ฝ้าเพดานบ้านถือเป็นอีกหนึ่งโครงสร้างที่สำคัญ ที่หลายคนอาจมองข้าม แต่ในความจริงแล้วฝ้าเพดานบ้านนั้นจะช่วยให้บ้านคุณดูสวย สมบูรณ์แบบ และยังเป็นเกราะกำบังความร้อนจากพื้นใต้หลังคา แถมยังช่วยเก็บงานโครงสร้างให้ดูเป็นระเบียบมากขึ้นอีกด้วย แต่ก่อนที่จะเลือกซื้อฝ้าเพดานบ้านนั้น เราขอพาไปรู้จักกับประเภทต่างๆ เพื่อให้เลือกซื้อตามการใช้งานที่เหมาะสมและถูกต้องอีกด้วย ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลย!

 
รู้จักประเภทของฝ้าเพดาน

1.    ฝ้าแผ่นยิปซั่ม
แผ่นยิปซั่ม เป็นประเภทฝ้ากระเบื้องแบบเรียบ ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก แถมยังติดตั้งได้ง่าย และสามารถฉาบรอยปิดได้อย่างเรียบเนียนนั่นเอง นอกจากนี้ ยังมีลวดลายและขนาดให้เลือกหลากหลาย สามารถติดตั้งได้หลายแบบ ไม่ว่าจะเป็น ฝ้ายิปซั่มฉาบเรียบ ฝ้ายิปซั่มทีบาร์ และฝ้ายิปซั่มกันชื้น ที่คุณสามารถติดตั้งในห้องน้ำ หรือชายคา ที่ยังมาพร้อมราคาถูก แถมยังติดตั้งได้ทั้งภายในและภายนอกอีกด้วย

2.    ฝ้าไฟเบอร์ซีเมนต์
เป็นประเภทที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันเป็นอย่างมาก โดยเป็นประเภทฝ้าที่ผลิตจากเส้นใยเซลลูโลส ที่ผสมกับปูนซีเมนต์ จึงทำให้มีความแข็งแรง สามารถยึดหยุ่นได้ดี และมักจะมีลักษณะภายนอกที่เหมือนไม้ระแนง จึงสามารถช่วยเพิ่มความสวยงามให้กับทั้งภายในและภายนอกบ้านได้อีกด้วย นอกจากนี้ ไฟเบอร์ซีเมนต์ยังมีความทนทาน ไม่ว่าจะต้องเจอกับแสงแดดหรือฝน ฝ้าประเภทนี้ถือว่ามีคุณสมบัติที่ค่อนข้างทน ไม่สึกกร่อนง่ายอีกด้วย

3.    ฝ้าไม้
หากคุณต้องการเพิ่มความรู้สึกที่อบอุ่น ดูเป็นธรรมชาติในการพักผ่อนอยู่ที่บ้าน เราขอแนะนำฝ้าที่ทำมาจากไม้ ไม่ว่าจะเป็นไม้แท้ ไม้เทียม ที่ให้ความสวยงาม แต่ก็ตามมาด้วยการดูแลรักษาที่ค่อนข้างมากพอสมควร และราคาที่อาจจะสูงกว่าประเภทอื่นๆ อีกเช่นกัน

4.    ฝ้าไวนิล
เป็นฝ้ายูพีวีซี ที่ผลิตจากอะคริลิกประเภทหนึ่ง มีน้ำหนักที่ค่อนข้างเบา ไม่ต้องทำสีเพิ่ม โดยส่วนมากจะเหมาะกับการติดตั้งภายในบ้านที่มักจะมีความชื้นอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากสามารถระบายความชื้นได้ค่อนข้างดี อากาศถ่ายเทนั่นเอง

5.    ฝ้าอลูมิเนียม
มักจะนิยมใช้ติดตั้งในบ้านที่มีการซ่อนระบบไฟฟ้าไว้ด้านใน มีคุณสมบัติที่ค่อนข้างทนทาน ทนไฟได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ฝ้าประเภทนี้ยังมาพร้อมจุดเด่นที่สามารถกันความชื้นได้ และเหมาะสำหรับการติดตั้งบ้านที่มีพื้นที่จำนวนมากนั่นเอง

เป็นยังไงกันบ้างสำหรับฝ้าเพดานทั้ง 5 ประเภทนี้ ที่เราขอแนะนำให้คุณเลือกประเภทการติดตั้งให้เหมาะสมกับการใช้งาน เพื่อความคุ้มค่า ความทนทาน และความสวยงามให้แก่บ้านคุณนั่นเอง