หมอเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ เตือน ผู้สูงอายุที่มีอาการหูตึง เสี่ยงเป็นโรคสมองเสื่อมให้รีบพบแพทย์เพื่อทำการรักษาทันที ขณะที่ นายกสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย ชี้ การบริโภคอาหารต้องรู้พื้นฐานด้านอาหาร สารอาหาร โภชนาการ และโภชนบำบัด แนะผู้สูงอายุควรลดอาหารประเภทโชเดียม หวั่นเกิดภาวะไตเสื่อม
การอบรมหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตนวัตกรรมการจัดการสุขภาพยุคดิจิทัล หรือ HIDA รุ่นที่ 2 ณ โรงแรมชาเทรียม ริเวอร์ไซค์ ยังคงมุ่งเน้นการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญที่สามารถนำไปปฏิบัติและดูแลสุขภาพของตนเองได้
ในช่วงแรกมีการบรรยายวิชาการ หัวข้อเรื่อง “ระวังระหว่างวัยอะไรเปลี่ยนไปบ้างในร่างกายมนุษย์ “ โดยศาสตราจารย์นายประเสริฐ อัสสันตชัย นายกสมาคมพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ กล่าวว่า ปี 2050 ในอาเซียนไทยมีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นรองจากสิงคโปร์ โดยปี 2563 จำนวนผู้สู้งอายุเพิ่มขึ้นหากเทียบกับ จำนวนเด็กเกิดใหม่ มีจำนวนลดลง
โดยโรคที่ทำให้คนไทยเกิดความพิการและเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ผู้ชายจะพบว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมอง เบาหวาน สมองเสื่อม หัวใจขาดเลือก ส่วนผู้หญิง หลอดเลือดสมอง เบาหวาน หัวใจขาดเลือด ต้อกระจก หูตึง ปอดอุดกั้นเรื้อรัง โดยเฉพาะ หูตึงเป็นปัจจัยทำให้เกิดโรคสมองเสื่อม ดังนั้นไม่ควรชะล่าใจ หากผู้สูงอายุมีอาการหูตึงให้รีบพบแพทย์เพื่อทำการรักษา
ขณะที่ โรคเรื้อรังที่เกิดขึ้นให้กลุ่มผู้สูงอายุ เช่น โรคเกี่ยวกับกระดูก กล้ามเนื้อ และข้อ โรคทางอายุรกรรมทั่วไป ความดันโลหิตสูง เบาหวานไขมัน ภาวะขาดสารอาหาร โรคติดเชื้อ ความเสื่อมของระบบสมอง เช่นสมองเสื่อม พาร์กินสัน ภาวะซึมสับสนเฉียบพลัน ภาวะซึมเศร้า
ดังนั้น ความชราไม่ใช่โรค แต่ที่จริงมีภาวะของโรคซ่อนอยู่ที่สามารถรักษาได้เช่นภาวะหกล้ม มีหลายโรคในเวลาเดียวกัน เป็นโรคระบบประสาท โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด โรคระบบกล้ามเนื้อข้อต่อและกระดูก
หลักเวชศาสตร์ดูแลผู้สูงอายุ กำหนดลักษณะเฉพาะของผู้สูงอายุที่แตกต่างจากผู้ป่วยทั่วไป
R-A-M-P-S ประกอบด้วย Reduced body reserve พลังสำรองร่างกายลดลง
Atypical presentation อาการแสดงที่ไม่แน่นอน เช่น ภาวะหกล้ม เดินหรือเคลื่อนไหวไม่ได้ สติปัญญาเสื่อมถอย ปัสสาวะอุจจาระราด Multiple pathology มีหลายโรคในเวลาเดียวกัน เช่น โรคระบบประสาท โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด โรคระบบกล้ามเนื้อข้อต่อและกระดูก
Polypharmacy ได้รับยาหลายชนิด และ Social adversity ปัญหาด้านสังคม เช่น ความสัมพันธ์ภายในครอบครัว ผู้ดูแล โดยเฉพาะผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อม การประทุษร้ายทางกาย การดูแลไม่เหมาะสม การให้อาหาร การให้ยา แผลกดทับ การดูแลสายสวนทางการแพทย์ต่างๆ เรื่องของเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม ลักษณะบ้าน เพื่อนบ้าน ชมรมผู้สูงอายุ องค์กรส่วนท้องถิ่น
เมื่อร่างกายของมนุษย์เข้าสู่วัยผู้สูงอายุ จะเกิดการเปลี่ยนแปลงระบบหัวใจและหลอดเลือด โรคการเปลี่ยนแปลงระบบหายใจและปอด การเปลี่ยนแปลงของระบบต่อมไร้ท่อ การเปลี่ยนแปลงระบบเลือด เกิดภาวะระดับเลือดลดลงทำให้เกิดโลหิตจาง การเปลี่ยนแปลงระบบทางเดินอาหารการเปลี่ยนแปลงระบบสมอง การเปลี่ยนแปลงระบบไต การเปลี่ยนแปลงระบบทางเดินปัสสาวะการเปลี่ยนแปลงกล้ามเนื้อ ทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อพร่อง การเปลี่ยนแปลงระบบการเผาผลาญอาหาร โดยพบว่า ผู้สูงอายุในประเทศไทยจำนวน 55.5% ขาดวิตามิน E โดยจะพบมากในธัญญพืช รองลงมา เกลือแร่จำนวน 38.8% พบมากในพืชสีเขียว ขณะที่ชาวต่างชาติ จำนวน 20% พบว่า ขาดวิตามินบี 12 โดยวิตามินบี 12 พบมากในน้ำปลา
การเปลี่ยนแปลงของมวลกระดูก เนื้อกระดูกบางลง แตกหักง่าย การเปลี่ยนแปลงของข้อ ทำให้เกิดข้อเข่าเสื่อม ข้อนิ้วมือเสื่อม การเปลี่ยนแปลงของระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้เกิดวัณโรคกำเริบ และการฉีดวัคซีนอาจไม่ได้ผลเต็มที่ การเปลี่ยนแปลงของดวงตา และการเปลี่ยนแปลงการได้ยิน
พร้อมกันนี้ ศาสตราจารย์นายประเสริฐ กล่าวถึง เวชศาสตร์ผู้สูงอายุ ว่า เป็นสาขาหนึ่งในทางการแพทย์ที่เน้นการดูแลผู้สูงอายุแบบองค์รวมในด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้ ทางคลินิกทั้งกายและจิต การฟื้นฟูบำบัด ด้านสังคม การส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค โดยพฤฒาวิทยา เป็นศาสตร์ที่กล่าวถึงการประยุกต์ความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์กับขบวนการความชรา
สำหรับวิธีการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคในผู้สูงอายุ ควรได้รับสารอาหารที่เหมาะสม รับประทานอาหารให้มีความหลากหลาย และอาจต้องใช้วิตามินเสริม การหลีกเลี่ยงภาวะอ้วน การมีสุขภาพจิตที่ดี การออกกำลังกายสม่ำเสมอ ไม่เกิดอุบัติเหตุ ลดละเลิกอบายมุข ต้องหาสาเหตุของการเกิดโรคโดยการตรวจสุขภาพประจำปี
นอกจากนี้ ผู้สูงอายุควรมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เช่นมีเพื่อน เข้าชมรมผู้สูงอายุ สภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ เช่น ทางเดินลาด การฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อ เช่น ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ บาดทะยัก คอตีบไอกรน วัคซีนป้องกันงูสวัด และ การใช้ยาที่ถูกต้อง ดังนั้น การดูแลผู้สูงอายุต้องใช้การทำงานที่เป็นทีมช่วยดูแลเพราะเป็นปัญหาผู้สูงอายุเป็นเรื่องที่สลับซับซ้อน เช่น ผู้ดูแล แพทย์ พยาบาล ทันตแพทย์ นักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัด นักกำหนดอาหาร นักสังคมสงเคราะห์ และองค์กรท้องถิ่น
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด็อกเตอร์ชนิดา ปโชติการ นายกสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย กล่าวบรรยายในหัวข้อ “ อาหารอะไรที่ตอบโจทย์ร่างกายเรา “ ว่า ต้องรู้การกินอาหารอย่างไรให้เหมาะสมกับร่างกาย อาหารอะไรที่ตอบโจทย์ร่างกาย ดังนั้น การกินอาหารต้องกินอย่างมีสติ เบื้องต้นต้องรู้พื้นฐานด้านอาหาร สารอาหาร โภชนาการ และโภชนบำบัด การประเมินพลังงานที่ต้องการของตนเองอย่างง่าย รวมถึง ฉลากโภชนาการและสัญลักษณ์ทางเลือก โดยอาหารที่เป็นกลุ่มอาหาร 5 หมู่ รวมน้ำ แต่สารอาหารเป็นส่วนประกอบในอาหารที่ทำให้ร่างกายทำงานได้ตามปกติเช่นคาร์โบไฮเดรต จึงไม่จำเป็นต้องกินครบ 5 หมู่
ทั้งนี้ ให้กินอาหารตามวัย ตามความต้องการของร่างกายและคุณภาพที่เหมาะสมที่เป็นเรื่องโภชนาการ โดยเฉพาะ ผู้สูงอายุต้องลดอาหารประเภทโซเดียม เนื่องจาก ผู้สูงอายุเริ่มมีภาวะไตเสื่อม อาจจะส่งผลเสียต่อไตได้
สำหรับพฤติกรรมการเกิดโรคที่ไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น การดื่มเหล้า สูบบุหรี่ กินอาหารหวานมันเค็ม ไม่ออกกำลังกา โดยมี 6 โรคที่ไม่ติดต่อเรื้อรัง คือ เบาหวาน ความดันสูง ถุงลมโป่งพอง หัวใจ มะเร็ง และ อ้วนลงพุง โดยในปี 2568 สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กำหนด 9 เป้าหมายโรคที่ไม่ติดต่อเรื้อรัง ลดการบริโภคเกลือโซเดียม 30% ภาวะเบาหวานและอ้วนไม่เพิ่มขึ้น เพื่อเป้าหมายลดการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรจากโรคที่ไม่ติดต่อเรื้อรัง 25%
สำหรับอาหารที่มีอิทธิพลต่อการเกิดโรคที่ไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น เนื้อสัตว์ติดมัน ไขมัน น้ำตาล รวมถึง อาหารที่มีส่วนประกอบมาก ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคได้ ดังนั้น การกำหนดอาหาร กำหนดชีวิต ลดความเสี่ยงการเกิดโรคที่ไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยใช้วิธีลดน้ำหนักที่เกิน ลดอาหารที่มีแคลอรี่สูง ไม่บริโภคเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลซึ่งทำให้อ้วน ลดบริโภคเนื้อสัตว์ใหญ่ เนื้อสัตว์แปรรูป เพื่อลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ เพิ่มผักและผลไม้ในปริมาณที่เหมะสม ลดไขมันอิ่มตัว เพื่อลดคอเลสเทอรอล ความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ ลดอาหารเกลือสูงโซเดียมสูง ลดความดันโลหิตสูง
ดังนั้น ควรเริ่มจากการประเมินน้ำหนักตัวพอดีหรือไม่ โดยใช้วิธีการคำนวณดัชนีความหนาของร่างกาย ใช้วิธีการคำนวนเส้นรอบเอว หากพบว่า ผู้ชายมีเส้นรอบเอวชายเกิน 36 นิ้ว ผู้หญิงมีเส้นรอบเอวเกิน 32 นิ้ว เข้าสู่ภาวะอ้วนลงพุง การสะสมไขมันหน้าท้อง เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจหลอดเลือด โรคเบาหวาน ทำให้การกินอาหารต้องคำนึงถึง พลังงานที่ร่างกายจะนำไปใช้
สำหรับอาหารสุขภาพนั้น องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ได้แนะนำการบริโภคเพื่อลดปัญหาโรคหลอดเลือด โรคมะเร็ง โรคอ้วน และ โรคเบาหวาน คือ จำกัดการบริโภคไขมันไม่เกินร้อยละ 15-30 ของพลังงาน คาร์โบไฮเดต ร้อยละ 55-70 ของพลังงานทั้งวัน หรือ 2 ทัพพีต่อมื้อ บริโภคน้ำตาลไม่เกินร้อยละ 10 ของคาร์โบไฮเดต หรือ 6 ช้อนชาต่อวัน บริโภคโปรตีนร้อยละ 10-15 ของพลังงาน ผักผลไม้วันละ 400 กรัมขึ้นไป เกลือไม่เกินวันละ 5 กรัม และออกกำลังกายโดยการเดินหรือกิจกรรมวันละ 1 ชั่วโมง
นอกจากนี้ยังมีแหล่งที่มาของอนุมูลอิสระอาจทำให้เกิดโรคต่างๆ เช่น แสงแดด รังสี บุหรี่ การอักเสบ อากาศเสีย จะทำให้ DNA ถูกทำลาย ขณะเดียวกันการบริโภคสมุนไพร อาจจะทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยทางร่างกาย โดยการบริโภคของสมุนไพรต้องมีปริมาณเหมาะสมกับร่างกาย เหมาะสมกับธาตุและโครงสร้างของร่างกาย รวมถึง การอ่านฉลากมีความสำคัญในการบริโภคอาหาร เนื่องจากมีความสำคัญต่อสุขภาพของร่างกาย รวมถึงโรคของแต่ละบุคคล หรือ อวัยวะที่หายไป
ศาสตราจารย์ด็อกเตอร์ชนิดา กล่าวสรุปปิดท้ายการบรรยาย โดยเน้นย้ำว่า การรับประทานอาหาร ต้องกินอย่างมีสติ มีการประเมินร่างกาย ควรกินอาหารให้มีปริมาณพอดี พอเหมาะกับร่างกาย ไม่กินอาหารมากไปหรือน้อยเกินไป จึงจะส่งผลดีกับร่างกาย.