ชาวสตูลเฮ!! “ลาโตส” หรือสาหร่ายขนนก  อาหารพื้นถิ่นทานได้ตลอดทั้งปีแล้ว  หลังหนุ่มสตูลดีกรี ป.โท ใช้นวัตกรรมการเลี้ยง ในระบบน้ำหมุนเวียนแบบปิด  พร้อมส่งต่อชุมชน
……………………

…………
ที่ศูนย์เรียนรู้นครรีละงูปาร์ค   ตั้งอยู่หมู่ที่ 2  บ้านควนสำราญ  ตำบลละงู  อำเภอละงู   จังหวัดสตูล  ซึ่งมีนายวศินะ   รุ่งเรือง   หนุ่มสตูลดีกรีปริญญาโทสาขาประมง วัย 28 ปี  นำชมโรงเรือนเลี้ยงสาหร่ายขนนก  (หรือ  ลาโตส ภาษาถิ่น) ซึ่งเป็นนวัตกรรมการเลี้ยงสาหร่ายขนนกในระบบน้ำหมุนเวียนแบบปิดบนพื้นที่ 30 ไร่ แห่งเดียวในจังหวัดสตูล 

เป็นการนำสาหร่ายในธรรมชาติผ่านการเพาะเลี้ยงแบบอินทรีย์ในระบบน้ำหมุนเวียนแบบปิด  จนสามารถเลี้ยงสาหร่ายลาโตสจากพ่อแม่พันธุ์ธรรมชาติ   ให้เกิดเป็นสปอร์ในโรงเรือนแบบปิดได้หลายต่อหลายรุ่นจากการลองผิดลองถูก  จนขยายต้นอ่อนสู่ระบบการเลี้ยงในฟาร์มนับเป็นความท้าทาย และมุ่งมั่นกว่าจะมาเป็นวันนี้

สาหร่ายขนนก  มีการดูแลคล้ายปะการังที่อ่อนไหวง่าย  การเพิ่มคาร์บอนธาตุเพื่อการสังเคราะแสงในพืช  อาหารจุลินทรีย์ย่อยเป็นแร่ธาตุไนโตรเจน  ซึ่งการเลี้ยงจะใช้  1  ตะกร้ามีสาหร่ายฯ  100 กรัม ผ่านไป 2 สัปดาห์จะมีสาหร่ายเพิ่มขึ้น 300 กรัม  ทำให้เราตัดแยกออก (เหมือนเก็บตัดผักบุ้งได้ตลอดทั้งปี)   โดยจะส่งขายกิโลกรัมละ 200 บาทถึง 250 บาท (ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์อินทรีย์) 

นอกจากนี้ที่ศูนย์เรียนรู้นครรีละงูปาร์ค   ยังร่วมกับมูลนิธิยูนูสสร้างโมเดลธุรกิจการเลี้ยง  สาหร่ายขนนก  (หรือ  ลาโตส ภาษาถิ่น)  ในถังเพื่อส่งต่อความรู้ให้กับชุมชนเป็นการสร้างงานและรายได้และอนุรักษ์สาหร่ายให้อยู่คู่กับชุมชนและชาวสตูลตลอดไป หลังพบว่าสาหร่ายชนิดนี้กำลังหาทานได้ยากขึ้นเนื่องจากหนึ่งปีมีให้รับประทานเพียง 3 เดือนแล้วเท่านั้นที่เป็นช่วงฤดูแล้งและร้อนจัด เพราะไม่ชอบฝน

“น้องม่อน”  หรือ  นายวศินะ   รุ่งเรือง    ศูนย์เรียนรู้นครรีละงูปาร์ค    บอกว่า   จุดเริ่มต้นของการหันมาเลี้ยงสาหร่ายขนนก  หรือ  ลาโตส  เพราะความชอบกิน และเห็นว่าสาหร่ายชนิดนี้มีเฉพาะฤดูร้อนเท่านั้นที่จะหามากินได้   เชื่อว่าตลาดมีความต้องการสูงและจะทำอย่างไรให้มีผลผลิตออกมาตลอดทั้งปี  อีกทั้งชุมชนมีรายได้จึงเป็นที่มาของการตั้งศูนย์เรียนรู้ในครั้งนี้    

จุดเริ่มต้นเลี้ยงมาถึง 4 ปี ปีแรกสนุกและตื่นเต้นมากับสิ่งที่ทำ  แม้ไม่ประสบความสำเร็จเท่าไหร่  มาปีที่ 2 และปีที่3  รู้ความต้องการของสาหร่ายชนิดนี้และสามารถเพาะเลี้ยงเองได้ จนวันนี้สามารถให้ผลผลิตเก็บทุกวัน 20-60 กก.สร้างรายได้หลักหมื่น  เป้าหมายจะขึ้นขยายบ่อเลี้ยงพร้อมทำงานร่วมกับมูลนิธิยูนูส   สร้างอาชีพเสริม โมเดลสู่ชุมชน ต่อยอดเป็นอาชีพ รายได้ เดือนที่ 3 – 4 ก็สามารถหลุดทุนได้   นอกจากนี้ที่นี่ยังมีบ่อตกปลา  มีค่ายเรียนรู้ฟาร์มสเตย์  ครัวในฟาร์ม   ศูนย์เรียนรู้อนุรักษ์ป่าชายเลนด้วย  

นายอดิศักดิ์   รุ่งเรือง  คุณพ่อของน้องหม่อน ซึ่งมีดีกรีเป็นปราชญ์ปลานิล   เล่าว่า   สำหรับการทานสาหร่ายขนนก หรือ ลาโตส  ซึ่งมีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม ทำให้ต้องทานแบบสด ๆ ไม่สามารถนำไปแช่ตู้เย็นได้  และเป็นอาหารท้องถิ่นชั้นเลิศ   ซึ่งทางศูนย์ฯเห็นว่านี่คือจุดแข็งทำให้ผู้บริโภคที่ชื่นชอบทานต้องมาหาทานได้ที่จังหวัดสตูลเท่านั้น อีกทั้งการทานหากรู้เคล็ดลับก็จะทานสาหร่ายด้วยความอร่อย โดยเฉพาะสาหร่าย (ลาโตส) ของที่นี่ที่เลี้ยงแบบอินทรีย์ไม่มีสิ่งสกปรกก่อนรับประทานเพียงนำสาหร่ายที่ต้องการจะทานไปจุ่มน้ำ 1-2 ครั้งก็ยกใส่จานราดด้วยน้ำจิ้ม กี้เซะ (ที่มีส่วนผสมของ  ถั่วปน  มะพร้าวคั่ว  กะปิ  พริก) ทานพอคำก็จะอร่อย 

สำหรับสรรพคุณของ  สาหร่ายขนนก   มีสรรพคุณต้านอนุมูลอิสระ  มีวิตามิน  ไอโอดีน  และ กรดอะมิโนหลายชนิดที่พืชบกไม่มี
……………