วันที่ 26 ต.ค.65 ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก Yong Poovorawan  ระบุข้อความว่า ...

โควิด 19 โรคที่จะไม่หายจากไป วัคซีนยังมีความจำเป็น

Covid-19 จะยังคงอยู่กับเราตลอดไป และมีการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรม ตามหลักวิวัฒนาการ ของสิ่งมีชีวิต เพื่อการดำรงอยู่

เมื่อประชากรส่วนใหญ่มีภูมิต้านทาน ไม่ว่าจะจากการฉีดวัคซีน การติดเชื้อ หรือฉีดวัคซีนร่วมกับการติดเชื้อ จะทำให้ร่างกายสามารถตอบสนองต่อไวรัสได้เป็นอย่างดีถึงแม้ว่าจะมีการกลายพันธุ์ไปบ้าง ความรุนแรงของโรคจึงลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับในระยะแรกที่เราไม่มีภูมิต้านทานกันเลย

ประชากรส่วนใหญ่ขณะนี้ทั่วโลกเชื่อว่ามีภูมิต้านทานบางส่วนเกิดขึ้นจากการติดเชื้อ และวัคซีน จึงทำให้ความรุนแรงของทั่วโลกลดลง เห็นได้จากอัตราการเสียชีวิตลดลงอย่างมากถ้าเปรียบเทียบกับปีแรก

ถึงแม้ว่าไวรัสจะมีการกลายพันธุ์ การกลายพันธุ์ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นที่หนามแหลม spike ส่วนนี้จะเป็นส่วนสำคัญในการป้องกันการติดเชื้อ จึงทำให้สามารถติดเชื้อได้ซ้ำขึ้นได้ แต่ภูมิต้านทานส่วนอื่นเช่นระดับเซลล์ และการกำจัดไวรัสโดยอาศัยเซลล์ ยังคงอยู่ ทำให้การกำจัดไวรัสเป็นไปได้ดีกว่าคนที่ไม่มีภูมิต้านทาน ความรุนแรงของโรคจึงลดลง ถึงแม้ว่าจะมีการติดเชื้อซ้ำ

ระยะเวลาที่ผ่านมาเกือบ 3 ปี เห็นได้ชัดเจนว่าวัคซีนไม่ว่าจะเป็นเชื้อตาย ไวรัส Vector หรือ mRNA ไม่สามารถที่จะป้องกันการติดเชื้อได้ วัคซีนทุกตัวลดความรุนแรงของโรคได้ไม่ต่างกัน และต้องให้อย่างน้อย 3 เข็มขึ้นไป และยังจำเป็นที่จะต้องมีการกระตุ้นเป็นครั้งคราวเช่นเดียวกันกับไข้หวัดใหญ่ ความจำเป็นในการกระตุ้นยังต้องมีต่อไปโดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง 608

เราได้เสียโอกาสไปมากกับการใช้วัคซีนเชื้อตายในระยะแรก ทั้งที่ขณะนี้ก็มีอีกหลายประเทศผลิตวัคซีนเชื้อตายขึ้นมาเช่น ฝรั่งเศส (Valneva) อินเดีย (Covaxin) และได้ขึ้นทะเบียนใช้ในภาวะฉุกเฉินแล้วเช่นกัน การให้วัคซีนเชื้อตายแต่เริ่มต้น เป็นการให้ไวรัสทั้งตัว เปรียบเสมือนจำลองการติดเชื้อ ซึ่งต่างกับวัคซีนไวรัส Vector และ mRNA จะมีส่วนของโปรตีนเฉพาะหนามแหลมเท่านั้น

ในปัจจุบันนี้เราได้วัคซีนสร้างภูมิต้านทานโดยธรรมชาติ จากการติดเชื้อ ต่อวัน อาจจะมากกว่าการฉีดวัคซีนต่อวันของบ้านเรา

 

 

ขอบคุณ โพสต์เฟซบุ๊ก Yong Poovorawan