วันที่ 29 ต.ค.ที่เมืองย่างกุ้ง ประเทศเมียนมา พล.ต.อ.ชินภัทร สารสิน รอง ผบ.ตร. ในฐานะ ผู้อำนวยการศูนย์ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ผอ.ศอปส.ตร.) เปิดเผยถึงปัญหายาเสพติดในประเทศไทย ว่าสถานการณ์มีความหน้าที่เป็นห่วง สำนักงานตำรวจแห่งชาตโดย พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. ต้องการให้แสวงหาความร่วมมือระหว่างประเทศ จึงได้มอบหมายให้ พล.ต.อ.ชินภัทร สารสิน รอง ผบ.ตร. ในฐานะ ผู้อำนวยการศูนย์ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ผอ.ศอปส.ตร.)ไปพบปะหารือกับ พลตำรวจจัตวา วิน หน่าย เลขาธิการร่วมคณะกรรมการร่วม คณะกรรมการกลางเพื่อการควบคุมยาเสพติด และผู้บัญชาการสำนักปราบปรามยาเสพติด ประเทศเมียนมาร์ และคณะ ( เมื่อวันที่ 28 ต.ค.65)
พล.ต.อ.ชินภัทร กล่าวว่าการหารือมีจำนวน 2 ประเด็น คือประเด็นแรก เรื่องสารตั้งต้น เนื่องจากมีการส่งสารตั้งต้นจำนวนมากซึ่งทางไทยได้รวบรวมสถิติไว้ ผ่านจากประเทศไทยเข้าประเทศเมียนมา สารตั้งต้นนี้สามารถนำไปผลิตยาเสพติดประเภทยาไอซ์ และยาบ้า มีการอ้างอิงว่าสารตั้งต้นนี้นำไปใช้ในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ทองคำ ซึ่งมีข้อมูลแน่ชัดว่าสารตั้งต้นนำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ในการผลิตยาเสพติด เช่นสารตั้งต้นชื่อ โซเดียม ไซยาไนด์ น้ำหนัก 1 ตัน สามารถผลิตยาบ้าได้ 20 ล้านเม็ด หรือยาบ้าได้ 600 กิโลกรัม ระยะ 4 ปี ที่ผ่านมาได้มีการเก็บสถิติการส่งออกสารตั้งต้นประเภทนี้ ผ่านประเทศไทย ปลายทางประเทศเมียนมาพบว่ามีจำนวนหลายเมตริกตัน
พล.ต.อ.ชินภัทร กล่าวว่า คณะเจรจาหารือทางฝ่ายเมียนมาร์ ขอบคุณฝ่ายไทยที่ได้ให้ข้อมูล ถ้าไม่มีสารตั้งต้นก็ไม่สามารถผลิตยาเสพติดได้ นอกจากสารโซเดียม ไซยาไนด์ สารตั้งต้นที่น่าสนใจอีกประเภทใช้เกี่ยวกับยาเสพติดคือ คาเฟอีน โดยหน่วยปราบปรามยาเสพติดได้ให้ความสำคัญในการติดตามการใช้สารตั้งต้นทุกประเภทเพื่อป้องกันการใช้ผิดวัตถุประสงค์ ปัจจุบันมีการควบคุมสารเคมีประมาณ 39 ประเภท และทางเมียนมาร์ได้มีการควบคุม โดยให้มีการขออนุญาตก่อนนำเข้า มีการควบคุมจำนวนการใช้ของสารตั้งต้นและจำนวนคงเหลือ จากการแลกเปลี่ยนข้อมูลบริษัทที่เกี่ยวข้องในการนำเข้าสารตั้งต้นเป็นข้อมูลเดียวกันระหว่างไทยและเมียนมาร์ ซึ่งจะมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างต่อเนื่องเพื่อการป้องกันปราบปรามการนำสารตั้งต้นไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ต่อไป
สำหรับประเด็นหารือที่ 2 การขอความร่วมมือจับกุมผู้ต้องหา ตามหมายจับคดียาเสพติด ของทางการไทย 2.1.ผบ.ตร. ขอความร่วมมือ ทางการเมียนมาร์ จับกุมผู้ต้องหาที่กระทำผิดกฎหมายยาเสพติดฝั่งไทย แล้วหลบหนีมาซ่อนตัวอยู่ในฝั่งเมียนมา
2.2.ทางการเมียนมายินดีให้ความร่วมมือ จึงได้ส่งหมายจับและตำหนิรูปพรรณผู้ต้องหาคดียาเสพติด ที่สืบทราบว่ามาซุกซ่อนตัว เพื่อให้ทางการเมียนมาร์ ดำเนินการจับกุมส่งทางการไทยรับตัวไปดำเนินคดี 2 .3 ข้อจำกัด ฝ่ายเมียนมา ผู้ต้องหาส่วนใหญ่กระทำผิดทั้งสองฝั่ง ต้องดำเนินคดีฝั่งพม่าก่อนส่งให้ทางการไทย และมีการหลบหนีไปซุกซ่อนตัวกับชนกลุ่มน้อยตามแนวชายแดน 2.4ที่ผ่านมา ทางการเมียนมาได้เคยจับกุมให้ทางการไทยมาโดยตลอด และจะทำการจับกุมให้เพิ่มมากขึ้น เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาการบังคับใช้กฎหมาย เมื่อมีกระทำความผิดแล้วหลบหนีข้ามแดนต่อ
พล.ต.อ.ชินภัทร กล่าวว่า จะเร่งรัดการแก้ไขปัญหายาเสพติดทั้งเชิงรุก และเชิงรับ ตลอดจนการประสานความร่วมมือจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างใกล้ชิด เป็นไปตามนโยบายของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในการแก้ปัญหายาเสพติดอย่างจริงจัง และ นโยบาย 10 ข้อของพล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. อย่างเป็นรูปธรรม