วันที่ 25 สิงหาคม 2565 นายชัยยุทธ เหลืองบุศราคัม ปศุสัตว์จังหวัดอ่างทอง กล่าวว่า ตามที่กรมอุตุนิยมวิทยาได้มีประกาศการเข้าสู่ฤดูฝนของประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 13 พฤษภาคม 2565 ประกอบกับประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา ฉบับที่ 12 ลง วันที่ 12 สิงหาคม 2565 เตือนภัยพายุดีเปรสชั่น มู่หลาน ทำให้บางแห่งของประเทศไทยมีฝนตกหนักถึงหนักมาก ส่งผลให้สุกรเกิดความเครียดกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกันและมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบาดร้ายแรงในสุกร

 

       จึงขอประชาสัมพันธ์การเฝ้าระวังโรคในพื้นที่ส่ง เสริมและประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรที่เลี้ยงสุกรปรับปรุง เล้าหรือโรงเรือนให้มีระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ เพื่อป้องกันโรคเข้าสู่เล้าหรือโรงเรือน ส่งเสริมให้มีการเลี้ยงสุกร ขั้นพื้นฐานตามระบบการป้องกันและควบคุมโรคระบาดตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์พ.ศ.2558 อย่างเคร่งครัดและยกระดับฟาร์มให้เป็นฟาร์มที่มีระบบการป้องกันโรคและการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม (Good Farming Management, GFM) พร้อมให้ความรู้ที่ถูกต้องแก่เกษตรกร ทั้งด้านการเลี้ยงการจัดการ และการป้องกันโรค โดยเน้นย้ำมาตรการความปลอดภัยทางชีวภาพของสถานที่เลี้ยงสัตว์ ดังนี้ควบคุมการเข้า – ออกฟาร์มและงดเว้นการเข้าฟาร์มสุกรรายอื่นหรือสถานที่ เลี้ยงสัตว์อย่างเข็มงวด จะต้องมีการทำความสะอาดและทำลายเชื้อโรคก่อนเข้า – ออกฟาร์ม รวมทั้งมีการกักตัวคนจากพื้นที่เสี่ยงหรือพื้นที่ ที่มีการเลี้ยงสุกรก่อนปฏิบัติงานในฟาร์มอย่างน้อย 5 วัน หลีกเลี่ยงการนำเศษอาหารมาเลี้ยงสุกร หากมีความจำเป็นต้องใช้ ต้องต้มเศษอาหารให้เดือด เป็นเวลา 45 นาที และห้ามนำเนื้อสุกรดิบเข้าบริเวณเล้าหรือโรงเรือน งดการแลกเปลี่ยนพ่อพันธุ์สุกรในการผสมพันธุ์ ควรมีจุดทำความสะอาดและทาลายเชื้อโรคยานพาหนะที่เข้า – ออก ในบริเวณ พื้นที่เลี้ยงสุกร และพ่นน้ายาฆ่าเชื้อบริเวณเล้าหรือโรงเรือนเป็นประจำสม่ำเสมอ


 และมีการฆ่าเชื้อโรคในน้ำที่ใช้ภายในฟาร์มจะต้องทาการฆ่าเชื้อโรคโดยใช้คลอรีนเป็นเวลา 30 นาที - แยกพื้นที่ขายสุกรออกจากพื้นที่เลี้ยงสุกร และห้ามรถจับสุกรเข้าไปในคอกเลี้ยงสุกร ต้องมีการกำจัดสัตว์พาหะอย่างเหมาะสม เช่น การใช้ตาข่ายกันนก การกำจัดหนูและแมลง เป็นต้น - เฝ้าระวังโรคและดูแลสุขภาพของสุกรภายในฟาร์มอย่างสม่าเสมอ

 

สำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรหากพบสุกรป่วยตายผิดปกติ ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ในพื้นที่ 
สายด่วนสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดอ่างทอง 035-611759 โดยด่วน