เมื่อวันที่ 22 ส.ค.65 ผู้สื่อข่าวรายงาน เขตห้ามล่าสัตว์ป่าพันท้ายนรสิงห์ จ.สมุทรสาคร ได้รายงานว่า ผลการออกติดตามในการตรวจสอบสถานการณ์เพื่อเฝ้าระวังโรคในลิงแสม เพื่อป้องกันเชื้อฝีดาษวานร ในพื้นที่ โดยมี นายณรงค์ รักร้อย ผวจ.สมุทรสาคร ฐานะประธานฯ พร้อมด้วย นายวีรยุทธ, นายวัฒนา พรประเสริฐ ผอ.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจ.สมุทรสาคร, นายสัตวแพทย์อนุรักษ์ สกุลพงษ์ สัตวแพทย์สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3, นางสาวอรุณศรี บุญมาศิริ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดฯ และปศุสัตว์สมุทรสาคร โดยมี อบต.ตำบลโคกขาม อ.เมืองฯ เข้าร่วมรายงานสถานการณ์ลิง

“ในส่วนของสมุทรสาครจากการระดมสำรวจประชากร พบว่า มีลิงแสมอยู่ตามพื้นที่ต่างๆ ก็มีสร้างความเดือดร้อนรำคาญให้กับชาวบ้านตามชุมชนบ้าง เนื่องจากพื้นที่อยู่อาศัยของลิงแสมมีน้อยลงเรื่องยๆ เพราะที่ดินถูกใช้ประโยชน์ของ ปชช.มากขึ้น ล่าสุดจึงมีการแก้ปัญหาการลิงรบกวนและขยายพันธ์ โดยการจับคุมกำเนิดเพื่อลดประชากร ซึ่งผลการสำรวจประชากรลิงตั้งแต่ปี 63 ปรากฏว่า มีลิงแสม 966 ตัว จับทำหมันไปแล้ว 652 ตัว ทั้งนี้สามารถการแจ้งเหตุได้ที่สายด่วนพิทักษ์ป่า 1362 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช หรือศูนย์ช่วยเหลือสัตว์ป่าที่ 3 (เขาประทับช้าง) จังหวัดราชบุรี”

เขตห้ามล่าสัตว์ป่าพันท้ายนรสิงห์ ต.พันท้ายฯ รายงานว่า ที่ผ่านมาก็มีการจับทำหมันลิง และการเจาะเลือดเพื่อสุ่มตรวจหาโรคในสัตว์อยู่แล้ว ซึ่งหนึ่งในโรคที่ตรวจก็คือ ฝีดาษวานรด้วย แต่ก็ยังไม่พบลิงที่มีเชื้อ และต้องมีการเฝ้าระวัง อาทิเช่น หากพบลิงตายผิดปกติก็ต้องมีการสังเกตอาการ เพื่อค้นหาสาเหตุ ส่วนการห้ามนำสัตว์เลี้ยงเข้าสู่พื้นที่ป่าอนุรักษ์ป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่สัตว์เลี้ยง ซึ่งอาจจะแพร่ไปสู่คนได้ ดังนั้น จึงมีมาตรการลดความเสี่ยงโรคฝีดาษวานร อาทิ

1.ไม่ควรให้อาหารสัตว์ป่า กรณีมีกิจกรรมให้อาหารสัตว์ป่าในส่วนแสดง ต้องล้างมือด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล ก่อนและหลังให้อาหารสัตว์ป่า 

2.ไม่ควรนำอาหารที่เหลือกินจากตนเองหรือผู้อื่น มาให้เป็นอาหารสัตว์ป่า เพื่อลดการปนเปื้อนของเชื้อโรคผ่านสารคัดหลัง

3.ไม่ควรทิ้งขยะที่อาจสามารถแพร่เชื้อโรค เช่น กันบุหรี่ หน้ากากอนามัย กระดาษชำระที่เช็ดน้ำมูก สิ่งคัดหลังอื่นๆ  เป็นต้น อย่างไรก็ตามบริเวณที่เลี้ยงสัตว์ป่าหรือบริเวณที่สัตว์ป่าธรรมชาติ อาจมีโอกาสสัมผัสได้

4.ไม่ควรบ้วนน้ำลาย หรือสิ่งคัดหลั่งอื่นๆ ในบริเวณที่เลี้ยงสัตว์ป่าหรือบริเวณที่สัตว์ป่าธรรมชาติเพราะมีโอกาสที่เราสัมผัสได้ เป็นต้น

ด้านนายณรงค์ รักร้อย ผู้ว่าฯสมุทรสาคร ทั้งนี้ทั้งนั้นขอให้ประชาชนชาวสมุทรสาครเบาใจได้ในขณะนี้เรื่องโรคฝีดาษวานร โดยมีภาครัฐออกดำเนินการป้องกันโรคตามมาตรการต่างๆ เพื่อป้องกันเชื้อนี้อย่างจริงจัง