เมื่อปี ค.ศ. 2021 ในประเทศจีน มีโขลงช้างป่าเอเชียในสิบสองปันนาของมณฑลยูนนานทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ได้อพยพเดินทางไปยังทิศเหนือสู่เมืองคุนหมิง ภายใต้การติดตามดูแลจากฝ่ายบริหารท้องถิ่นอย่างใกล้ชิด ก่อนที่พวกมันจะอพยพไปยังทิศใต้ ข้ามแม่น้ำหยวนเจียง หลังจากเดินทางอพยพข้ามมณฑลยูนนานเป็นเวลาหลายเดือน ในที่สุดพวกมันก็ได้กลับสู่บ้านเกิดอีกครั้งแล้ว

เหตุการณ์ “โขลงช้างป่าอพยพเคลื่อนตัวไปทางเหนือ” นั้นได้กลายเป็นภาพทางธรรมชาติอันมีชีวิตชีวาในจีน ที่กระตุ้นให้ตระหนักถึงการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นมิตรระหว่างมนุษย์และสิ่งแวดล้อมที่ฉายภาพให้เห็นบทพิสูจน์ถึงความพยายามของประเทศจีนเพื่อการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ และแสดงให้ทั่วโลกเห็นว่าการสร้างสรรค์อารยธรรมทางระบบนิเวศวของจีนประสบผลสำเร็จชัดเจน

ปกป้องบ้านเมืองให้ทสวยงามด้วยการลงมือปฏิบัติจริง

ปีหลัง ๆ มานี้ ประเทศจีนส่งเสริมการสร้างเขตอนุรักษ์ธรรมชาติอย่างต่อเนื่อง ดำเนินโครงการเขตสาธิตอุทยานแห่งชาติอย่างเป็นระบบ สร้างเขตอนุรักษ์ธรรมชาติโดยมีอุทยานเป็นส่วนประกอบหลัก  กำหนดพื้นที่สำคัญของการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างชัดเจน  เพื่อเน้นการอนุรักษ์ระบบนิเวศวและทรัพยากรทางชีวภาพที่สำคัญ  แสดงบทบาทเชิงรุกด้านการอนุรักษ์ที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์สำคัญต่าง ๆ

ปัจจุบันนี้ ชาวจีนจำนวนมากกำลังปกป้องบ้านเมืองและธรรมชาติให้สวยงามด้วยการลงมือปฏิบัติจริง

ตัวอย่างของผลสำเร็จของการอนุรักษ์ในจีนมีหลายเหตุการณ์ อย่างภูเขาหิมะ “ไป๋หม่า” ในมณฑลยูนนาน  ที่เต็มไปด้วยฝูงลิงขนทองยูนนานกระโดดโลดโผนกลางขุนเขาอย่างเสรี  อยวี๋ เจี้ยนหวา เจ้าหน้าที่ดูแลลิงขนทองออกตระเวนในป่าทึบเป็นประจำ เพื่อดูแล “เอลฟ์ หรือฝูงวานรแห่งภูเขาหิมะ” ที่น่ารักเหล่านี้

ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมาหลังจากที่ หวัง หมิงอู่ ได้ใช้ชีวิตวิถีชาวประมง “ลอยเรือ” บนแม่น้ำแยงซีมาโดยตลอด แต่ชีวิตเขากลับพลิกผันเปลี่ยนบทบาทจากชาวประมงที่พายเรือเหวี่ยงแหต้องกลายมาเป็นเจ้าหน้าที่พิทักษ์สัตว์น้ำ ขับเรือลาดตระเวนตามแม่น้ำสายสำคัญไปแล้ว

ฟาร์มป่า “ไซ่ฮั่นป้า” ในมณฑลเหอเป่ยจากเดิมที่เคยเป็นพื้นที่รกร้างว่างเปล่านั้น ก็ได้กลายเป็นผืนป่าอันอุดมสมบูรณ์ เป็นเกราะกำบังทางธรรมชาติอันแข็งแกร่งที่ป้องกันฝุ่นทรายถาโถมเข้าพื้นที่ เป็นแหล่งต้นน้ำ และช่วยดูดซับคาร์บอนไดออกไซค์ นี่คือผลลัพธ์จากการทำงานอย่างจริงจังของเจ้าหน้าที่ดูแลป่า เพื่อรักษาความมั่นคงของทรัพยากรป่าไม้

จากภาคใต้ขึ้นสู่ภาคเหนือ จากพื้นที่ส่วนในไปถึงชายฝั่งทะเล  มีนก สัตว์ป่า ต้นหญ้า ดอกไม้ และต้นไม้สายพันธุ์หายากมากเริ่มกลับมาเจริญงอกงาม ยิ่งสะท้อนให้เห็นถึงความงดงามทางธรรมชาติและความอัศจรรย์ของระบบนิเวศวิทยา

ในเขตอนุรักษ์ธรรมชาติ “ป้าหวังหลิ่ง” ในมณฑลไห่หนาน  เมื่อ 40 ปีก่อน มีกลุ่มชะนีหงอนดำป่าเพียง 2 กลุ่มอยู่ไม่ถึง 10 ตัว แต่ในปัจจุบันกลับเพิ่มขึ้นถึง 5 กลุ่ม จำนวน 35 ตัว

หากยังจำเหตุการณ์เมื่อปีที่แล้วที่ “หวันต๋าซาน” เสือโคร่งไซบีเรียที่แอบเข้าหมู่บ้าน นับเป็นเหตุการณ์ครั้งแรกที่จีนช่วยเหลือและปล่อยตัวเสือโคร่งไซบีเรียป่ากลับสู่ธรรมชาติเป็นผลสำเร็จ หลังจากที่อุทยานเสือโคร่งไซบีเรียและเสือดาวแห่งชาติสร้างแล้วเสร็จ ก็ปรากฏสภาวะที่เรียกว่า “เสือโคร่งเสือดาวซ่อนตัวกลางป่าทึบ”

ในระยะต้นของทศวรรษปี 1990 บนที่ราบสูงที่ปกคลุมด้วยหิมะที่ได้รับการขนานนามว่าเป็นเสมือน“หลังคาโลก” จากที่เคยพบกลุ่มละมั่งทิเบตป่าจาก 6-7 หมื่นตัวได้เพิ่มสูงขึ้นประมาณ 3 แสนตัวในปัจจุบัน ทำให้ทางสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN) ได้ปรับลดระดับสถานะการอนุรักษ์ละมั่งทิเบตจาก “ใกล้สูญพันธุ์” ( Endangered ) เป็น “ใกล้ถูกคุกคาม” ( Near Threatened )

ด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูพื้นที่ชุ่มน้ำในสามเหลี่ยมลุ่มแม่น้ำเหลืองก็ประสบผลสำเร็จอย่างเห็นได้ชัด  ในเขตอนุรักษ์ได้ฟื้นฟูพืชพันธุ์ธรรมชาติหลากหลายสายพันธุ์ โดยมีอัตราการอนุรักษ์สูงถึง 55.1% เห็นได้จากในระยะต้นของการสร้างเขตอนุรักษ์ธรรมชาติที่จากเดิมมีสายพันธุ์ของนก 187 สายพันธุ์ก็เพิ่มขึ้นเป็น 370 สายพันธุ์ในปัจจุบัน

หนังสือปกขาวเรื่อง “การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของจีน” ที่สำนักงานข่าวสารของคณะรัฐมนตรีจีนประกาศในเดือนตุลาคมปี ค.ศ. 2021 ระบุว่า “ด้วยการสร้างระบบพื้นที่อนุรักษ์ธรรมชาติที่เหมาะสมตามหลักวิทยาศาสตร์  ทำให้รูปแบบของระบบนิเวศวิทยาทางบก 90% รวมถึงสายพันธุ์ของพืชป่าและสัตว์ป่าสำคัญในการอนุรักษ์ระดับชาติ 71% ต่างก็ได้รับการคุ้มครองอย่างมีประสิทธิผล”

สร้าง “เรือแห่งชีวิต” เพื่อพันธุ์พืชป่าและสัตว์ป่าหายาก

บนแผ่นดินจีนที่มีชีวิตชีวาผืนนี้ สัตว์เลี้ยงด้วยนมที่สามารถอพยพตามธรรมชาติด้วยระยะทางที่ยาวไกลนั้น ไม่เพียงแค่มีโขลงช้างป่าเอเชียเท่านั้น

วันที่ 6 พฤศจิกายนปี ค.ศ. 2013  “จางเสี่ยง” แพนด้ายักษ์ตัวเมียอายุ 2 ขวบ ที่เกิดในฐาน “อย่าอาน ปี้เฟิงเสีย” ของศูนย์อนุรักษ์และวิจัยแพนด้ายักษ์ของประเทศจีน ได้ถูกปล่อยกลับสู่ธรรมชาติในเขตอนุรักษ์ธรรมชาติ ลี่จือผิง ของมณฑลเสฉวนหลังจากที่มันได้รับการฝึกเพื่อเรียนรู้การปรับตัวและใช้ชีวิตในธรรมชาติมาแล้ว หากติดตามผ่านการบันทึกภาพด้วยกล้องอินฟราเรดแสดงให้เห็นว่า “จางเสี่ยง”สามารถอพยพจากกลุ่มแพนด้าเพื่อไปยังพื้นที่ต่างๆ ได้อย่างปลอดภัย กลายเป็นแพนด้ายักษ์ตัวแรกที่ถูกปล่อยให้กลับสู่ธรรมชาติและสามารถอพยพข้ามเขตพื้นที่ต่าง ๆ ทางธรรมชาติได้

ปีหลังๆ มานี้ จีนได้เพิ่มการอนุรักษ์กลุ่มแพนด้ายักษ์อย่างต่อเนื่อง จนประสบความสำเร็จในด้านการเพาะเลี้ยงด้วยคนและการเลี้ยงดูแบบปล่อยในธรรมชาติเพื่อให้มันสามารถปรับตัวได้ การอนุรักษ์ที่อยู่อาศัยของแพนด้ายักษ์มีความสมบูรณ์มากขึ้นทุกวัน  จำนวนของกลุ่มแพนด้ายักษ์ไม่ว่าอยู่ในพื้นที่เพาะเลี้ยงด้วยคนและอยู่ตามธรรมชาติก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ระดับความเสี่ยงจากที่เคยถูกจัดสถานะเป็นสัตว์ “ใกล้สูญพันธุ์” ก็ลดระดับลงเป็น  “ถูกคุกคามได้ง่าย”

ขณะเดียวกันจีนได้ระดมสรรพกำลังอย่างมากในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของพันธุ์พืชต่าง ๆ ในโลกอย่างไม่เคยมีมาก่อนด้วย

ในเขตป่าทึบในชานเมืองทางตอนเหนือของเมืองคุนหมิง  แม้ว่าอาคารสี่ชั้นจะเป็นเพียงตึกธรรมดา แต่ที่นี่กลับเป็นคลังทางทรัพยากรพืชพันธุ์ป่าอันมีค่าในพื้นที่ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ที่นีเป็นเสมือนบ้านของพืชพันธุ์ป่าหายากใกล้สูญพันธุ์  เป็นคลังทัพยากรทางพืชพันธุ์ป่าที่ใหญ่ที่สุดของเอเชีย ปัจจุบันได้สร้างเครือข่ายอนุรักษ์ทรัพยากรพันธุ์พืชที่มีองค์กรวิจัยทางวิทยาศาสตร์ สถาบันอุดมศึกษาและเขตอนุรักษ์ธรรมชาติภายในประเทศหลายสิบแห่งเข้าร่วมศึกษาวิจัย กำหนดมาตรฐาน และอนุรักษ์ร่วมกัน

“ที่นี่เป็นบ้านและเรือแห่งชีวิตของเมล็ดพันธุ์พืช ขอแค่มีความปลอดภัย ก็จะสามารถทำให้พันธุ์พืชป่าหายากเหล่านี้ลดความเสี่ยงจากการสูญพันธุ์ได้ เป้าหมายของเราคือ รักษาทรัพยากรเมล็ดพันธุ์พืช 19,000 ชนิด 190,000 ชุด”  หลี่ เต๋อจู  ผู้อำนวยการคลังทรัพยากรเมล็ดพันธุ์พืชป่าทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน กล่าวว่า พวกเขาจะแลกเปลี่ยนเมล็ดพันธุ์พืชสำรองกับองค์กรต่างประเทศอื่นๆโดยไม่จำกัด “ทั้งนี้มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการรักษาความปลอดภัยและการคงอยู่ของพันธุ์พืชทั่วโลก”

เริ่มกระบวนการใหม่ของการบำบัดความหลากหลายทางชีวภาพทั่วโลก

ในปัจจุบัน มนุษย์เรากำลังยืนอยู่ระหว่างทางแยกของการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและการพัฒนาอย่างยั่งยืน  เมื่อสภาวการณ์ของสังคมโลกในปัจจุบันต้องเผชิญกับการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพและปัญหาระบบนิเวศเสื่อมโทรม ชาวจีนจึงได้ยึดมั่นแนวคิดที่มนุษย์อยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างกลมกลืน ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน และแนวคิดการอนุรักษ์ก่อนการพัฒนา สร้างกลไก “รัฐบาลชี้นำ ประชาชนเข้าร่วม” และ “การบำบัดจากหลายภาคส่วน ร่วมมือกันเพื่อให้เกิดการสมประโยชน์ ( หรือแบบ Win-Win ) ”  ทั้งผลักดันให้การอนุรักษ์ความหลาดหลายทางชีวภาพของจีนพัฒนาและสำเร็จอย่างต่อเนื่อง สร้างคุณูปการใหม่เพื่อรับมือกับความท้าทายการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพทั่วโลกอีกด้วย

วันที่ 15 ตุลาคมปี ค.ศ. 2021 การประชุมสมาชิกภาคี (ขั้นตอนที่1)ของ“สนธิสัญญาความหลากหลายทางชีวภาพ” ครั้งที่ 15 ประจำปี 2020 ได้ปิดฉากลงที่เมืองคุนหมิงของมณฑลยูนนาน  ตัวแทนจากสมาชิกภาคีกว่า 140 รายและองค์กรระหว่างประเทศกว่า 30 แห่งรวมกว่า 5,000 คนได้เข้าร่วมการประชุมทั้งทางออนไลน์และออฟไลน์

ที่ประชุมได้มีมติประกาศมาตรการใหม่ของจีนในด้านการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ รวมถึงนำหน้าออกเงินทุน 1,500 ล้านหยวนเพื่อก่อตั้งกองทุนความหลากหลายทางชีวภาพคุนหมิง เร่งการสร้างระบบพื้นที่อนุรักษ์ที่มีอุทยานแห่งชาติเป็นหลัก  สร้างอุทยานแห่งชาติชุดแรก รวมถึงอุทยานแหล่งน้ำซานเจียงหยวน อุทยานแพนด้ายักษ์  อุทยานเสือโคร่งเสือดาว อุทยานป่าดิบชื้นในเขตร้อนและอุทยานภูเขาอู่อี๋ซาน   ประกาศแผนปฏิบัติการควบคุมปริมาณการปล่อยคาร์บอนสำหรับมณฑลและภาคอุตสาหกรรมแขนงต่าง ๆ   ตลอดจนมาตรการสนับสนุนหลายประการ  สร้างระบบนโยบาย “1+N” ที่รวมทั้งควบคุมปริมาณการปล่อยคาร์บอนและความเป็นกลางทางคาร์บอน ที่ประชุมยังได้ผ่าน “คำแถลงคุนหมิง” ปล่อยสัญญาณเชิงบวกในด้านการส่งเสริมการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างเต็มกำลัง

จากสนธิสัญญาคุนหมิง การฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพทั่วโลกได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว  จากจุดเริ่มต้นใหม่นี้ ประชาคมโลกจำเป็นต้องร่วมแรงร่วมใจกัน เพื่อสร้างโลกใบนี้ให้เป็นบ้านที่งดงาม

 

โดย จาง เหล่ย

แปลโดยหลิวหรง

ตรวจแก้โดย มณีนาถ อ่อนพรรณา