เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 24 ต.ค.65 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย รายงานยังมีน้ำท่วมในพื้นที่รวม 28 จังหวัด 137 อำเภอ 868 ตำบล 5,866 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบรวม 437,461 แยกเป็น ภาคใต้ 2 จังหวัด (สุราษฎร์ธานี ตรัง) รวม 2 อำเภอ 7 ตำบล 30 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 380 ครัวเรือน ขณะที่ผลกระทบจากฝนตกหนักในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ยังมีสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และ น้ำล้นตลิ่งในพื้นที่ 26 จังหวัด 135 อำเภอ 861 ตำบล 5,836 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 437,081 ครัวเรือน
ภาพรวมมีแนวโน้มระดับน้ำลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่วนภาคกลางบางจังหวัดระดับน้ำยังทรงตัว ทั้งนี้ ปภ. ได้ประสานจังหวัดดูแลช่วยเหลือผู้ประสบภัยและเร่งระบายน้ำเพื่อคลี่คลายสถานการณ์ภัย
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย ในฐานะกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) รายงานยังคงมีน้ำท่วมในพื้นที่รวม 28 จังหวัด 137 อำเภอ 868 ตำบล 5,866 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบรวม 437,461 ครัวเรือน ซึ่งอิทธิพลของร่องมรสุมยังคงพาดผ่านภาคใต้ตอนกลาง ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักต่อเนื่องและฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่
โดยในช่วงวันที่ 16 – 24 ต.ค. 65 ส่งผลให้เกิดอุทกภัยในภาคใต้รวม 8 จังหวัด ได้แก่ ภูเก็ต พังงา สตูล กระบี่ สงขลา ตรัง สุราษฎร์ธานี และนราธิวาสรวม 27 อำเภอ 74 ตำบล 299 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 9,885 ครัวเรือน ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์ในพื้นที่ 2 จังหวัด รวม 2 อำเภอ 7 ตำบล 30 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 380 ครัวเรือน ดังนี้
1.สุราษฎร์ธานี เกิดฝนตกหนักในพื้นที่ประกอบกับมีน้ำป่าไหลหลากจากจังหวัดกระบี่เข้าท่วมในพื้นที่อำเภอพระแสง รวม 4 ตำบล 21 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 210 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
2.ตรัง เกิดฝนตกหนักน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่อำเภอเมืองตรัง รวม 3 ตำบล 9 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 170 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
ขณะที่ผลกระทบจากฝนตกหนักในช่วงที่ผ่านมา รวมถึงการระบายน้ำจากเขื่อนลงแม่น้ำสายหลักและลำน้ำสาขา ซึ่งส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง และน้ำท่วมขัง โดยตั้งแต่วันที่ 28 ก.ย. – 22 ต.ค. 65 เกิดสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่รวม 59 จังหวัด 353 อำเภอ 1,879 ตำบล 11,768 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 527,836 ครัวเรือน ผู้เสียชีวิต 12 ราย
ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมในพื้นที่รวม 26 จังหวัด ได้แก่ พิษณุโลก พิจิตร นครสวรรค์ ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ยโสธร นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี ลพบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม นครนายก สระบุรี และปราจีนบุรี รวม 135 อำเภอ 861 ตำบล 5,836 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 437,081 ครัวเรือน แยกเป็น
1. พิษณุโลก น้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบางระกำ และอำเภอพรหมพิราม รวม 17 ตำบล 87 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 3,903 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
2. พิจิตร น้ำท่วมในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอสามง่าม อำเภอบึงนาราง อำเภอเมืองพิจิตร อำเภอตะพานหิน อำเภอโพทะเล อำเภอโพธิ์ประทับช้าง และอำเภอบางมูลนาก รวม 21 ตำบล 256 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 3,017 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
3. นครสวรรค์ น้ำท่วมในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอพยุหะคีรี อำเภอโกรกพระ อำเภอเมืองนครสวรรค์ อำเภอท่าตะโก อำเภอเก้าเลี้ยว อำเภอลาดยาว และอำเภอชุมแสง รวม 33 ตำบล 183 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 27,565 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
4. ขอนแก่น น้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองขอนแก่น อำเภอชนบท อำเภอน้ำพอง อำเภอโคกโพธิ์ชัย อำเภอบ้านไผ่ และอำเภอแวงใหญ่ รวม 13 ตำบล 48 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 120 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
5. มหาสารคาม น้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองมหาสารคาม อำเภอกันทรวิชัย อำเภอโกสุมพิสัย และอำเภอเชียงยืน รวม 46 ตำบล 557 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 13,565 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
6. กาฬสินธุ์ น้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอร่องคำ อำเภอฆ้องชัย อำเภอกมลาไสย อำเภอกุฉินารายณ์ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ และอำเภอยางตลาด รวม 24 ตำบล 181 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 6,311 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
7. ร้อยเอ็ด น้ำท่วมในพื้นที่ 10 อำเภอ ได้แก่ อำเภอโพนทราย อำเภอจังหาร อำเภอเชียงขวัญ อำเภอโพธิ์ชัย อำเภอพนมไพร อำเภอเสลภูมิ อำเภอธวัชบุรี อำเภอหนองฮี อำเภอทุ่มเขาหลวง และอำเภอสุวรรณภูมิ รวม 31 ตำบล 140 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 5,844 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
8. ยโสธร น้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอค้อวัง อำเภอคำเขื่อนแก้ว อำเภอเมืองยโสธร และอำเภอมหาชนะชัย รวม 20 ตำบล 47 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 24 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
9. นครราชสีมา น้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอพิมาย อำเภอชุมพวง และอำเภอเมืองยาง รวม 18 ตำบล 167 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,433 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
10. บุรีรัมย์ น้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอสตึก และอำเภอคูเมือง รวม 7 ตำบล 30 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,105 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
11. สุรินทร์ น้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอชุมพลบุรี อำเภอท่าตูม และอำเภอรัตนบุรี รวม 20 ตำบล 91 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 20,246 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
12. ศรีสะเกษ น้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองศรีสะเกษ อำเภอกันทรารมย์ อำเภอราษีไศล อำเภอยางชุมน้อย และอำเภอศิลาลาด รวม 30 ตำบล 238 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 7,983 ครัวเรือน อพยพประชาชน 913 ครัวเรือน ไปยังศูนย์พักพิงชั่วคราว 35 จุด มีผู้เสียชีวิต 3 ราย ระดับน้ำลดลง
13. อุบลราชธานี น้ำท่วมในพื้นที่ 9 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองอุบลราชธานี อำเภอวารินชำราบ อำเภอสว่างวีระวงศ์ อำเภอตาลสุม อำเภอดอนมดแดง อำเภอสำโรง อำเภอพิบูลมังสาหาร อำเภอเขื่องใน อำเภอสิรินธร รวม 35 ตำบล 260 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 9,204 ครัวเรือน อพยพประชาชน 281 ชุมชน ไปยังศูนย์พักพิงชั่วคราว 106 จุด ระดับน้ำลดลง
14. อุทัยธานี น้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองอุทัยธานี และอำเภอหนองขาหย่าง รวม 13 ตำบล 60 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 5,195 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
15. ชัยนาท น้ำท่วมในพื้นที่ 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองชัยนาท อำเภอวัดสิงห์ อำเภอมโนรมย์ อำเภอสรรพยา อำเภอหนองมะโมง อำเภอหันคา อำเภอเนินมะขาม และอำเภอสรรคบุรี รวม 42 ตำบล 284 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 14,914 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
16. สิงห์บุรี น้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภออินทร์บุรี อำเภอเมืองสิงห์บุรี อำเภอท่าช้าง อำเภอพรหมบุรี อำเภอบางระจัน และอำเภอค่ายบางระจัน รวม 25 ตำบล 167 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 20,419 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 6 ราย ระดับน้ำทรงตัว
17. อ่างทอง น้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอวิเศษชัยชาญ อำเภอป่าโมก อำเภอไชโย อำเภอเมืองอ่างทอง อำเภอโพธิ์ทอง และอำเภอแสวงหา รวม 50 ตำบล 297 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 21,898 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว
18. พระนครศรีอยุธยา น้ำท่วมในพื้นที่ 15 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเสนา อำเภอผักไห่ อำเภอบางบาล อำเภอบางไทร อำเภอบางปะอิน อำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภอบางปะหัน อำเภอท่าเรือ อำเภอนครหลวง อำเภอมหาราช อำเภออุทัย อำเภอวังน้อย อำเภอภาชี อำเภอบ้านแพรก และอำเภอบางซ้าย รวม 158 ตำบล 1,020 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 80,111 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 1 ราย ระดับน้ำทรงตัว
19. ปทุมธานี น้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองปทุมธานี และอำเภอสามโคก รวม 21 ตำบล 62 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 5,619 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
20. นนทบุรี น้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอปากเกร็ด อำเภอบางใหญ่ อำเภอบางกรวย อำเภอเมืองนนทบุรี อำเภอบางบัวทอง และอำเภอไทรน้อย รวม 48 ตำบล 316 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 114,562 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
21. ลพบุรี น้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองลพบุรี และอำเภอบ้านหมี่ รวม 14 ตำบล 63 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 4,848 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
22. สุพรรณบุรี น้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองสุพรรณบุรี อำเภอบางปลาม้า และอำเภอสองพี่น้อง รวม 43 ตำบล 271 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 26,105 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว
23. นครปฐม น้ำท่วมในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองนครปฐม อำเภอกำแพงแสน อำเภอดอนตูม อำเภอพุทธมณฑล อำเภอสามพราน อำเภอบางเลน และอำเภอนครชัยศรี รวม 94 ตำบล 791 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 20,382 หมู่บ้าน ระดับน้ำลดลง
24. นครนายก น้ำท่วมในพื้นที่อำเภอองครักษ์ รวม 10 ตำบล 94 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 6,572 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
25 .สระบุรี น้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอหนองโดน อำเภอบ้านหมอ และอำเภอดอนพุด รวม 8 ตำบล 52 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,065 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
26. ปราจีนบุรี น้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองปราจีนบุรี อำเภอประจันตคาม อำเภอศรีมหาโพธิ์ อำเภอบ้านสร้าง และอำเภอศรีมโหสถ รวม 20 ตำบล 124 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 12,980 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
สำหรับการให้ความช่วยเหลือกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดที่ประสบภัยได้ประสานจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้เร่งระบายน้ำท่วมและช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างต่อเนื่อง พร้อมจัดเจ้าหน้าที่เข้าสำรวจประเมินความเสียหาย เพื่อดำเนินการช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ ต่อไป
ทั้งนี้ ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสาธารณภัย สามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือทางไลน์
“ปภ.รับ แจ้งเหตุ 1784” โดยเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM และสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ ประชาชนยังสามารถติดตามประกาศการแจ้งเตือนภัยได้ที่แอปพลิเคชัน “THAI DISASTER ALERT”