ชมรมชาวใต้สระแก้ว การจัดงานบุญประเพณีสารทเดือนสิบสองแผ่นดินไทย-กัมพูชา ประจำปี 2565 โดยไฮไลท์ของงาน การชิงเปรต พร้อมชิมอาหารรสชาติปักษ์ใต้
สระแก้วัดงานประเพณีบุญสารทเดือนสิบ สองแผ่นดิน ไทย-กัมพูชา ประจำปี 2565 เริ่มวันที่ 24 กันยายนนี้ ที่ศูนย์การค้าอินโดจีนอรัญประเทศ จังหวัดสระแก้วอย่างยิ่งใหญ่ชมรมชาวใต้จังหวัดสระแก้ว หอการค้าจังหวัดสระแก้ว และสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวและบริการจังหวัดสระแก้ว ร่วมกับสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานนครนายก ได้กำหนดจัดงานประเพณีบุญสารทเดือนสิบ-สองแผ่นดินไทย-กัมพูชา ประจำปี 2565 ซึ่งเป็นประเพณีแห่งความเชื่อ และการแสดงความกตัญญู ถือเป็นงานประเพณีแห่งความสุขของครอบครัว ที่ได้รวมญาติพี่น้องมาอยู่พร้อมหน้ากัน โดยการทำบุญอุทิศส่วนกุศล แด่บรรพบุรุษผู้ล่วงลับ
เมื่อเวลา 20.00 น.ของเมื่อคืนที่ผ่านมา นายปริญญา โพธิสัตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้วร่วมกับนายอุม เรียไตร ผู้ว่าราชการจังหวัดบันเตียเมียนเจย เป็นประธานเปิดงานร่วมกันพิธีพร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการทั้งสองจังหวัดร่วมพิธีเปิดในครั้งนี้ โดยนายชนาธิป โคกมณี นายอำเภอประเทศ กล่าวต้อนรับว่า อำเภออรัญประเทศมีความยินดีมากที่ท่านผู้ว่าราชการทั้งสองจังหวัดมาเปิดงานในครั้งนี้ คาดหวังว่าปีนี้จะมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่ให้มีความคึกคัก เนื่องจากเป็นการจัดงานร่วมกันครั้งแรก ระหว่างไทย และกัมพูชา กำหนดจัดงานเป็นเวลา 10 วัน 10 คืนในระหว่างวันที่ 24 กันยายนถึง 3 ตุลาคม 2565 ณ ศูนย์การค้าอินโดจีน (อรัญประเทศ) ตำบลป่าไร่ อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว โดยรูปแบบของการจัดงาน ประกอบด้วยวันที่ 24 กันยายน เวลา 15.00 น. ขบวนแห่เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูต่อบุพการี ที่ล่วงลับไปแล้วตามความเชื่อทางพุทธศาสนา เริ่มขบวนแห่ (พร้อมขบวนแห่หุ่นเปรต) จากตลาดหัวมุมเมืองอรัญประเทศ วนไปรอบบริเวณตลาดเทศบาลเมืองอรัญประเทศ มายังลานพระสยามเทวาธิราช (อรัญประเทศ) สิ้นสุดหน้าสถานีรถไฟอรัญประเทศ เวลา 18.30 น. เริ่มพิธีเปิดงานโดยผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว และผู้ว่าราชการจังหวัดบันเตียเมียนเจย ประธานร่วมในพิธีเปิด ชมมหรสพสมโภชตลอดงาน 10 วัน 10 คืน
นายเกรียงศักดิ์ หลเมฆ ปลัดอาวุโสอำเภอโคกสูง ในฐานะกรรมการที่ปรึกษาชมรมชาวใต้จังหวัดสระแก้ว และในนามคณะกรรมการจัดงานประเพณี “บุญสารทเดือนสิบสองแผ่นดิน ไทย - กัมพูชา ประจำปี 2565 ด้วย ชมรมชาวใต้จังหวัดสระแก้ว หอการค้าจังหวัดสระแก้ว และสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวและบริการจังหวัดสระแก้ว ร่วมกับ สำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานนครนายก ได้เล็งเห็นความสำคัญของการสืบสานและอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรม ที่มีการสืบสอดมายาวนานนับตั้งแต่บรรพบุรุษของชนชาวไทย โดยเฉพาะชาวภาคใต้ของประเทศไทย และชาวกัมพูชา ซึ่งยังเป็นการขับเคลื่อนการพัฒนาจังหวัดสระแก้วด้วยการใช้โมเดลทางเศรษฐกิจใหม่ เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ(Bioeconomy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ซึ่งเป็น BCG Model ด้านการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ จึงได้ร่วมมือกันกำหนดให้มีการจัดงานประเพณี “บุญสารทเดือนสิบสองแผ่นดิน ไทย - กัมพูชา ประจำปี 2565 ขึ้น เพื่อเป็นการอนุรักษ์และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมให้เป็นที่ประจักษ์แก่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศ และทำให้ชุมชนเกิดรายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนและเศรษฐกิจฐานรากให้มีความเข้มแข็ง ซึ่งกิจกรรมหลักประกอบด้วยขบวนแห่หมฺรับ การแสดงการละเล่นประเพณีวัฒนธรรมไทย (ภาคใต้) และวัฒนธรรมกัมพูชา นิทรรศการประเพณีบุญสารทเดือนสิบและประวัติศาสตร์เขาอีด่าง กิจกรรมทางศาสนา การเลี้ยงตายาย / ชิงเปรต เพื่อกระชับความสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศของทั้งจังหวัดและ สองประเทศให้มีความใกล้ชิดแน่นเฟ้นมากยิ่งขึ้นระหว่างราชอาณาจักรไทยกับราชอาณาจักรกัมพูชา
นายปริญญา โพธิสัตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว กล่าวเปิดงาน บุญประเพณีสารทเดือนสิบ สองแผ่นดินไทย-กัมพูชา ประจำปี 2565 โดยมีคณะกรรมการชมรมชาวใต้จังหวัดสระแก้ว จัดงานบุญประเพณีบุญสารทเดือนสิบ หรือ “งานชิงเปรต” ที่จะมีขึ้นในวันนี้คาดว่าปีนี้จะมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก เนื่องจาก 2 ปี ที่ผ่านมาได้หยุดกิจกรรม สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิดสำหรับประเพณี “สารทเดือนสิบ” เป็นงานประเพณี หรืองานบุญที่มีรูปแบบกิจกรรมที่เป็นศูนย์รวมของพี่น้องน้องชาวใต้ และถือกันว่าเป็นศูนย์กลางของการร่วมทำบุญ เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว อันเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ หรือบรรพบุรุษ ซึ่งนอกจากจะเป็นการร่วมสืบสานและอนุรักษ์วัฒนธรรมประจำถิ่นให้คงไว้ในสังคมไทยให้คงอยู่แล้ว ยังเปิดโอกาสให้พี่น้องชาวใต้ และครอบครัวที่อาศัยอยู่ใน จังหวัดสระแก้ว และใกล้เคียงได้ร่วมกันทำกิจกรรม เพื่อเผยแพร่ประเพณีพื้นบ้านของชาวใต้ให้เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป
นายอุม เรียไตร ผู้ว่าราชการจังหวัดบันเตียเมียนเจย ทางจังหวัดบัณเตียเมียนเจยขอขอบคุณทางผู้ราชการจังหวัดสระแก้วที่ให้เกียรติมาร่วมจัดงานในครั้งนี้ พร้อมการแสดงศิลปวัฒนธรรมภาคใต้รำแบบมโนราห์ ขบวนแห่รับ พิธีชิงเปรต และร่วมรับประทานอาหารพื้นบ้านของภาคใต้ เช่น แกงเหลือง คั่วกลิ้ง แกงไตปลา ไก่ต้มขมิ้น เพื่อให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้วัฒนธรรมภาคใต้ ทั้งด้านการแสดง และอาหารพื้นบ้านด้วย สารทเดือนสิบหรือประเพณีชิงเปรตเป็นงานบุญประเพณีของคนภาคใต้และกัมพูชา ซึ่งเป็นความเชื่อของพุทธศาสนิกชนที่เชื่อว่าบรรพบุรุษ ได้แก่ ปู่ ย่า ตา ยาย และญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว ผู้ที่ทำบาปไว้มากจะตกนรก กลายเป็นเปรต ต้องทนทุกข์ทรมานในอเวจี ต้องอาศัยผลบุญที่ลูกหลานอุทิศส่วนบุญกุศลให้ ในแต่ละปีมายังชีพ เมื่อถึงวันแรม14 ค่ำ เดือน 10 พระยายมจะปล่อยคนบาปทั้งหลาย ที่เรียกว่า "เปรต” กลับไปพบญาติพี่น้องในเมืองมนุษย์ เพื่อมาขอส่วนบุญจากลูก หลาน ญาติ พี่น้อง และจะกลับไปที่ภพภูมิที่ดี ในวันแรม 15 ค่ำ เดือน10 ในโอกาสนี้ ลูก หลาน ญาติ พี่น้อง ที่ยังมีชีวิตอยู่ จึงนำอาหารไปทำบุญที่วัด เพื่ออุทิศส่วนบุญกุศลให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เพื่อแสดงความกตัญญูกตเวที
ผู้สื่อข่าวกล่าวว่า นอกจากนี้วันสารทยังเป็นช่วงที่โลกออกห่างดวงอาทิตย์มากที่สุดโดยถ้านับจากวันสงกรานต์จนถึงวันสารทจะเป็นเวลาประมาณหกเดือนพอดี หากจะนับช่วงเวลาทางจันทรคติคือแรม 15 ค่ำ (หรือ 14) ซึ่งเป็นเดือนดับและเป็นเวลาที่โลกมืดมิดที่สุด ความเชื่อของคนโบราณในแถบภูมิภาคนี้ จึงถือว่าเป็นเวลาที่วิญญาณกลับจากนรก ญาติพี่น้องจึงควรทำบุญ เพื่อแผ่ส่วนกุศลไปให้ ถ้าผู้ล่วงลับได้รับส่วนบุญได้อิ่มท้องก็จะให้พร ถ้าไม่มีใครทำบุญไปให้ก็จะเสียใจบางทีอาจโกรธและสาปแช่ง จนถือเป็นวันรวมญาติ วันบูชาบรรพบุรุษ ใครไม่ร่วมจะโดนดูถูกว่าอกตัญญู วันสงกรานต์นับตามสุริยคติ วันสารทจะนับตามจันทรคติดังกล่าว