แต่จะทำได้ก็ต่อเมื่อเจ้าของที่ให้การยินยอม จึงต้องสร้างความเจ้าใจกับเจ้าจองที่ให้ชัดเจน ทลายข้อจำกัดการเข้าไปพัฒนา หรือแก้ปัญหาให้กับประชาชนที่เดือดร้อนในที่ดินที่เป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชน ซึ่งอาจเปิดให้มีการใช้ประโยชน์เช่น ทำทางลัด ซอย เมื่อเกิดความเสียหายกทม ไม่สามารถเข้าไปแก้ปัญหาปรับปรุงซอยได้เพราะเป็นที่เอกชน หากจะทำได้เจ้าของที่ต้องอนุญาตให้กทม.เจ้าไปปรับปรุง ย้ำว่าที่จะไม่ตกเป็นของกทม.ตามที่กังวลจึงไม่อยากให้กทม.หรือเขตเข้าไปแก้ปัญหาความเดือดร้อน ระบุมีการกำหนดเวลาใช้สอยทรัพย์สินให้คุ้มค่ากับงบประมาณในการพัฒนาอาจจะ 7-10 ปี หรือหากจะยกให้โดยโอนทรัพย์สินให้เป็นสาธารณะก็สามารถทำได้

นายจักกพันธุ์ ผิวงาม รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวถึงการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนประชาชนในที่ดินเอกชน ว่า การพัฒนาที่ดินเอกชน มีกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 4 ฉบับ ประกอบด้วย 1.พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 2.พระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 3.ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพย์สนิ ที่ประชาชน ใช้สอยร่วมกัน พ.ศ. 2536 และ พ.ศ. 2554 4.ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการกาหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการพัฒนา ทรัพย์สินท่ีประชาชนท่ัวไปใช้สอยร่วมกัน พ.ศ. 2537 2542 2544 และ 2558

ขั้นตอน กรณีเป็นที่เอกชน เขตต้องไปตรวจสอบว่าแปลงที่ดินที่จะเข้าพัฒนาเป็นที่จัดสรรตาม พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดินหรือไม่ หากอยู่ภายใต้ พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน จะมีกระบวนการของโครงการหมู่บ้านจัดสรรหรือนิติบุคคล สำหรับที่ไม่อยู่ภายใต้พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน จะมี 3 กรณี 1.เจ้าของที่ดินให้ความยินยอม โดยต้องทำสัญญายินยอมให้กรุงเทพมหานครเข้าไปดำเนินการพัฒนาปรับปรุง กำหนดเวลาใช้สอยทรัพย์สินให้คุ้มค่ากับงบประมาณในการพัฒนาอาจจะ 7-10 ปี หรือยกให้โดยโอนทรัพย์สินให้เป็นสาธารณะ 2. เป็นที่ที่มีการทอดทิ้งไม่ดูแลบำรุงรักษาสาธารณูปโภค เกินกว่า 10 ปี กรุงเทพมหานครต้องไปจดทะเบียนสิทธิเหนือที่ดินนั้นก่อนเข้าไปพัฒนาได้ 3.กรณีไม่อาจหาตัวเจ้าของหรือติดต่อเจ้าของได้ เขตจะบันทึกปากคาประชาชนผู้ใช้ประโยชน์ 15 ราย และปิดประกาศบริเวณที่จะพัฒนา 30 วัน หากไม่พบเจ้าของจึงเข้าพัฒนาได้ 

“ ที่ดินหลายแห่งที่พบปัญหาและเข้าไปพัฒนาปรับปรุงไม่ได้ เจ้าของยังไม่ยินยอมการที่ กทม.จะเข้าไปพัฒนาที่ดินเอกชนได้เจ้าของต้องยินยอม กทม.ต้องจดทะเบียนสิทธิเหนือที่ดินก่อนจึงจะนำเงินงบประมาณลงไปพัฒนาได้ เพราะหากไม่มีการจดทะเบียนสิทธิดังกล่าว เขตนำงบลงไปปรับปรุงแล้วต่อมาเจ้าของที่ไม่ให้เข้าพื้นที่ไม่ได้ ซึ่งมีกรณีเช่นนี้ฟ้องร้องกันอยู่ ก็ต้องไปรวบรวมดูกฎหมายเกี่ยวข้องใหม่ทั้งหมด “ รองผู้ว่าฯ จักกพันธุ์กล่าว

ทั้งนี้ รองผู้ว่าฯ ได้ให้สำนักงานกฎหมายและคดี และสำนักการโยธา รวบรวมข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องทุกประเด็น ทำแนวทางปฏิบัติใหม่ให้เป็นปัจจุบัน ใน 2 เดือนนี้ เรียกประชุม 50 เขต ซักซ้อมความเข้าใจการดำเนินการให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน ส่วนระยะยาว จะตั้งคณะกรรมการพิจารณาแก้ไขข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร รวมถึงแก้ไขระเบียบกรุงเทพมหานคร อาจต้องยกร่างใหม่ เพื่อให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยจะให้เสร็จภายใน 1 ปี 

รองผู้ว่าฯกทม. กล่าวย้ำว่า “ การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนประชาชน โดยไม่ใช้งบประมาณของกทม. ทำได้โดยนำคนและวัสดุอุปกรณ์ที่มีเข้าไปแก้ไขได้ในเบื้องต้น ซึ่งผมสั่งการไปแล้ว เช่น น้ำท่วมเพราะท่อตัน เป็นที่เอกชน ก็ให้นำคนของเขตไปลอกท่อให้โดยไม่ใช้งบจัดหาผู้รับจ้าง หรือเข้าไปปะถนนที่เป็นหลุมบ่อให้ชั่วคราวเพื่อให้ประชาชนใช้สอยได้อย่างปลอดภัย ขอให้มั่นใจได้ว่า การแก้ไขปัญหาชั่วคราวเนื่องจากความเดือดร้อนประชาชน ก็สามารถใช้แรงงานของบุคลากรกรุงเทพมหานครที่มีอยู่เข้าไปแก้ไขปัญหาเบื้องต้นให้ได้ อะไรที่เป็นเหตุเดือดร้อนที่ตะทำให้เกิดความไม่ปลอดภัย หรือเป็นอันตรายต่อประชาชน เขตต้องเข้าไปทำ “