วันที่ 8 ก.ย.65 ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์ สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้โพสต์ข้อมูลผ่านทางเฟซบุ๊กธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha ระบุว่า...
ผลตอบสนองต่อการรักษาโควิดมีความหลากหลายและซับซ้อน
หมอดื้อ
ตั้งแต่ไม่ต้องรักษาอะไรเลย
รักษาด้วยยาที่มีกลไกต่างๆกัน
จำต้องรักษาด้วยยาที่ปรับระดับภูมิคุ้มกัน
ทำไม?
ตัวเชื้อมีการปรับเปลี่ยนตลอด ตั้งแต่เริ่มรักษา ขณะรักษาและจนกระทั่งสิ้นสุดและส่งผลในการดื้อยาหรือไม่
คณะของเรารายงานแล้วในปี 2022
มนุษย์แต่ละคนมีต้นทุนไม่เท่ากันนั่นก็คือปราการด่านหน้าในการต่อสู้กับเชื้อ ว่า ปฏิบัติการได้ทันทีทันใด ถูกเวลา และสถานที่ในเนื้อเยื่อต่างๆ
และยังสามารถอธิบายไปจนถึงผลต่อเนื่องระยะยาวคือลองโควิดในเชื้อสายพันธุ์เดียวกันแต่กลุ่มอาการ ยังสามารถถูกจัดแบ่งเป็นคลัสเตอร์ ที่กระทบอวัยวะต่างๆ ไม่เหมือนกัน
เช่น อู่ฮั่น 4 คลัสเตอร์อาการ และอัลฟ่าและเดลต้าจะยิ่งมีมากกว่านี้
ลักษณะการตอบสนองด้วยกลไกเดียวกันของมนุษย์ เป็นได้ทั้งผลดีและผลร้ายก่อให้เกิดความเสียหายมากขึ้นหรือช่วยสนับสนุนให้เชื้อมีการเพิ่มจำนวนมากขึ้นไปอีก
เช่น IP10 complement activation และการตอบสนองของแอนติบอดีชนิดไม่เจาะจง
คณะของเรารายงานแล้วในปี 2022 และที่กำลังจะเผยแพร่
ตัวเชื้อสามารถส่งผลระยะกลางและยาวต่อเนื่อง จากการที่ซ่อนอยู่ในเนื้อเยื่อ จากการที่ไปขัดขวางกระบวนการสมดุลของระบบภูมิคุ้มกัน และการอักเสบที่เกิดขึ้นจากการสร้างจุลินทรีย์ในลำไส้เป็นตัวร้าย ส่งผลทั่วร่างกายและกระตุ้นการอักเสบในสมองต่อ ส่งผลทำให้เซลล์สมองโดยเฉพาะส่วนความจำ เส้นสายไยประสาท ผิดปกติ กลายเป็นสมองเสื่อมรวมกระทั่งเกิดโรคภูมิคุ้มกันแปรปรวนในร่างกายหัวจดเท้า ทั้ง autoinflammatory และ autoimmunity
การปฎิบัติตัวรักษาสุขภาพให้แข็งแรงที่สุด อาหาร ออกกำลังสม่ำเสมอ แสงแดดซึ่งไม่ได้อธิบายจากวิตามินดีอย่างเดียว คุมโรคประจำตัวให้ดีที่สุด เป็นที่พึ่งเดียวที่สำคัญของมนุษย์