วันที่ 29 กรกฎาคม 2565 ที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี ตำบลบ้านฉาง อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี  พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง นายก อบจ.ปทุมธานี ได้เรียกประชุมด่วน เรื่องเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์อุทักภัย โดยมีตัวแทนเจ้าหน้าที่โครงการชลประทานปทุมธานี รังสิตเหนือ รังสิตใต้ และพระยาบรรลือ รวมถึงนายก อบต.ในพื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา และสจ.ทุกพื้นที่เข้าร่วมประชุม

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ได้คาดการณ์สานการณ์น้ำทะเลหนุนสูงบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา พบว่าสภาวะระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณป้อมพระจุลจอมเกล้า จังหวัดสมุทรปราการ และพื้นที่ใกล้เคียง ในช่วงวันที่ 28 กรกฎาคม - 1 สิงหาคม 2565 เวลาประมาณ 19.00-22.00 น. เป็นช่วงที่น้ำทะเลหนุนสูงประกอบกับในพื้นที่ตอนมีฝนเพิ่มมากขึ้น ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี ได้ออกหนังสือด่วนถึงองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี ผู้อำนวยการทุกอำเภอ โครงการชลประทานและประชาสัมพันธ์จังหวัดปทุมธานี เพื่อเตรียมความพร้อมเฝ้าระวังระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มสูงขึ้น อาจส่งผลพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำ ระหว่างวันที่ 28 กรกฎาคม 2565 ถึงวันที่ 1 สิงหาคม 2565 เป็นช่วงน้ำทะเลหนุนสูง ส่งผลให้ระดับน้ำในเจ้าพระยาสูงขึ้นจากเดิมอีก 1.90-2.10 เมตร 

พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง นายก อบจ.ปทุมธานี กล่าวว่า เนื่องจากท่านณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี ได้มีหนังสือเตือนมาจำนวน 2 ฉบับ คือ เรื่องอุทกภัยเกี่ยวกับมรสุมตั้งแต่วันที่ 25 และวันที่ 27 มีปริมาณน้ำสูงที่ไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา ผ่านบริเวณบางไทร และเมื่อวานจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเริ่มท่วม ทำให้พี่น้องชาวปทุมธานีเริ่มตื่นตระหนก ต้องขอขอบคุณท่านผู้ว่าอย่างสุงในวันนี้ผมจึงเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแม้จะเป็นวันหยุดเพื่อร่วมประชุมหารือโดยเน้นท่านนายก อบต.ที่อยู่พื้นที่ ริมแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งหมด กับ สจ.ทั้งหมด ต้องขอบคุณท่านชุติมันต์ สกุลพราหมณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 11 ที่ท่านได้จัดทีมงานมา ทั้งรังสิตเหนือ รังสิตใต้และพระยาบรรลือ มาร่วมประชุมด้วย และตัวท่านก็มารับฟังด้วยตัวเองถึงปัญหา ที่เราได้นำมา ปรึกษาหารือเนื่องจากชาวปทุมธานีตื่นตระหนกมากกังวลว่าจะเกิดเหตุการณ์แบบปี 2554 หรือไม่ และปี 2564 ปริมานน้ำถึงจะเยอะแต่ปีนี้ปริมาณน้ำจะมากกว่าแต่เป็นรอง54นิดหน่อย

ในส่วนของอุตสาหกรรมจริงอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมบางกะดี เขามีการเตรียมการอย่างดีแล้ว เพื่อรองรับน้ำเรามีความมั่นใจว่าเขาเอาอยู่ รวมถึงนิคมนวนครที่เขามีการตื่นตัวพยายามที่จะป้องกันน้ำ รวมถึงพื้นที่เศรษฐกิจ พื้นที่รังสิตเหนือมีหมู่บ้านจัดสรรหลาย1,000หมู่บ้าน หากท่วมจะมีความเสียหายเยอะมาก เรายอมไม่ได้ที่จะให้พื้นที่ต่าง ๆ เหล่านั้นเป็นแก้มลิงรองรับน้ำอีกต่อไป วันนี้จึงเรียกประชุม เพื่อรับฟังสภาพปัญหา เอาบทเรียนจากปี 2554 บทเรียนจากปี 2564 เพื่อให้ นายก อบต.ประสาน ทำงานร่วมกับชลประทานและ สจ. เพื่อตรวจสภาพประตูน้ำทั้งหมดที่อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ที่อยู่ในความรับผิดชอบของทางชลประทาน ให้ร่วมกันสำรวจประตูน้ำ ให้มีความเข้มแข็ง และแข็งแรงพอที่จะป้องกันน้ำได้ มีความพร้อมที่จะรับน้ำ เพราะปีที่แล้วพบว่ามีจุดอ่อนเยอะ ต้องไปแก้ไขฉุกเฉิน แต่ปีนี้ยังมีเวลาที่จะต้องรีบดำเนินการ สิ่งไหนที่ทางชลประทานทำได้ให้รีบทำ สิ่งไหนทำไม่ได้ให้บอกมา เราจะทำ

นอกจากนี้ในปีที่ผ่านมาเราได้ทำการขุดลอกคูคลองทั้งหมดภายในพื้นที่จังหวัดปทุมธานีแล้ว โดยเฉพาะคลองทางอำเภอลาดหลุมแก้ว คลองไหว้พระ คลองลากค้อน คลองชลประทาน ซึ่งเป็นของที่รับน้ำจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเมื่อน้ำไหลผ่านมาก็สามารถผ่านไปได้เลยโดยที่ไม่ติดผักตบชวา ไม่ติดวัคพืชต่าง ๆ ต่อมาเรามาทราบปัญหาอีกว่า คลองแยกและคลองแอนต่างๆ เป็นจุดอ่อนที่น้ำไหลไม่สะดวก จึงได้ประสานทางชลประทาน ซึ่งเขาก็รับจะมีการดำเนินการโดยเร็ว ส่วนคลองไหนดำเนินการไม่ได้ ทาง อบจ.จะดำเนินการเพื่อให้น้ำในพื้นที่จังหวัดปทุมธานีจะสามารถไหลผ่านไปได้ แต่เมื่อปีที่แล้วได้เกิดปัญหาการปล่อยน้ำที่คลองรังสิตประยูรศักดิ์ เนื่องคลองประตูน้ำจุฬาลงกรณ์รีบผันน้ำให้ออกเจ้าพระยาให้เร็ว แต่ก็ติดขัดประตูน้ำระบายนี่จะสูบออกไปยังเจ้าพระยา ตรงนั้นมีเครื่องสูบน้ำของชลประทานจำนวน 20 เครื่อง ตอนนี้ใช้ได้ 15 เครื่อง ส่วนประตูน้ำมีอยู่ 3 บาน แต่สามารถเปิดขึ้นได้พียง 1 บาน อีก 2 บานเสียซึ่งเขามีแนวโน้มว่าจะมีการสร้างประตูระบายน้ำแบบถาวร จึงมีการหารือเพื่อไม่ให้น้ำไปขังอยู่พื้นที่อาศัยเพื่อให้รีบระบายน้ำออกให้เร็ว เราก็ได้ประสานงานกัน สิ่งไหนที่ชลประทานติดขัด ทาง อบจ.พร้อมเป็นแม่งาน โดยความร่วมกับกับทาง อบต. และสจ. ส่วนปัญหาที่มีไฟฟ้าลัดวงจรมีคนแกล้งยกประตูน้ำเข้าทำให้พี่น้องประชาชนเดือดร้อน ปีนี้ต้องไม่ให้เกิด จุดอ่อนอยู่ที่ผู้ที่ดูแลประตูน้ำ หากผู้ที่ดูแลประตูน้ำเป็นลูกจ้างชั่วคราวของชลประทาน ในนาทีที่วิกฤตเขาอาจจะมีภารกิจส่วนตัวจนหาตัวเขาไม่เจอ ปีนี้ได้ย้ำให้ทางนายก อบต.ประสานกับผู้ที่ดูแลประตูน้ำ เชิญมาขอให้เฝ้าระวังร่วมกัน กับคนของ อบต.หรือ สจ. เราพร้อมจะจัดเบี้ยเลี้ยงนอกเวลา เพื่อให้แก้ปัญหาให้ทันเหตุการณ์ หากปล่อยไปแล้วจะมาแก้ไขที่หลังไม่ได้ เมื่อเราเตรียมความพร้อมแต่เนิ่นๆ ผมมั่นใจว่าปทุมธานีจะรอดพ้นจากวิกฤตครั้งนี้ไปได้

จากการที่ได้พูดคุยกับหลายๆฝ่ายพบว่าปริมาณน้ำอาจจะมากกว่าปีที่แล้ว แต่จะไม่ถึงกับปี 2554 เราก็ต้องเฝ้าระวังทั้งหมด ซึ่งจุดอ่อนของถนน เพราะปทุมธานีมีถนนกั่นเป็นแนวเขื่อนป้องกันน้ำ หากน้ำข้ามถนนไปได้ก็จะท่วมพื้นที่เศรษฐกิจ จุดไหนเป็นแนวถนนที่ต่ำ ของให้ อบต.กับ สจ. สำรวจแล้วรีบรายงานเข้ามา ทาง อบจ.จะไปเสริมจุดอ่อนเหล่านั้น เราพร้อมที่จะเอาแบริเออร์ไปเสริม เอากระสอบทรายไปอัด และมีเบอร์โทรกองป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี 02-975-8940-8 ต่อ 161-164 และ 09-975-8558 เพื่อแจ้งเหตุฉุกเฉิน ได้ตลอด 24 ชั่วโมงเพื่อให้พี่น้องประชาชนแจ้งเข้ามาได้จัดให้มีเจ้าหน้าที่รับแจ้งตลอดเวลา รวมถึงขณะนี้เราได้ให้ตั้งกลุ่มไลน์ขึ้นมาระหว่างชลประทาน รังสิตเหนือ รังสิตใต้ อบต. สจ. และปภ. พร้อมที่จะลงไปแก้ปัญหาได้ทันที 

โดยในส่วนของการแก้ไขปัญหาลุ่มน้ำบางปะกง เนื่องจากระบบการระบายน้ำได้มีการเชื่อมกันอยู่แล้ว จากคลองรังสิตประยูรศักดิ์มีการสูบน้ำออกเจ้าพระยาแล้ว ยังมีการสูบทางด้านตะวันออกเพื่อผันน้ำไปทาง จ.นครนายก และผันน้ำออกไปลงแม่น้ำบางปะกง ผมจึงเป็นตัวเชื่อมและประสานระหว่างคณะกรรมการลุ่มน้ำบางปะกง ลุ่มน้ำเจ้าพระยา เพื่อให้น้ำไหลออกปากอ่าว การประสานงานต่อเร็วและได้ผล