แผนปรับปรุงโครงข่ายระบบชลประทาน พื้นที่ฝั่งตะวันตก-ฝั่งตะวันออก ของลุ่มน้ำเจ้าพระยา อุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา เป็นปัญหาใหญ่ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง และเพิ่มความรุนแรงมากขึ้น ดังที่เกิดในปี 2518 2526 2538 2545 2549 2553 2554 และมีแนวโน้มจะมีปริมาณน้ำหลากมากขึ้นในอนาคต ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประเทศในวงกว้างหลายภาคส่วน สาเหตุหนึ่ง เนื่องมาจากมีฝนตกบริเวณพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยาใหญ่ ในปริมาณมากในเวลาอันสั้นและต่อเนื่อง จนเกินกว่าขีดความสามารถในการระบายน้ำของลำน้ำเจ้าพระยาและลำน้ำสายอื่น ตลอดจนช่องทางการระบายน้ำต่างๆ ส่งผลให้ปริมาณน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนบนทั้งหมดไม่สามารถระบายน้ำลงลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างและอ่าวไทยได้ทัน จึงเกิดความเสียหายแก่พื้นที่ชุมชน พท้นที่การเกษตร พื้นที่อุตสาหกรรม ตลอดจนชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน โดยเฉพาะเหตุน้ำท่วมใหญ่เมื่อปี 2554 ที่กระทบต่อพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยามากถึง 18 จังหวัด ที่ผ่านมา กรมชลประทานบริหารจัดการน้ำหลาก โดยการระบายผ่านแม่น้ำและคลองชลประทาน ทั้งทางฝั่งตะวันตกและทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาลงสู่อ่าวไทย ซึ่งปัจจุบันประสิทธิภาพของการระบายน้ำลดลงไม่เต็มศักยภาพและความไม่ต่อเนื่องของคลองต่างๆ ก็เป็นอุปสรรคสำคัญต่อการระบายน้ำลงสู่ทะเล รวมถึงการออกแบบคลองหลายคลองเป็นคลองส่งน้ำ จึงมีขนาดที่จำกัดต่อการระบายน้ำ ขณะเดียวกัน ลุ่มน้ำเจ้าพระยาเป็นพื้นที่ชอลประทานที่สำคัญ เพราะเป็นแหล่งเพาะปลูกขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศ โดยเฉพาะข้าว การปรับปรุงโครงข่ายระบบชลประทาน จึงช่วยให้การบริหารจัดการน้ำมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งเพื่อการชลประทาน และการบรรเทาอุทกภัย การปรับปรุงโครงข่ายระบบชลประทาน ฝั่งตะวันตกของลุ่มน้ำเจ้าพระยา การศึกษาปรับปรุงโครงข่ายระบบชลประทานฝั่งตะวันตกแม่น้ำเจ้าพระยา ประกอบด้วยพื้นที่ 2 โครงข่าย ดังนี้ 1. โครงข่ายระบบชลประทาน ในพื้นที่เจ้าพระยาฝั่งตะวันตก (ตอนบน) เหนือคลองเจ้าเจ็ด-บางยี่หน 2. โครงข่ายระบบชลประทาน ในพื้นที่เจ้าพระยาฝั่งตะวันตก (ตอนล่าง) เหนือคลองเจ้าเจ็ด-บางยี่หน โครงข่ายระบบชลประทาน ในพื้นที่เจ้าพระยาฝั่งตะวันตก (ตอนบน) เหนือคลองเจ้าเจ็ด-บางยี่หน ลักษณะโครงการ เป็นพื้นที่ชลประทานที่มีทั้งคลองส่งน้ำและคลองระบายน้ำเต็มรูปแบบ โดยส่งน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา เหนือเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท เข้าทางแม่น้ำสุพรรณบุรี (แม่น้ำท่าจีน) ผ่านทางประตูระบายน้ำพลเทพ และเข้าทางแม่น้ำน้อย ผ่านทางประตูระบายน้ำบรมธาตุ สภาพปัญหาด้านการส่งน้ำและการระบายน้ำค่อนข้างน้อย เมื่อเทียบกับพื้นที่ตอนล่าง เรื่องจากเป็นพื้นที่ตอนบนอยู่ต้นน้ำ และความลาดชันของคลองมากกว่า แต่อาจต้องปรับปรุงและก่อสร้างอาคารบังคับน้ำในคลองเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งน้ำและการระบายน้ำให้ดีขึ้น โดยใช้คลองชลประทานและคลองธรรมชาติในแนว เหนือ-ใต้ ในเบื้องต้น 37 คลอง เป็นโครงข่ายหลักในการระบายน้ำ โครงข่ายระบบชลประทาน ในพื้นที่เจ้าพระยาฝั่งตะวันตก (ตอนล่าง) เหนือคลองเจ้าเจ็ด-บางยี่หน ลักษณะโครงการ ตั้งแต่ได้คลองเจ้าเจ้ด-บางยี่หน จนไปถึงคลองมหาสวัสดิ์ ได้แก่ พื้นที่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเจ้าเจ้ด-บางยี่หน โครงการฯพระยาบรรลือ และ โครงการฯพระพิมล ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรม รับน้ำจากพื้นที่ตอนลนร่วมกันจากแม่น้ำท่าจีน โดยคลองในระบบโครงข่ายส่วนใหญ่มีศักยภาพในการส่งน้ำ แต่มีปัญหาในการระบายน้ำ เนื่องจากอาคารบังคับน้ำในคลองระบบโครงข่ายมีขนาดเล้กเมื่อเทียบกับขนาดคลอง จุดที่สำคัญ คือ พื้นที่ใต้คลองมหาสวัสดิ์ลงมใจนถึงทะเล ได้แก่ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาภาษีเจริญ ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ที่อยู่อาศัยและโรงงงานอุตสาหกรรม สภาพปัญหา ได้แก่ คลองเดิมมีปริมาณน้อย มีปัญหาการรุกล้ำเขตคลอง ความลบาดชันของคลองมีน้อยเมื่อเทียบกับด้านบน ทำให้การระบายน้ำจากคลองมหาสวัสดิ์ลงมาถึงคลองภาษีเจริญ และแก้มลิงคลองมหาชัย-คลองสนามชัย เป็นไปด้วยความยากลำบาก เป็นเหตุให้น้ำท่วมพื้นที่เจ้าพระยาฝั่งตะวันตก (ตอนล่าง) อย่างหนัก จึงต้องหาทางแก้ไขปลดล็อกจุดนี้ ทั้งนี้ บริเวณใต้คลองมหาสวัสด์ลง จะเป็นพื้นที่การดูแลของ 2 หน่วยงานหลัก คือกรมชลประทาน กับ กรุงเทพมหานคร (กทม.) ซึ่งต่างมีโครงการปรับปรุงโครงข่ายการระบายน้ำเช่นกัน พื้นที่ในความรับผิดชอบของ กทม. กทม.วางแผนก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำ 2 แห่ง ได้แก่ 1. อุโมงค์ระบายน้ำคลองทวีวัฒนา ปกติคลองทวีวัฒนาเป็นคลองหลักในการระบายน้ำจากคลองมหาสวัสดิ์ ลงมายังคลองภาษีเจริญ ติดขัดว่าปลายคลองแคบเป็นคอขวดบริเวณตัดกับถนนเพชรเกษม กทม.จึงวางแผนก่อสร้างอุโมงค์ผันน้ำส่วนปลายลงคลองภาษีเจริญ ระยะทาง 2 กิโลเมตร โดยมีอัตราการระบายน้ำ 32 ลบ.ม./วินาที 2. อุโมงค์ระบายน้ำคลองพระยาราชมนตรี โดยแนวอุงโมงค์วางใต้คลองพระยาราชมนตรี รับน้ำจากคลองภาษีเจริญลงสู่แก้มลิงคลองมหาชัย-คลองสนามชัย ระยะทาง 8.95 กิโลเมตร โดยกำหนดอัตราระบายน้ำในอุโมงค์ระบายน้ำ 48 ลบ.ม./วินาที ซึ่งช่วยตัดยอดน้ำในคลองภาษีเจริญที่จะไปลงแม่น้ำท่าจีน และระบายน้ำลงสู่เบื้องล่างได้เร็วขึ้น พื้นที่ในความรับผิดชอบของกรมชลประทาน ปกติในพื้นที่ส่วนนี้มีคลองหลัก 3 คลอง ที่รับน้ำจากคลองมหาสวัสดิ์ ได้แก่ คลองสุคต คลองบางเตย และคลองสามบาท ซึ่งปลายทางไหลไปลงแม่น้ำท่าจีนโดยผ่านสถานีสูบน้ำที่มีอยุ่เดิม แนวทางการแก้ไขปัญหา มีดังนี้ 1. ขยายขีดความสามารถของคลองสามบาท จากเดิมรับน้ำจากคลองมหาสวัสดิ์ 6 ลบ.ม./วินาที เพิ่มเป็น 36 ลบ.ม./วินาที โดยส่วนที่เพิ่ม 30 ลบ.ม./วินาที นั้น ผันไปลงคลองขุดใหม่บริเวณเกาะกลางถนนพุทธมณฑลสาย 5 ทั้งนี้ กรมทางหลวงชนบทได้เตรียมการล่วงหน้า โดยได้กันพื้นที่เกาะกลางถนนสำหรับขุดเป็นคลองระบายน้ำ รองรับอัตราการระบาย 30 ลบ.ม./วินาที จากนั้นจะส่งผ่านคลองรับน้ำ ประกอบด้วย คลองฉาง-คลองอ้อมน้อย-คลองแนวลิขิต เพื่อรับน้ำไปลงคลองภาษีเจริญในอัตรา 30 ลบ.ม./วินาที 2. จากคลองภาษีเจริญ ยังมีการเพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายระบบชลประทานเพื่อการระบายน้ำด้วยคลองแคลาย คลองสี่วาตากล่อม (คลองบางน้ำจืด) เพื่อระบายน้ำลงแก้มลิงคลองมหาชัย-คลองสนามชัย โดยในส่วนบริเวณใต้คลองบางน้ำจืดจะก่อสร้างเป็น อุโมงค์ระบายน้ำ รับน้ำได้ประมาณ 50 ลบ.ม./วินาที เช่นกัน รวมทั้งการปรับปรุงคลองเดิมที่เชื่อมต่อจากแก้มลิง ฯ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำลงสู่คลองพิทยาลงกรณ์ และทะเลต่อไป ขณะเดียวกัน จะพิจารณาปรับปรุงคันควบคุมน้ำทะเลของโครงการแก้มลิงคลองมหาชัย-คลองสนามชัย ระยะทาง 42 กิโลเมตร เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพการใช้ที่ดิน ประกอบกับการทรุดตัวของแนวคันกันน้ำ จึงต้องปรับปรุงใหม่ ทั้งคันกันและอาคารประกอบ 3. ก่อสร้างสถานีสูบน้ำปลายคลองแสมดำ บริเวณก่อนบรรจบคลองทิพยาลงกรณ์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำจากพื้นที่แก้มลิงคลองมหาชัย-คลองสนามชัยลงสู่ทะเลโดยตรง อัตราการระบาย 60 ลบ.ม./วินที การปรับปรุงโครงข่ายระบบชลประทาน เพื่อเร่งระบายน้ำจากคลองมหาสวัสดิ์ เข้าสู่คลองภาษีเจริญ และแก้มลิงคลองมหาชัย-คลองสนามชัย ซึ่งมีศักยภาพและมีความพร้อมใรการระบายน้ำลงสู่ทะเลสูง ทั้งโครงการของกรมชลประทาน และ กทม. เท่ากับเป็นการใช้แก้มลิงคลองมหาชัย-คลองสนามชัยให้เต็มศักยภาพ ขณะเดียวกันลดภาระของแม่น้ำท่าจีนที่มีความคดเคี้ยวมาก ทำให้ระบายรน้ำได้ช้า แถมยังมีปัญหาน้ำทะเลหนุนในบางช่วงอีกด้วย ด้าน ดร.สมเกียรคิ ประจำวงษ์ รองอธิบดีฝ่ายวิชาการ กรมชลประทาน กล่าวว่า กรมชลประทานพยายามแก้ไขปัญหานี้มาโดยตลอด แต่พื้นที่ลุ่มเจ้าพระยาตอนล่าง ไม่ว่าฝั่งตะวันตกหรือฝั่งตะวันออก มีการใช้ประโยชน์มากมาย และปรับเปลี่ยนการใช้จากที่นามาเป็นชุมชน โรงงานอุตสาหกรรม หรือทั้งการรุกล้ำ ซึ่งล้วนเป็นสิ่งกัดขวางทางน้ำโดยปริยาย การศึกษาปรับปรุงประสิทธิภาพโครงข่ายระบบชลประทาน ครอบคลุมพื้นที่หลายจังหวัด จุดที่ถือเป็นหัวใจในการแก้ไขปัญหา พอสรุปดังนี้ 1.ฝั่งตะวันตก ได้แก่การระบายน้ำใต้คลองมหาสวัสดิ์ลงไปคลองภาษีเจริญ และแก้มลิงคลองมหาชัย-คลองสนามชัย ซึ่งจะทะลุไปลงทะเลที่ จ.สมุทรสาคร 2.ฝั่งตะวันออก ได้แก่การระบายน้ำเหนือเขื่อนพระรามหกไปออกคลองระพีพัฒน์ และกระจายตามโครงข่ายระบบชลประทานไปออกแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำนครนายก แม่น้ำบางปะกง และทะเลอ่าวไทย พื้นที่ใต้คลองมหาสวัสดิ์ลงไปนั้น มีจำนวนคลองน้อย ขนาดความจุคลองเล็ก น้ำที่ทะลักจากพื้นที่เหนือคลองมหาสวัสดิ์ เช่น คลองเจ้าเจ็ด-บางยี่หน คลองพระยาบรรลือ คลองพระพิมล และ ฯลฯ จึงต้องระบายออกไปทางแม่น้ำท่าจีน หรือแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งรับภาระหนักอยู่แล้วในช่วงฤดูน้ำหลาก ทางออกทำได้ โดยการขุดอุโมงค์ระบายน้ำ 3 จุด 1.อุโมงค์ระบายน้ำคลองทวีวัฒนา บริเวณคอขวดช่วงถนนเพชรเกษม-คลองภาษีเจริญ เพื่อระบายน้ำจากคลองทวีวัฒนาลงสู่คลองภาษีเจริญ อัตราระบายน้ำในคลองและอุโมงค์รวม 32 ลูกบาศก์เมตร/วินาที 2.อุโมงค์ระบายน้ำคลองพระยาราชมนตรี โดยวางแนวอุโมงค์ใต้คลองพระยาราชมนตรี รับน้ำจากคลองภาษีเจริญไปลงแก้มลิงคลองมหาชัย-คลองสนามชัย ระยะทาง 8.95 กม. อัตราระบายน้ำในอุโมงค์ระบายน้ำ 48 ลบ.ม./วินาที 3.อุโมงค์ระบายน้ำคลองบางน้ำจืด แนวอุโมงค์วางใต้คลองบางน้ำจืด รับน้ำจากคลองภาษีเจริญ บริเวณวัดหนองแขม ลงแก้มลิงคลองมหาชัยฯ มีอัตราระบายรวมทั้งคลองและอุโมงค์ 65 ลบ.ม./วินาที ขณะเดียวกัน วางแผนขยายขีดความสามารถรับน้ำจากคลองมหาสวัสดิ์ผ่านคลองสามบาท จาก 6 ลบ.ม./วินาที เป็น 36 ลบ.ม./วินาที ส่วนที่เพิ่ม 30 ลบ.ม./วินาที ให้ผันลงคลองใต้เกาะกลางถนนพุทธมณฑลสาย 5 ทั้งหมด เพื่อไปออกคลองฉาง-คลองอ้อมแขม และคลองปทุม-คลองศรีสำราญ เพื่อรับน้ำลงคลองภาษีเจริญ 30 ลบ.ม./วินาที เช่นเดียวกัน มีการปรับปรุงคันกั้นน้ำทะเล แนวเดิมของโครงการแก้มลิงคลองมหาชัยฯ ความยาว 42 กิโลเมตร เพื่อเก็บกักน้ำและระบายน้ำ ซึ่งมีการชำรุด รวมทั้งปรับปรุงอาคารบังคับน้ำตามแนวคันกั้นน้ำ ไม่เพียงเท่านั้น ยังต้องเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำของแม่น้ำท่าจีน ซึ่งเป็นหนึ่งในสายหลักที่ใช้ระบายน้ำ โดยเฉพาะท่าจีนตอนล่าง จาก อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี จนถึงทะเล โดยการปรับปรุง/ขุดลอกสันดอนแม่น้ำ ระยะทาง 105 กม. และขุดลอกใต้อาคารในแม่น้ำท่าจีน รวมทั้งปรับปรุงอาคารในแม่น้ำท่าจีน เช่น สะพานรถยนต์ 24 แห่ง สะพานรถไฟ 1 แห่ง นอกจากนั้น ยังปรับปรุงช่องลัดเดิมในแม่น้ำท่าจีน 4 แห่ง ได้แก่ ช่องลัดงิ้วราย ช่องลัดอีแท่น ช่องลัดท่าคา และช่องลัดบางม่วง รวมทั้งปรับปรุงอาคารในช่องลัดด้วย แผนการข้างบนนี้ จะช่วยให้การระบายน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตกตอนล่างทำได้ดีขึ้น ลดภาระแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำท่าจีน โดยใช้แก้มลิงคลองมหาชัยฯ ให้เกิดประโยชน์เต็มศักยภาพ ส่วนการเพิ่มประสิทธิภาพ โครงข่ายระบบชลประทานลุ่มน้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกก็มีความคล้ายกัน คือประสบปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ตอนล่างตั้งแต่บริเวณเขื่อนพระรามหก ซึ่งรับน้ำจากแม่น้ำป่าสัก ผันเข้าคลองระพีพัฒน์ลงไปถึงทะเล โดยเพิ่มขีดความสามารถรับน้ำของคลองระพีพัฒน์ จากเดิม 250 ลบ.ม./วินาที เป็น 400 ลบ.ม./วินาที ทั้งนี้ ผันไปลงแม่น้ำเจ้าพระยา 100 ลบ.ม./วินาที และผันลง แม่น้ำนครนายก และแม่น้ำบางปะกง รวม 156 ลบ.ม./วินาที ส่วนที่เหลือ 144 ลบ.ม./วินาที ระบายลงสู่คลองชายทะเลเพื่อสูบน้ำออกทะเลต่อไป ในแต่ละช่วงก็มีการปรับปรุง ขุดลอกคลอง รวมทั้งอาคารบังคับน้ำ เช่น ปตร. ท่อระบาย และฯลฯ เพื่อให้การระบายน้ำเป็นไปตามที่กำหนด รวมทั้งการปรับปรุงประสิทธิภาพการระบายน้ำในที่ลุ่มต่ำบริเวณสนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งครอบคลุมพื้นที่นอกคันกั้นน้ำตามพระราชดำริ ทั้งหลายทั้งปวงนี้ เป็นเรื่องจำเป็นและสำคัญต่อความเป็นอยู่ของคนในลุ่มน้ำเจ้าพระยาที่ต้องเผชิญปัญหาเรื่องน้ำ ทั้งน้ำท่วมและน้ำขาดแคลน หากแก้ไขได้ในระดับหนึ่ง ก็เท่ากับเพิ่มคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นโดยไม่ห่วงหน้า พะวงหลัง กับปัญหาน้ำ ทีมข่าวออนไลน์