ระหว่างวันที่ 7-19 ธันวาคม ที่เมืองมอนทรีออล ประเทศแคนาดา มีการจัดการประชุมระยะที่สองของการประชุมประเทศภาคีชุดที่ 15 “สนธิสัญญาว่าด้วยความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต” (CBD COP15) โดยจะกำหนดกรอบความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในโลกหลังปี 2020 เพื่อกำหนดเป้าหมายและหนทางการอนุรักษ์ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตบนโลกในอีกสิบปีข้างหน้า ประเทศจีนในฐานะเป็นประเทศประธานของ COP15  กำลังเข้าร่วมการเจรจาหารือกรอบดังกล่าวอย่างแข็งขัน มุ่งสร้างกรอบที่สามารถบรรลุเป้าหมายหลักสามประการของสนธิสัญญาฯ มีทั้งความยิ่งใหญ่และตามความเป็นจริง ตลอดจนเอาใจใส่ความสนใจของประเทศกำลังพัฒนา เพื่อเติมพลังใหม่แก่การบริหารความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในโลก

ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในโลกเผชิญกับความท้าทาย

การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ มลภาวะ และการสูญเสียความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตเป็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่ใหญ่สามอันดับแรกของโลก อาจกล่าวได้ว่าประชาชนทั่วไปจะสนใจการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและมลภาวะมากกว่า แต่จริงๆ แล้ว ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตก็มีความเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเราอย่างใกล้ชิดเช่นกัน ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตไจำเป็นต่อทั้งการผลิตและการดำเนินชีวิตที่หลากหลายให้กับมนุษย์ รวมทั้งภาวะนิเวศที่มีความปลอดภัยและทัศนียภาพที่มีเอกลักษณ์ของตน การอนุรักษ์ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตมีความสำคัญต่อความผาสุกและอนาคตของมนุษยชาติ ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมสามประการมีส่วนเกี่ยวพันธ์กันและเป็นเหตุเป็นผลกัน การรับมือกับความท้าทายจากความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในโลก เราต้องมีแนวคิดเชิงยุทธศาสตร์มองสถานการณ์จากภาพรวมและปฏิบัติตามหลักวิทยาศาสตร์ ดังที่นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีนกล่าวไว้ในพิธีเปิดงานการประชุมประเทศภาคีชุดที่ 14 ของสนธิสัญญาพื้นที่ชุ่มน้ำว่า เราต้องเพิ่มพื้นที่ชุ่มน้ำเพื่อความสุขของประชาชนทั่วโลก แสดงบทบาทของพื้นที่ชุ่มน้ำ ผลักดันการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง รับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ อนุรักษ์ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต สร้างประโยชน์ให้กับประชาชนทุกประเทศมากขึ้น

ปัจจุบันสังคมมนุษย์กำลังเผชิญกับความท้าทายที่ล่อแหลม ทั้งเผชิญกับความเร็วในการสูญพันธุ์ของสิ่งต่างๆ มากขึ้น การสูญเสียความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต และการเสื่อมลงของภาวะนิเวศ เวทีนโยบายวิทยาศาสตร์ระหว่างรัฐบาลในด้านบริการระบบภาวะนิเวศและความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในความดูแลของสหประชาชาติ(IPBES) ประกาศว่าอัตราการสูญพันธุ์ได้เร็วกว่าปกติเป็น 100-1,000 เท่า มีสิ่งต่างๆ จำนวน 1 ล้านชนิดกำลังได้รับภัยคุกคามจากมนุษย์และใกล้สูญพันธุ์ สถิติของสหพันธ์อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโลก (IUCN) ก็แสดงว่ามีสิ่งมีชีวิต 28% กำลังเผชิญกับความเสี่ยงสูญพันธุ์

ความท้าทายเหล่านี้เตือนให้เราทราบว่าต้องยืนอยู่ในระดับประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันของสิ่งมีชีวิต ความสำนึกระหว่างความสัมพันธ์ของมนุษย์กับธรรมชาติ ปรับเปลี่ยนสถานการณ์ด้วยมาตรการปฏิรูป

จีนประสบผลสำเร็จในด้านภาวะนิเวศอย่างเห็นได้ชัด

แนวคิดในด้านอารยธรรมภาวะนิเวศของจีนได้มาจากปรัชญาสมัยโบราณโดยเน้นว่า “ธรรมชาติกับมนุษย์ต้องกลมกลืนกัน” “ทุกสิ่งทุกอย่างต้องอยู่ตามธรรมชาติ” โดยอธิบายให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ มีความใกล้ชิดกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติและสอดคล้องกับความปรารถนาในปี 2050 ที่ว่า “มนุษย์กับธรรมชาติอยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์” ปัญญาจีนและแผนจีน ได้สร้างแบบอย่างและโอกาสแก่ทั่วโลกในการอนุรักษ์ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต

จีนได้รับผลสำเร็จในด้านอนุรักษ์ ฟื้นฟูและวิจัยความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตบนพื้นฐานสร้างอารยธรรมภาวะนิเวศ เมื่อปีที่แล้วจีนได้จัดการประชุมระยะแรกของ CBD COP15 อย่างสำเร็จ ได้จัดตั้งอุทยานแห่งชาติรุ่นแรก ได้แก่อุทยานแห่งชาติอนุรักษ์หมีแพนด้า แหล่งกำเนิดแม่น้ำสามสาย เสือและเสือดาวทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน และป่าเขตร้อนไหหลำ ภูเขาอู่อี๋ ตลอดจนสวนพฤกษศาสตร์สองแห่งในกรุงปักกิ่งและทางภาคใต้ของจีน จีนได้กำหนดแผนจัดวางอุทยานแห่งชาติ จะเปิดอุทยานแห่งชาติตามลำดับ โดยกินพื้นที่ประเทศจีนประมาณ 10% รวมพื้นที่ชุ่มน้ำประมาณ 11 ล้านเฮกตาร์เข้าในระบบอุทยานแห่งชาติ ด้วยการสร้างระบบคุ้มครองพื้นที่ตามหลักวิทยาศาสตร์ดำเนินการปรับปรุงโครงสร้าง จีนได้บรรลุ “เป้าหมายไอจิ” 17% ล่วงหน้า โดยได้คุ้มครองระบบภาวะนิเวศทางบก 90% และสิ่งมีชีวิตในป่าทั้งสัตว์และพืชระดับชาติ 71% พืชพันธุ์และสัตว์ป่าล้ำค่าที่ใกล้สูญพันธุ์ได้รับการฟื้นฟูและเติบโต ลดระดับภัยคุกคามให้น้อยลง

จีนไม่เคยหยุดเดินหน้าการอนุรักษ์ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต

ก่อนหน้านี้เราเคยประเมินผลงานที่ได้รับหลังการตั้งเป้าหมาย CBD และได้พบว่ามองจากระยะยาว แม้ว่าเป้าหมายจะมีความแตกต่างกัน แต่มีแนวโน้มดำเนินไปได้ด้วยดีในภาพรวม สำหรับอนาคตเราต้องมีความมั่นใจ เด็ดเดี่ยวและอดทน แม้ว่าภาระหน้าที่จะหนักหน่วง แต่มั่นใจว่าภายใต้ความพยายามของประชาคมโลก ด้วยการดำเนินมาตรการปฏิรูป ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตย่อมจะได้รับการฟื้นฟูในอีกสิบปีข้างหน้า

ต่อแต่นี้ไปจีนจะสามารถดำเนินการดังต่อไปนี้

ก่อนอื่น ผสมผสานสนธิสัญญาฉบับต่างๆ ในด้านการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศและความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต ให้ความสำคัญกับความสมบูรณ์ของระบบภาวะนิเวศ ผลักดันแผนแก้ไขตามหลักธรรมชาติ (NBS) ถือเป็นแผนแก้ไขปัญหาและประสานงานระหว่างการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและการสูญเสียความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต ส่งเสริมประสิทธิภาพให้สูงขึ้น ช่วยเหลือทั่วโลกสร้างสรรค์อารยธรรมภาวะนิเวศทั่วโลก

ประการที่สองจะปรับตัวจากการกอบกู้ชีวิตของเผ่าพันธุ์ไปยังการอนุรักษ์ภาวะนิเวศ เช่น หมีแพนด้า การอนุรักษ์หมีแพนด้าไม่เพียงแต่จะอนุรักษ์หมีแพนด้าเท่านั้น หากยังต้องอนุรักษ์ภาวะนิเวศที่หมีแพนด้าอยู่อาศัย เราเคยประเมินค่าสิ่งแวดล้อมที่หมีแพนด้าอาศัยอยู่นั้น มีมูลค่าการบริการสูงถึง 2,700 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนเงินทุนที่ลงและผลผลิตที่เกิดขึ้นคิดเป็นสัดส่วนที่ 1:27

สุดท้ายในด้านการวิจัยวิทยาศาสตร์ ยังต้องเพิ่มการสร้างบิ๊กดาต้า สถานีควบคุมตรวจสอบในป่า คลังทรัพยากรพืชและสัตว์ป่า เป็นต้น ตลอดจนการสำรวจสิ่งมีชีวิตที่เข้ามาจากต่างแดนและสัตว์ที่เป็นแหล่งเชื้อโรค สร้างเครือข่ายอนุรักษ์ให้ดีกว่านี้ สร้างระบบเตือนภัยและกรอบป้องกัน อาศัยอินเตอร์เน็ตสรรพสิ่ง บิ๊กดาต้า คำนวณคลาวด์ เอไอ ดิจิทัลและเทคโนโลยีใหม่ต่างๆ ดำเนินการบริหารและอนุรักษ์ธรรมชาติแบบอัจฉริยะโดยถืออุทยานแห่งชาติเป็นตัวหลัก บริการให้ความปลอดภัยด้านภาวะนิเวศแห่งชาติ

การอนุรักษ์ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพต้องอาศัยการสนับสนุนและมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางจากหน่วยงานรัฐบาล องค์กรวิทยาศาสตร์ องค์การที่เกี่ยวข้องและวงการต่างๆ ทางสังคม หลายปีมานี้องค์กรอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมภาคเอกชนของจีนมีการพัฒนามากขึ้น มวลชนมีจิตสำนึกในด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด สร้างคุณูปการสำคัญแก่การอนุรักษ์ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต หวังว่าจะมีกำลังที่มากขึ้นเข้ามาร่วมสมทบ แสดงความเห็นและทุ่มเทกำลังในการอนุรักษ์ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในโลก ใช้ความพยายามอย่างไม่ลดละในการร่วมสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันของสิ่งมีชีวิตบนโลก

 

โดย เว่ย ฝู่เหวิน (ผู้เขียนเป็นรองประธานประจำคณะกรรมการวิทยาศาสตร์เผ่าพันธุ์ที่ใกล้สูญพันธุ์ สาธารณรัฐประชาชนจีน สมาชิกสภาวิทยาศาสตร์แห่งประเทศจีน)

ผู้แปล:รศ.สวี่ ผิงผิง

ผู้ตรวจแก้:ศิวัตรา สินพสุธาดล