ปีนี้เป็นปีที่ 5 ที่ประเทศไทยเข้าร่วมงานมหกรรมการแสดงสินค้านำเข้านานาชาติจีนครั้งที่ 5 ดร.ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร รองประธานหอการค้าไทยในจีน อดีตอัครราชทูตฝ่ายพาณิชย์ สถานเอกอัครราชทูตไทยประจำสาธารณะรัฐประชาชนจีนกล่าวว่า ไทยจะถืองานมหกรรมฯ เป็นโอกาสสำคัญในการส่งเสริมการค้าต่างประเทศ เมื่อปี 2018 ไทยได้เข้าร่วมงานมหกรรมฯครั้งแรก หอการค้าไทยในจีนก็ได้จัดให้วิสาหกิจไทยเข้าร่วมงาน แสดงสินค้าไทยแก่ผู้บริโภคชาวจีน หลายปีมานี้ ทุเรียน มะม่วง ข้าวหอมมะลิและสินค้าไทยอื่นๆ ได้รับความนิยมในงานมหกรรมฯ เพื่อขยายบทบาทจากงานมหกรรมฯ หอการค้าไทยในจีนสมัครเข้าร่วมแพลตฟอร์มบริการการค้า “6 วัน + 365 วัน” ของงานมหกรรมฯ เพื่อแสดงสินค้าไทยตลอดทั้งปี

นางสาวลดา ภู่มาศ กงสุลใหญ่ ณ นครเซี่ยงไฮ้ กล่าวว่างานมหกรรมการแสดงสินค้านำเข้านานาชาติจีนครั้งที่ 5 ในครั้งนี้มีความสำคัญยิ่ง เนื่องจากเป็นงานใหญ่ระดับสากลครั้งแรกหลังจีนจัดการประชุมผู้แทนพรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งที่ 20 ซึ่งเป็นเวทีสำคัญที่จะแสดงให้เห็นถึงความทันสมัยแบบจีนและการพัฒนาของจีนที่มีคุณภาพสูง เป็นโอกาสอันดีที่จะให้นักลงทุนต่างชาติ หุ้นส่วนความร่วมมือและวิสาหกิจต่างชาติเข้าสู่ตลาดจีน กระชับความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างจีนกับโลก

 

“ปีนี้ เราได้นำพลอยพาราอิบา (Paraiba) ตระกูลทัวร์มาลีนเม็ดหนึ่งซึ่งมีน้ำหนักมากถึง 50 การัตที่หายากมาร่วมงาน” นายหลี่ หย่งฉุน ประธานบริษัทจิวเวลรี่หย่งทั่ย จำกัด แห่งประเทศไทย กล่าวว่าเป็นผู้ติดตามงานมหกรรมนำเข้ามาโดยตลอด “หลายปีนี้ เราต้องลงมือเตรียมตัวงานมหกรรมฯ ครั้งต่อไปหลังจากเสร็จงานในครั้งนี้” เขากล่าวว่า “สำหรับวิสาหกิจการค้าต่างประเทศทั่วโลก งานมหกรรมนำเข้าเป็นงานแสดงสินค้ายิ่งใหญ่ที่มีระดับสูง บริษัทของผมในฐานะเป็นบริษัทร่วมงานต้องแสดงผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูง”

“งานมหกรรมฯ ได้สร้างเวทีแลกเปลี่ยนอย่างดีให้กับธุรกิจร่วมงานของทั่วโลก เราจะมีโอกาสได้สัมผัสผู้ร่วมงานจากประเทศและเขตแคว้นต่างๆ ทั่วโลก เรียนรู้ซึ่งกันและกัน ปรับปรุงแนวคิดและรูปแบบการประกอบธุรกิจของบริษัทตน” นายหลี่ เจียฉุน กล่าวว่างานมหกรรมนำเข้าในฐานะเป็นแพลตฟอร์มเปิดเผยในด้านการค้าสินค้าและบริการ ใน 5 ปีที่ผ่านมานี้ ได้สร้างโอกาสใหม่ให้กับประเทศไทยและประเทศอื่นๆ ปลายทาง “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” เข้าร่วมตลาดจีน รัฐบาลไทยโดยเฉพาะหน่วยงานด้านพาณิชย์มีความกระตือรือร้นต่อตลาดจีนมาโดยตลอด ส่งเสริมให้วิสาหกิจไทยจับต้องโอกาสแบ่งผลกำไรการพัฒนาของจีน หวังว่าหลังโควิดจะมีวิสาหกิจไทยมากขึ้นมีส่วนร่วมในงานมหกรรมนำเข้าสินค้านานาชาติของจีน

วันที่ 1 มกราคมปีนี้ ข้อตกลง RCEP  มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ อัดฉีดพลังใหม่แก่ความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจและการค้าระหว่างอาเซียนกับจีน วงการพาณิชย์ของไทยรอคอยการมีผลบังคับใช้ของ RCEP ที่จะสร้างประโยชน์มากขึ้นให้กับประชาชนของประเทศจีนและไทย

กลุ่มบริษัทซีพีที่เข้าร่วมงานมหกรรมฯ เป็นครั้งที่ 5 ได้นำสินค้าประมาณ 110 ชนิดจากบริษัท 6 แห่งจากในประเทศ หลัง RCEP มีผลบังคับใช้แล้ว ผ่านแพลตฟอร์มงานมหกรรมฯ ดังกล่าว ซึ่งเป็นเวลาเปิดสู่ภายนอก สามารถนำสินค้าคุณภาพดีจากต่างประเทศมาสู่ประเทศจีน ส่งเสริมให้ “ซื้อทั่วโลก ขายทั่วโลก” นายเซวีย เจิง รองประธานผู้อาวุโส ประจำประเทศจีนของกลุ่มบริษัทซีพีได้ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวว่างานมหกรรมฯ นับวันมีอิทธิพลมากขึ้นในโลกและมีขนาดการจัดงานที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ วิธีบริการได้ปรับปรุงให้ดีขึ้นเรื่อยๆ กลุ่มบริษัทซีพีจึงมีความมั่นใจสูงต่องานมหกรรมฯ “ทุกปี เรามียอดการสั่งซื้อจำนวนมากจากงานมหกรรมฯ และคิดว่าปีนี้จะได้ผลดีกว่าปีที่แล้ว”

งานมหกรรมฯในปีนี้ จุดสำคัญของวิสาหกิจไทยที่เข้าร่วมงานยังคงอยู่ที่อาหารกับผลิตผลการเกษตร สถิติแสดงให้เห็นว่าในปี 2021 ยอดการค้าระหว่างจีนกับไทยเพิ่มขึ้น 33% มากถึง 131,200 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่มากกว่าแสนล้านเหรียญดอลลาร์ ส่วนสินค้าการเกษตรของไทยมีการส่งออกไปจีนมากถึง 11,900 ล้านเหรียญ เติบโต 52.4% ในจำนวนนี้ จีนนำเข้าผลไม้สดและผลไม้แช่แข็งจากไทยเป็นหลัก ยังมีพลาสติก ยางและผลิตภัณฑ์เคมี นางสาวจีรนันท์ หิรัญญสัมฤทธิ์ กงสุลใหญ่ฝ่ายพาณิชย์ประจำนครเซี่ยงไฮ้ของไทยกล่าวว่า “วิสาหกิจบางแห่งไม่สามารถมาจัดแสดงได้ด้วยตัวเอง แต่จะคัดเลือกสินค้าชั้นเยี่ยม มอบหมายให้ช่วยจัดแสดง จะได้รู้สึกว่าพวกเขาให้ความสำคัญกับงานมหกรรมสินค้านำเข้าฯ”

นางสาวลดา ภู่มาศ กล่าวว่าปีนี้เป็นปีเฉลิมฉลองครบรอบ 10 ปีในการสร้างความสัมพันธ์แบบหุ้นส่วนรอบด้านระหว่างจีนกับไทย ไทยจะกระชับความร่วมมือกับจีนต่อไป ร่วมสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันระหว่างจีนกับไทย เพื่อความร่วมมืออย่างสุดซึ้ง เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและความเจริญรุ่งเรือง

 

ผู้เขียน หยาง อี้ฟู

ผู้แปล  รศ.สวี่ ผิงผิง

ผู้ตรวจแก้ ศิวัตรา สินพสุธาดล