หลี่ รุ่ยเฉิน และ จาง จิ่งหวา
แปลโดย ร.ศ.สวี่ ผิงผิง
ตรวจแก้โดย นางสาวมณีนาถ อ่อนพรรณา
เส้นแกนกลางของปักกิ่ง (The Central Axis of Beijing) หมายถึงสถาปัตยกรรม สิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ใจกลางกรุงปักกิ่ง โดยเริ่มต้นจากทิศเหนือ คือ หอกลองและหอระฆัง ผ่านใจกลางเมืองสู่ทางทิศใต้ พาดผ่าน พื้นที่สำคัญต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ สะพานว่านหนิง ภูเขาจิ่งซาน พระราชวังโบราณ ศาลเจ้าไท่เมี่ยว หอบูชาเส้อจี้ (Imperial Divine Temple) จัตุรัสเทียนอันเหมิน ประตูเจิ้งหยาง เขตเทียนเฉียว หอไหว้ฟ้า และหอเซียนหนง หรือ หอบูชาการเกษตร ทอดยาวไปจบที่ประตูหย่งติ้ง
โดยความยาวของเส้นแกนกลางนี้มีระยะทางประมาณ 7.8 กิโลเมตร ทะลุเมืองเก่าปักกิ่งจากทิศใต้ถึงทิศเหนือ และได้กำหนดผังเมืองของตัวเมืองเก่าของปักกิ่งมาโดยตลอด
สิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่เหล่านี้ ได้รวบรวมสถาปัตยกรรมที่ทรงคุณค่า และเป็นหมุดหมายสำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติ ทั้งเป็นสถานที่จัดพิธี และเป็นสัญลักษณ์ ในประวัติศาสตร์จีนนับตั้งแต่ศตวรรษ 13 แสดงให้เห็นถึงอารยธรรมจีนที่มีเอกลักษณ์ และมีอายุอันยาวนาน
หลายปีมานี้ เทศบาลกรุงปักกิ่งได้บูรณะ รับคืนโบราณวัตถุสำคัญและสิ่งก่อสร้างโบราณในสองฝั่งเส้นแกนกลางปักกิ่ง ช่วยเหลือฟื้นฟูและอนุรักษ์เมืองเก่า ปัจจุบัน กำลังดำเนินการยื่นขอมรดกวัฒนธรรมโลกของเส้นแกนกลางปักกิ่ง
แกนกลางทางอากาศ แกนกลางทางวัฒนธรรม
นายเหลียง ซือเฉิง นักสถาปัตยกรรมจีนเคยประเมินค่าเส้นแกนกลางปักกิ่งว่า เป็นแกนกลางทิศเหนือถึงทิศใต้ที่ยาวที่สุด และยิ่งใหญ่ที่สุดของโลก โดยความสง่างามพิเศษของกรุงปักกิ่งเกิดจากเส้นแกนกลางเส้นนี้
ฉะนั้น เส้นแกนกลางปักกิ่งเป็นทั้งแกนกลางทางอากาศ และเป็นแกนกลางทางวัฒนธรรม
“ผลงานยอดเยี่ยมด้านสถาปัตยกรรมต่างๆ บนเส้นแกนกลางปักกิ่ง มีหลายแห่งที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ เช่น พระราชวังโบราณ ศาลเจ้าไท่เมี่ยว หอไหว้ฟ้า เป็นต้น ล้วนเป็นผลงานชั้นนำในด้านศิลปะและสถาปัตยกรรมแบบจีน การออกแบบ ขนาดการก่อสร้าง และโครงสร้างของสิ่งก่อสร้างเหล่านี้ ล้วนสื่อถึงขนบธรรมเนียมและพิธีของจีนตามแนวคิดหลัก ขงจื๊อ” ศาสตราจารย์เจียง โป จากมหาวิทยาลัยซานตง และเป็นรองประธานคณะมนตรีโบราณสถานระหว่างประเทศ แห่งประเทศจีน ได้กล่าวเช่นนี้
ในสายตาของศาตราจารย์สั้น จี้เสียง นายกสมาคมโบราณวัตถุแห่งประเทศจีน และผู้อำนวยการสถาบันพระราชวังโบราณ ในพื้นที่ที่ทอด ยาว 7.8 กิโลเมตรนี้ เป็นโฉมหน้าวัฒนธรรมกลางเมืองที่ผสมผสานถึงระบบนิเวศ เศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม และสังคม รวม 5 อย่าง มีวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ที่กลมกลืน จากแนววิถีอัตลักษณ์ของประชาชนชาวจีนตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงยุคปัจจุบันอย่างน่าอัศจรรย์
นายหลี่ว์ โจว ผู้อำนวยการศูนย์มรดกวัฒนธรรมแห่งชาติ มหาวิทยาลัยชิงหวา และเป็นผู้รับผิดชอบการเรียบเรียงเอกสารยื่นขอมรดกวัฒนธรรมของเส้นแกนกลางปักกิ่ง กล่าวว่า เส้นแกนกลางปักกิ่งได้เชื่อมต่อมรดกโลก 3 แห่ง สถานที่ของโบราณวัตถุที่ต้องอนุรักษ์ระดับชาติ 11 แห่ง สถานที่โบราณวัตถุระดับเมือง 2 แห่ง และโบราณวัตถุที่โยกย้ายมิได้ที่ยังไม่ได้กำหนดระดับอนุรักษ์ 2 แห่ง ขณะที่บริเวณรอบข้างแกนกลางยังมีโบราณวัตถุระดับต่างๆ อีก 514 แห่ง
“เขตอนุรักษ์เส้นแกนกลางปักกิ่ง แบ่งเป็นพื้นที่อนุรักษ์มรดกและพื้นที่บริเวณรอบข้าง เกือบจะครอบคลุมถึงตรอกซอกซอยทางประวัติศาสตร์ และสิ่งก่อสร้างโบราณทั้งหมดในเมืองเก่าปักกิ่ง” นายหลี่ว์ โจวกล่าว
หลายปีมานี้ การยื่นขอเข้าบัญชีรายชื่อมรดกโลกของเส้นแกนกลางปักกิ่งเข้าสู่กระบวนการเร่งดำเนินการ โดยสำนักงานโบราณวัตถุแห่งชาติจีนประกาศยืนยัน “เส้นแกนกลางปักกิ่ง” จะเป็นโครงการยื่นขอมรดกวัฒนธรรมโลกปี 2024 เอกสารยื่นขอกำลังปรับปรุงแก้ไขและแปลเป็นภาษาต่างประเทศอย่างราบรื่น และจะยื่นต่อศูนย์มรดกโลกของยูเนสโกอย่างเป็นทางการก่อนวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ปี 2023
ส่วน “ข้อกำหนดอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมเส้นแกนกลางปักกิ่ง” ได้ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการประจำสภาผู้แทนประชาชนกรุงปักกิ่งแล้ว จะมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมปีนี้ นับเป็นหลักการทางกฎหมายที่จะคุ้มครองการอนุรักษ์มรดกเส้นแกนกลางปักกิ่งด้วย
นายหลี่ว์ โจว กล่าวว่า “จากกระบวนการยื่นขอเป็นมรดกฯ ของเส้นแกนกลางปักกิ่ง นอกจากจะประชาสัมพันธ์ทางคุณค่าแล้ว กรุงปักกิ่งยังจะส่งเสริมให้ประชาชนสนใจมากขึ้นและเห็นถึงคุณประโยชน์ที่เป็นรูปธรรมในปัจจุบัน” งานยื่นขออนุรักษ์เส้นแกนกลางปักกิ่งให้เป็นมรดกฯ ได้ส่งเสริมให้ชาวปักกิ่งมีความเห็นถึงคุณค่าด้านวัฒนธรรม เกิดการร่วมแรงร่วมใจทางสังคมที่จะผลักดันให้อนุรักษ์เมืองเก่าด้านวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ในส่วนรวม
การอนุรักษ์โบราณวัตถุและการอำนวยประโยช์ด้านวัฒนธรรมแก่ประชาชนเป็นแบบสมประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่าย (Win-Win)
เมื่อเดินในถนนคนเดิน “เฉียนเหมิน” ที่กรุงปักกิ่ง อนุสรณ์สถานที่ตั้งอยู่ถนนฝั่งตรงข้าม และมักจะดึงดูดสายตาของผู้คนคงจะไม่พ้น หอยิงธนูของประตู “เจิ้งหยาง”
หอยิงธนูประตู “เจิ้งหยาง” เพิ่งซ่อมเสร็จสมบูรณ์ หลังดำเนินการเป็นเวลา 1 ปี ได้เปิดตัวด้วยโฉมหน้าใหม่ การซ่อมแซมหอยิงธนูประตูเจิ้งหยางนี้เป็นเพียงหนึ่งในงานอนุรักษ์เส้นแกนกลางปักกิ่งเท่านั้น
การรับคืนศาลเจ้าไท่เมี่ยว หอเส้อจี้ หอไหว้ฟ้า ภูเขาจิ่นซาน หอหวงสื่อเฉิง ( หอเก็บเอกสารของพระบรมวงศานุวงศ์ ) และสถานที่อื่นๆ ได้เสร็จสิ้นตามลำดับ
ทางตอนใต้ของเส้นแกนหลางปักกิ่งจึงมีทัศนียภาพเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ส่วนสถาปัตยกรรมโบราณวัตถุจำนวนหนึ่งในหอกลอง หอระฆัง ประตูเจิ้งหยาง หอเซียนหนง และภูเขาจิ่งซาน ก็ได้รับการบูรณะซ่อมแซมและอนุรักษ์ เสมือนเป็นการฟื้นฟูโฉมหน้าเมืองเก่าอย่างค่อยเป็นค่อยไป
สะพานว่านหนิงที่สืบทอดจากสมัยราชวงศ์หยวนได้รับการอนุรักษ์ ขณะที่การอนุญาตให้ยานยนต์สัญจรผ่านได้จำกัดน้ำหนักรถและความเร็วของการขับขี่ ภูเขาจิ่นซานได้เปิดหมู่ก่อสร้างของพระที่นั่งโส้วหวงให้กับมวลชนหลังซ่อมแซมเสร็จแล้ว โรงพยาบาลเป่ยไห่และห้างตงเทียนอี้ สิ่งปลูกสร้างยุคสมัยใหม่ได้ลดชั้นก่อสร้างให้น้อยลง เพื่อคงทัศนียภาพของเมืองเก่าเอาไว้ รื้อโรงงานเครื่องจักรสวนพืชในหอไหว้ฟ้า เพิ่มพื้นที่สีเขียวที่เปิดบริการให้ได้เป็น 32,000 ตารางเมตร นี่เป็นผลงานนับตั้งแต่ปี 2020 เป็นต้นมา ที่เทศบาลกรุงปักกิ่งมุ่งปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการ 3 ปีในการอนุรักษ์ “เส้นแกนกลางปักกิ่ง” หลังทุ่มเทกำลังอย่างยิ่งในการปฏิบัติภาระหน้าที่สำคัญ 48 รายการ รวมทั้งการรับคืนโบราณสถาน การอนุรักษ์โบราณวัตถุ การบำรุงรักษาสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
“เทศบาลกรุงปักกิ่งได้ปรับปรุงและอนุรักษ์มรดกของเส้นแกนกลางปักกิ่ง และสร้างบรรยากาศให้ดีขึ้นในทุกด้าน หน่วยงานต่างๆ ร่วมแรงร่วมใจ มีความคืบหน้าในหลายๆ ด้าน” นายหลิง หมิง รองผู้อำนวยการกรมโบราณวัตถุกรุงปักกิ่งกล่าวว่า “โฉมหน้าเมืองเก่าได้รับการฟื้นฟูอย่างต่อเนื่อง สิ่งแวดล้อมของเมืองนับวันยิ่งสวยงาม งานอนุรักษ์เส้นแกนกลางปักกิ่งยื่นขอเป็นมรดกวัฒนธรรมโลกได้รับผลประโยชน์รอบด้านแบบสมประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ทั้งการอนุรักษ์โบราณวัตถุและประโยชน์ด้านวัฒนธรรมแก่ประชาชนโดยทั่วไป"
การยื่นขอมรดกฯ สร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน
การยื่นขอเข้าในบัญชีรายชื่อมรดกโลกของเส้นแกนกลางปักกิ่งนั้น ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน
“วัตถุประสงค์หลักในการยื่นขอ คือหวังว่ามรดกวัฒนธรรมสามารถเชื่อมสู่อนาคตด้วยดี โดยกลมกลืนกับชีวิตประจำวันของคนปัจจุบัน” ศาสตราจารย์สั้น จี้เสียง กล่าวเช่นนี้
เทศบาลกรุงปักกิ่งจัดกิจกรรมออนไลน์ “ฉันมีส่วนร่วมกับเส้นแกนกลางปักกิ่ง” คนทั่วไปจะสามารถท่องเที่ยวตามเส้นแกนกลางปักกิ่งที่ยาวเป็น 7.8 กิโลเมตร ในรูปแบบดิจิทัล “ออน คลาวด์” และ สามารถมีส่วนร่วมในกระบวนการการยื่นขอเป็นมรดกฯด้วย กิจกรรมนี้เมื่ออัพเดตขึ้นระบบอินเตอร์เน็ต มีประชาชนมากกว่า 500,000 คนภายในเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมง เพื่อร่วมลงทะเบียนรวบรวมรายชื่อยื่นขอขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมฯ
พร้อมเตรียมร่วมนับวันของการยื่นขอเป็นมรดกวัฒนธรรมโลก ประชาชนจะมีส่วนร่วมและมีความใกล้ชิดกับเส้นแกนกลางปักกิ่งมากขึ้น----
อนึ่ง การอนุรักษ์ “เส้นแกนกลางปักกิ่ง” เป็นเนื้อหาสาระของการสอบมัธยมตอนปลายของกรุงปักกิ่งในปี 2018
ในขณะที่เนื้อหาการอนุรักษ์นกนางแอ่นปักกิ่งได้กลายเป็นข้อสอบในการสอบเข้ามหาวิทยาลัยของกรุงปักกิ่งปี 2022
ส่วนงานประกวดการสืบทอดและประดิษฐ์คิดสร้างมรดกวัฒนธรรมเส้นแกนกลางปักกิ่งครั้งแรก มีผลงานสมัครเข้าร่วมการประกวดมากถึง 35,433 ชิ้น จากผู้ส่งประกวดมากกว่า 5,000 คน รวมถึง “เด็ก เยาวชน ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ” ทั้ง 4 รุ่น และยังมีกิจกรรมการแสดงแสงสีเสียงด้านดนตรีและวัฒนธรรม ที่แสดงถึงการเป็น “เส้นแกนกลางที่สวยที่สุด” และได้รับความนิยมอย่างมาก
และเมื่อเร็วๆ นี้ ได้เปิดตัว “สัตว์มงคลน้อยแห่งสายน้ำในเส้นแกนกลางปักกิ่ง” เป็นตัวการ์ตูน “กงฟู่” ชื่อเฉพาะของสัตว์ในหนังสือโบราณของจีน ตามตำนานเล่าว่า ตัวกงฟู่เป็นลูกมังกรที่สามารถปกครองน้ำได้ โดยสัตว์มงคลนี้จะกลายเป็นสัญลักษณ์สำคัญแห่งเส้นแกนกลางปักกิ่ง ด้วยการออกแบบที่ดูน่ารักและเป็นมิตร จะช่วยทำให้ผู้คนเข้าถึง พร้อมสัมผัสกับเรื่องราวทางวัฒนธรรมเส้นแกนกลางอันมีชีวิตชีวาของกรุงปักกิ่งได้อย่างลึกซึ้ง และเปี่ยมไปด้วยความประทับใจ