ทราบกันดีว่ากฎหมายนี้กระทบกับการกระทำกับเจ้าหน้าที่ ซึ่งสมัยสนช.จึงต้องระวัง แต่เมื่อเอามาเข้าที่ประชุมร่วมรัฐสภา ก็ไปด้วยกันได้ราบลื่น แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงบ้าง เราก็ทราบดีว่าทางสภาฯต้องยึดประชาชนเป็นหลัก ซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกต้อง แต่วุฒิสภาก็ต้องพิจารณาด้วยว่าบางเรื่องต้องเข้าใจเจ้าหน้าที่ ที่ต้องมีอำนาจบางอย่างแต่ถ้าอำนาจเกินเลยเราก็ต้องดูเพื่อไม่ให้อำนาจเกินไป รวมถึงกฎหมายทำแท้งก็ผ่านไปได้ด้วยดี 

เมื่อถามว่า ใกล้ครบ 5  ปีอายุของส.ว.แล้ว การติดตามเรื่องการปฏิรูปจะไปทางไหน เพราะมีการมองว่าส.ว.ไม่มีบทบาทเต็มที่เรื่องการปฏิรูป นายพรเพชร กล่าวว่า เรื่องนี้พล.อ.สิงห์ศึก สิงห์ไพร รองประธานวุฒิสภา คนที่หนึ่ง เคร่งครัดมาก ในการที่จะให้เป็นไปตามแผนปฏิรูปประเทศที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ และในกฎหมาย ซึ่งในส่วนของกฎหมาย ยังไม่เป็นที่พอใจแต่ในส่วนที่ต้องดำเนินการโดยไม่ต้องใช้กฎหมายก็มีเยอะ ซึ่งส่วนนี้เป็นส่วนที่ยากแต่ก็ได้มีการเชิญมาซักถาม ทำไปถึงไหน เป็นอย่างไร ทำไมไม่ทำ ซึ่งเรายังมีเวลาในการดูสิ่งเหล่านี้เพื่อให้ประสบผลสำเร็จ อาจจะไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ต้องได้ผลประโยชน์ตามที่รัฐธรรมนูญเขียนไว้ ซึ่งในรัฐบาลคสช.ตั้งใจที่จะให้มีสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น จึงได้เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญ และเมื่อเป็นความตั้งใจ ตนเข้าใจว่าองค์กรหรือหน่วยราชการต่างๆ อาจจะไม่คุ้นเคยกับสิ่งเหล่านี้ คิดว่าเป็นเรื่องธรรมดา ตามที่มีการชี้แจงทุกปีตลอดมา 

“เรื่องนี้วุฒิสภาให้ความสำคัญมาก และเท่าที่ผมดูสมาชิกวุฒิสภาบางส่วนมาจากสภาปฏิรูปประเทศ (สปท.) เขาก็เข้มแข็งและพยายามที่จะดูสิ่งเหล่านี้ และคิดว่าก็คงต้องดำเนินการต่อไป ถึงแม้จะเป็นช่วงปิดสมัยประชุม และรอรัฐบาลชุดใหม่มา ผมก็บอกกับสมาชิกว่าเราต้องทำงานต่อ แม้ว่างานด้านนิติบัญญัติจะยังทำไม่ได้ เพราะสภายังไม่มี แต่หากมีเรื่องที่สำคัญจริงๆ ก็สามารถให้มีการเปิดสภาได้ในบางขั้นตอน แต่ก็ยาก จึงต้องไปเน้นในเรื่องของการปฏิบัติ เช่น ปฏิบัติต่อหน่วยราชการต่างๆ รับฟังความคิดเห็นของประชาชน  ซึ่งต้องอยู่ในขอบเขตจำกัด และต้องหยุดไปก่อนเพราะพรรคการเมืองต่างๆเขาหาเสียงกัน และเมื่อได้สภาใหม่เราค่อยดำเนินการไปหาประชาชนต่อ“ นายพรเพชร กล่าว 

เมื่อถามต่อว่า พอใจกับผลงานของวุฒิสภาตลอดปี 65 รวมถึงการทำงานของตัวเองประธานวุฒิสภาเอง นายพรเพชร กล่าวว่า  ตนประเมินว่าทำได้ดี อาจจะมีที่จะถูกวิจารณ์ว่าไม่ผ่านมีเฉพาะกฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งผ่านไปเพียงเรื่องระบบเลือกตั้ง จึงเป็นเรื่องที่ต้องพัฒนากันต่อไป ซึ่งตนก็ยอมรับว่าประชาชนหรือผู้ที่เห็นว่ากฎหมายที่ไม่ผ่านเป็นต้นเหตุมาจากรัฐธรรมนูญที่ให้อำนาจส.ว. 1 ใน 3 จริงๆ แล้วบางครั้งที่กฎหมายไม่ผ่าน ก็ไม่ได้เกี่ยวกับเสียงของส.ว. 1 ใน 3 เพราะบางครั้งเสียงส.ว.ก็ไม่ให้ผ่านเลย 

เมื่อถามว่า เสียงส.ว.ที่ไม่ให้กฎหมายผ่าน เป็นเพราะส.ว. มาจากการแต่งตั้งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) หรือไม่ นายพรเพชร กล่าวว่า ตั้งแต่ตนมาเป็นประธานวุฒิสภา หลายคนเข้าใจว่าตนสามารถสั่งการได้ แต่จริงๆแล้วไม่ใช่ สมาชิกเลือกตนมาในแง่ที่ตนมีประสบการณ์ในเรื่องนิติบัญญัติ ตั้งแต่สมัยอายุยังน้อย เขาก็ไว้วางใจให้ตนทำงานด้านนี้ ส่วนการเป็นวิปวุฒิสภา ตนไม่ทราบว่าวิปวุฒิสภามีแค่ไหนเพียงใด คงวิปได้เป็นกลุ่มๆเพราะถ้าเห็นด้วยกันก็คงจะไปในแนวทางเดียวกัน แต่ตนมั่นใจว่าส.ว.ไม่ไปทางเดียวกันตลอด