กลุ่มอลิอันซ์รายงานความมั่งคั่งของโลก ชี้2565 ปีแห่งการเติบโตที่ต้องจับตามอง​ ชี้ประเทศไทยมีสัดส่วนหนี้ต่อจีดีพีเป็นอันดับต้นๆในเอเชีย

+สินทรัพย์ทางการเงินของโลกเพิ่มขึ้น 10.4% อยู่ที่ 233 ล้านล้านยูโร (หรือประมาณ 8.7 พันล้านล้านบาท)

+คาดการณ์ว่าจะมีการลดลง 2% ในปี 2565 โดยจะลดลงจากภาคครัวเรือนถึง 1 ใน 10

+ปัญหาหนี้กลับมาอีกครั้ง ในปี 2564 โดยหนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้น 7.6%

 +ประเทศไทยมีสินทรัพย์ทางการเงินรวมของภาคครัวเรือนเพิ่มขึ้น 9.4%

อลิอันซ์​เปิดเผยรายงาน Global Wealth Report ฉบับที่ 13 วิเคราะห์สถานการณ์​ทรัพย์สินและหนี้ครัวเรือนในเกือบ 60 ประเทศทั่วโลก

การเติบโตที่น่าจับตามอง

เมื่อมองย้อนกลับไป ปี 2564 อาจจะเป็นปีสุดท้ายของ “ความปกติใหม่” ที่ตลาดหุ้นปรับตัวสูงขึ้นจากนโยบายทางการเงิน ครัวเรือนได้รับอานิสงค์จากเรื่องนี้เป็นอย่างมาก โดยสินทรัพย์ทางการเงินโลก เพิ่มขึ้นในระดับตัวเลขสองหลักในปี 2564 ติดต่อกันเป็นปีที่ 3 อยู่ที่ 233 ล้านล้านยูโร (หรือประมาณ 8.7 พันล้านล้าน) หรือ เพิ่มขึ้น 10.4% ในปีที่ผ่านมานี้ ความมั่งคั่งของภาคเอกชน เพิ่มขึ้นมากถึง 60 ล้านล้านยูโร หรือเท่ากับบวกตัวเลขคูณสองของกลุ่มยูโรโซนเข้าไปในสินทรัพย์ทางการเงินโลก

มีสามภูมิภาคที่โดดเด่นด้านการเติบโตของสินทรัพย์ ได้แก่ เอเชียไม่รวมญี่ปุ่น (+11.3) ยุโรปตะวันออก (12.2%) และอเมริกาเหนือ (+12.5%) เช่นเดียวกับเมื่อสองปีที่ผ่านมา ทวีปที่รวยที่สุดในโลกที่มีสินทรัพย์รวมต่อประชากรเท่ากับ 294,240 ยูโร  (หรือประมาณ 11 ล้านบาท) โดยค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 41,980 ยูโร (หรือประมาณ 1.6 ล้านบาท) มีอัตราการเติบโตเท่ากับตลาดเกิดใหม่ ในขณะเดียวกัน ยุโรปตะวันออก 109,340 ยูโร หรือประมาณ 4 ล้าน มีตัวเลขที่เหมือนประเทศที่ร่ำรวยมากขึ้น ด้วยอัตราการเติบโตที่ 6.7%

จุดเปลี่ยน

ปี 2565 เป็นปีแห่งการเปลี่ยนแปลง สงครามในยูเครนทำให้การฟื้นตัวหลัง COVID-19 สะดุดและส่งผลกระทบไปทั่วโลก เงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้น พลังงานและอาหารขาดแคลน รวมถึงนโยบายทางการเงินที่เข้มงวดส่งผลต่อเศรษฐกิจและตลาด การเงินครัวเรือนจะได้รับผลกระทบ โดยสินทรัพย์ทางการเงินระดับโลกมีแนวโน้มที่จะลดลงมากกว่า 2% และในปี 2565 นี้เองอาจจะเป็นอีกวิกฤติครั้งสำคัญของการเงินโลก แนวโน้มครึ่งปีดูจะไม่ค่อยสดใสมากนัก การเติบโตเพียงเล็กน้อยของสินทรัพย์ทางการเงินคาดการณ์ว่าจะอยู่ที่ 4.6% จนถึงปี 2025 เทียบกับ 10.4% ในสามปีก่อนหน้านี้

ลูโดวิค เซอร์บราน หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของอลิอันซ์​กล่าว “2564 เป็นจุดสิ้นสุดของยุค โดยสามปีหลังมานี้เป็นปีที่ดีมาก เป็นเหมือนขุมทรัพย์ของผู้มีเงินออมส่วนใหญ่ แต่หลังจากปี 2565 จะแตกต่างออกไป วิกฤตค่าครองชีพทำให้คนไม่มีความเชื่อมั่น ผู้กำหนดนโยบายจะเผชิญความท้าทายครั้งใหญ่ในการรับมือกับวิกฤตพลังงาน รวมถึงการสร้างการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจสีเขียว ในขณะที่นโยบายด้านการเงินเริ่มไปต่อไม่ได้ มาตรการใหม่ที่แก้ปัญหาได้อย่างตรงจุดจะเป็นปัจจัยสำคัญสู่ความสำเร็จในระดับชาติ ระดับภูมิภาคยุโรป และระดับนานาชาติ

การกลับมาของหนี้

ในช่วงสิ้นปี 2564 หนี้ครัวเรือนของโลกอยู่ที่ 52 ล้านล้านยูโร เพิ่มขึ้น 7.6% ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาวที่ 4.6% ครั้งสุดท้ายที่อัตราการเติบโตอยู่ในระดับที่สูงกว่านี้ เกิดขึ้นในปี 2006 ก่อนหน้าวิกฤตการณ์การเงินครั้งใหญ่ โดยจำนวนหนี้ที่เพิ่มขึ้นอย่างสูง ในช่วงต้นของการถดถอยของเศรษฐกิจโลกถือเป็นเรื่องที่น่ากังวล ในตลาดเกิดใหม่ หนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้นในอัตราตัวเลขสองหลักในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา หรือมากกว่า 5 เท่า เมื่อเทียบกับประเทศเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้ว อย่างไรก็ตามระดับของหนี้โดยทั่วไปอาจดูเหมือนจะจัดการได้ แต่หากพิจารณาปัญหาใหญ่ระดับโครงสร้างที่ตลาดเหล่านี้กำลังเผชิญอยู่ มีความเป็นไปได้ว่าอาจจะนำไปสู่การเกิดวิกฤตหนี้ได้

เอเชีย ภูมิภาคที่มีอัตราการเติบโตแตกต่างในระดับประเทศ

สินทรัพย์รวมของภาคครัวเรือนเอเชียเพิ่มขึ้น 9.4% ในปี 2011 ส่วนใหญ่แล้วเป็นผลจากจีนและญี่ปุ่น ซึ่งภาคครัวเรือน มีสินทรัพย์ 51% และ 25% ของสินทรัพย์ทั้งหมดของภูมิภาคตามลำดับ ในขณะที่สินทรัพย์ทั้งหมดของจีนเพิ่มขึ้น 12.2% สินทรัพย์ครัวเรือนในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 4.2% หากไม่นับญี่ปุ่น สินทรัพย์โดยรวมทั้งหมดของภูมิภาคเพิ่มขึ้น 11.3% แม้ว่าทั้งสองประเทศจะเป็นตัวอย่างของเอเชีย แต่เอเชียยังคงเป็นภูมิภาคที่แต่ละประเทศมีอัตราการเติบโตที่แตกต่างกัน เช่น กัมพูชา อินเดีย ศรีลังกา และฟิลิปปินส์ การเติบโตระดับเลขสองหลักของสินทรัพย์ทางการเงิน ในขณะที่ตลาดเก่ามีการเติบโตไม่รวดเร็วเท่า เช่นใน สิงคโปร์ เกาหลีใต้ หรือไต้หวัน

เช่นเดียวกันในทุกภูมิภาคของโลก หลักทรัพย์มีการเติบโตที่แข็งแกร่งที่สุดในบรรดากลุ่มสินทรัพย์ทั้งหมด โดยอยู่ที่ 13.5% รองลงมาได้แก่ สินทรัพย์ประเภทประกันและบำนาญซึ่งเพิ่มขึ้น 8.1% ในขณะที่เงินฝากธนาคารที่สามอยู่ที่ 7.7% อย่างไรก็ตาม เงินฝากยังคงเป็นกลุ่มสินทรัพย์หลักของพอร์ตโฟลิโอของสินทรัพย์รวมของครัวเรือนในเอเชีย โดยมีสัดส่วนอยู่ที่ 48.9% หลักทรัพย์กลับมาได้รับความนิยมอีกครั้งจนมีสัดส่วนอยู่ที่ 31.0% สิ้นปี 2564 ในขณะที่สินทรัพย์กลุ่มประกันและบำนาญลดลงอย่างต่อเนื่องอยู่ที่ 18.4%

การถอนเงินบำนาญก่อนกำหนดและอัตราการส่งเงินเข้ากองทุนประกันที่ลดลงช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 เพื่อลดผลกระทบทางด้านการเงินของโรคระบาด ส่งผลกระทบระยะยาวต่อสินทรัพย์ครัวเรือนเนื่องจากผู้มีเงินออม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้มีรายได้น้อยเพราะจะไม่สามารถเติมเต็มเงินเข้าไปได้ทันก่อนถึงวัยเกษียณ

แม้สินทรัพย์โดยรวมจะเติบโตช้าลงเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ปริมาณหนี้เพิ่มขึ้นในอัตราที่รวดเร็วขึ้นอยู่ที่ 10.3% ในปี 2564 ในกลุ่มประเทศเอเชียยกเว้นญี่ปุ่น การเติบโตของเงินกู้สูงขึ้นอยู่ที่ 12.2% โดยมีราคาสินค้าในตลาดการเคหะ ที่สูงขึ้นเป็นปัจจัยขับเคลื่อน เมื่อสิ้นปี 2564 สัดส่วนหนี้ต่อจีดีพีในเอเชียสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ที่ 62.6% ไม่รวมหนี้ในภาคครัวเรือนในญี่ปุ่น

หากมองภูมิภาคเอเชียเป็นประเทศ จะอยู่ในอันดับที่ 36 โดยมีสินทรัพย์ทางการเงินต่อประชากรสุทธิอยู่ที่ 11,780 ยูโร (หรือประมาณ 4 แสนบาท) แม้ว่าสามตลาดเอเชีย ได้แก่ ไต้หวัน สิงคโปร์ และญี่ปุ่น จะอยู่ใน 20 อันดับแรกที่มีสินทรัพย์ทางการเงินต่อประชากรสุทธิสูงที่สุดในโลก ในขณะเดียวกัน ห้าอันดับสุดท้ายที่มีสินทรัพย์ทางการเงินต่อประชากรสุทธิน้อยที่สุดในโลก ก็ล้วนเป็นประเทศที่อยู่ในเอเชียทั้งสิ้น ได้แก่ ศรีลังกา ฟิลิปปินส์ อินเดีย กัมพูชา อินโดนีเซีย และปากีสถาน หากไม่รวมสินทรัพย์ทางการเงินสุทธิของครัวเรือนในญี่ปุ่น สินทรัพย์ทางการเงินต่อประชากรสุทธิในเอเชียจะอยู่ที่ 8,710 ยูโร (หรือประมาณสามแสนบาท) เท่านั้น

ประเทศไทยมีสัดส่วนหนี้ต่อจีดีพีเป็นอันดับต้นๆในเอเชีย

สินทรัพย์ทางการเงินรวมของภาคครัวเรือนไทยเพิ่มขึ้น 9.4% ใน 2564 จากการฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งของตลาดหุ้นเมื่อหลักทรัพย์กลับมาโตในระดับตัวเลขสองหลัก ในขณะเดียวกัน เงินฝากธนาคารซึ่งยังคงเป็นมีสัดส่วนเป็นส่วนใหญ่ของสินทรัพย์ครัวเรือน อยู่ที่ 51% ของสินทรัพย์ทางการเงินทั้งหมด เพิ่มขึ้นเพียง 4.0% หลังจากเพิ่มขึ้น 10.6% ในปี 2020 ซึ่งเป็นปีแรกของ COVID-19 สินทรัพย์กลุ่มประกันชีวิตและบำนาญลดลงอย่างต่อเนื่องและเพิ่มขึ้นเพียง 1.7% ในปี 2564

การเติบโตของหนี้ครัวเรือนมีอัตราที่ชะลอตัวลงอยู่ที่ 3.8% ในปี 2564 แต่ยังคงสูงกว่าการเติบโตของจีดีพี จำนวนหนี้ต่อจีดีพีของภาคครัวเรือนไทยเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 90% ซึ่งเป็นอัตราที่สูงเป็นอันดับต้นในภูมิภาค ในขณะเดียวกันอัตราหนี้ต่อสินทรัพย์ปรับตัวดีขึ้น โดยมีหนี้ทั้งหมดอยู่ที่ 55% ของสินทรัพย์ทางการเงินรวมในปี 2564 อย่างไรก็ตาม ตัวเลขนี้ยังคงสูงกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาคที่ 28% ส่งผลให้สินทรัพย์ทางการเงินรวมเพิ่มขึ้น 17.0% ประเทศไทยยังคงอยู่ในกลุ่มประเทศอันดับท้ายๆ จาก 45 ประเทศจากการจัดอันดับสินทรัพย์ทางการเงินต่อประชากรสุทธิ โดยอยู่ที่ 4,450 ยูโร ในปี 2564 (หรือประมาณ 1.6 แสนบาท