วันที่ 24 ก.ค. 65 ที่สภ.เมืองเชียงใหม่พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ผู้ช่วย ผบ.ตร.(ปป.1) ประธานกรรมการประเมินโครงการ Smart Safety Zone 4.0 พร้อมด้วย ,
พล.ต.ต.ศุภเศรษฐ์ โชคชัย รอง ผบช.ทท. , พ.ต.อ.กัมพล รัตนประทีป รอง ผบก.ภ.จว.พิจิตร,พ.ต.อ.พงศ์ธร พงศ์รัชตนันทน์ ผกก.ฝ่ายบริการการศึกษา ศฝร.บช.น., พ.ต.อ.อาริศ คูประสิทธิ์รัตน์ ผกก.สภ.ท่ามะกา ภ.จว.กาญจนบุรี พร้อมคณะกรรมการและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเดินทางมาตรวจเยี่ยมพื้นที่ดำเนินการโครงการ Smart Safety Zone 4.0 “Chiangmai Old Town” สภ.เมืองเชียงใหม่ ซึ่งเป็นโรงพักนำร่อง 1 ใน 100 สถานีตำรวจ เฟสที่ 2 ตามโครงการนี้ ตลอดจนติดตามความคืบหน้า ในการใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการป้องกันอาชญากรรม เพื่อให้การป้องกันอาชญากรรมในโครงการดังกล่าวมีให้ประสิทธิภาพสูงสุด

โดยมี พล.ต.ต.บัณฑิต  ตุงคะเศรณี รอง ผบช.ภ.5, พ.ต.อ.กฤษดา  พันธ์เกษม  รองผบก.ภ.จว.แพร่ ปฏิบัติราชการ รองผบก.ภ.จว.เชียงใหม่,พ.ต.อ.ภูวนาถ  ดวงดี ผกก.สภ.เมืองเชียงใหม่ พร้อมเจ้าหน้าที่ตำรวจ และภาคีเครือข่ายป้องกันอาชญากรรม (Big 6) ในพื้นที่ตามโครงการ Smart Safety Zone 4.0 ให้การต้อนรับ 
 ตามที่รัฐบาลได้กำหนดวิสัยทัศน์ของประเทศไทยไว้ว่า “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศ ที่พัฒนาแล้ว   ด้วยการพัฒนาตามหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” นั้น เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ดังกล่าวรัฐบาลจึงมีนโยบายที่จะใช้โมเดลขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรม เพื่อพัฒนาไปสู่การเป็นระบบราชการ4.0  เพื่อให้สอดรับกับบริบทที่จะเกิดขึ้น กล่าวคือ ภาครัฐจะต้องปรับตัวเข้าสู่ยุคดิจิทัล เพื่อยกระดับการให้บริการตอบสนองความต้องการ และอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน


 สำนักงานตำรวจแห่งชาติซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ จึงจำเป็นจะต้องปฏิรูประบบการทำงานให้รองรับและขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลในเรื่องดังกล่าว โดยคำนึงถึงพันธกิจหลักของสำนักงานตำรวจแห่งชาติในด้านการรักษากฎหมายการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมและการอำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชน


 สถานีตำรวจภูธรเมืองเชียงใหม่จึงได้เลือกพื้นที่คูเมืองด้านในเป็นพื้นที่จัดทำโครงการ SMART SAFETY ZONE 4.0 ภายใต้ชื่อว่า “ CHIANGMAI OLD TONW ”เนื่องจากเป็นพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญและมีประชากรชาวไทยและชาวต่างชาติพักอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก จึงเสี่ยงที่จะเกิดเหตุอาชญากรรมภายในพื้นที่ได้ง่าย

วัตถุประสงค์
 1. เพื่อยกระดับการป้องกันอาชญากรรมในพื้นที่สาธารณะ โดยผสมผสานทฤษฎีและแนวความคิด ในเรื่องการป้องกันอาชญากรรมอาชญวิทยากับแนวความคิดเรื่อง “เมืองอัจฉริยะ” แล้วนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม สอดคล้องกับบริบทของสังคมไทย
 2. เพื่อยกระดับการทำงานของตำรวจตามกรอบความคิดในเรื่อง “ระบบราชการ 4.0” และก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัล (DIGITALIZATION)
 3. เพื่อบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างภาคประชาชน ภาคประชาสังคม ระบบราชการส่วนท้องถิ่น และสำนักงานตำรวจแห่งชาติในด้านการป้องกันอาชญากรรมและนำไปสู่เป้าหมายร่วมกันคือความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ไม่หวาดกลัวภัยอาชญากรรม (Far From Fear) อันจะนำไปสู่ความมั่นคงทางสังคมในที่สุด
2. สำนักงานตำรวจแห่งชาติก้าวเข้าสู่ยุคแห่งการเปลี่ยนผ่านจากการทำงานในระบบราชการ 3.0 ไปสู่ความเป็นระบบราชการ 4.0 (Digital 4.0) ตามนโยบายของรัฐบาล 
3. ข้าราชการตำรวจมีความตื่นตัวและปรับทัศนคติให้ยอมรับและพัฒนาตนเองให้เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง เพื่อขับเคลื่อนประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติและแผนปฏิรูปประเทศด้านต่างๆ สมดังวิสัยทัศน์ของประเทศไทยที่ว่า “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วด้วยการพัฒนาตามหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” (Smart)
 

  ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565  โครงการ Smart safety zone 4.0 โดยพลตำรวจเอก สุวัฒน์  แจ้งยอดสุข  ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้มอบหมายให้ พลตำรวจโท สุรเชษฐ์  หักพาล ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ  เป็นผู้ขับเคลื่อนโครงการและได้รับรางวัลประเภทการลดอาชญากรรม ด้านประสบการณ์ที่ดีที่สุดในการตำรวจชุมชน จากเวทีประชุม สุดยอดตำรวจโลก หรือ เวิร์ล โพลิศ ซัมมิท ณ เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรต

 สภ.เมืองเชียงใหม่ เป็นหนึ่งในสถานีตำรวจนำร่อง จากสถานีตำรวจนำร่อง 100 สถานี ทั่วประเทศไทย ภายใต้การดำเนินงานของ สภ.เมืองเชียงใหม่ นำโดย พล.ต.ท.ปิยะ ต๊ะวิชัย ผบช.ภ.5 ,พล.ต.ต.บัณฑิต  ตุงคะเศรณี  รอง ผบช.ภ.5 เป็นผู้สนองนโยบายสำนักงานตำรวจแห่งชาติ  และขับเคลื่อนโดย พล.ต.ต.ธวัชชัย  พงษ์วิวัฒนชัยผบก.ภ.จว.เชียงใหม่ ,พ.ต.อ.กฤษดา  พันธ์เกษม  รอง ผบก.ภ.จว.แพร่ ปฏิบัติราชการ รอง ผบก.ภ.จว.เชียงใหม่ ,พ.ต.อ.ภูวนาถ  ดวงดี ผกก.สภ.เมืองเชียงใหม่ 
 โดยข้อมูลพื้นฐานของพื้นที่  “Chiangmai Old Town”  ตามโครงการ Smart Safety Zone 4.0 ประกอบด้วยพื้นที่โครงการ พื้นที่ทั้งหมด 2.38 ตร.กม. ,ระยะทางโดยรอบคูเมืองด้านใน  6.10 กม.  ทางด้านทิศเหนือติดกับ ตำบลช้างเผือก, ทางด้านทิศใต้ติดกับ ตำบลหายยา, ทางด้านทิศตะวันออกติดต่อกับ, ตำบลช้างม่อยและตำบลช้างคลาน, ทางด้านทิศตะวันตกติดกับ ตำบลสุเทพ

จำนวนประชากรในพื้นที่ประมาณ 10,474 คน ,ประชากรแฝง 1,500 คน , 14 ชุมชน จำนวน  5,022 หลังคาเรือน ชาย 4,927 คน หญิง 5,547 คนครอบคลุม 2 ตำบล
1. ต.ศรีภูมิ  2. ต.พระสิงห์


ครอบคลุม 3 แขวงได้แก่1. แขวงศรวิชัย 2. แขวงนครพิงค์  3. แขวงเม็งรายประกอบด้วยถนน 5 เส้นหลัก1. ถนนราชดำเนิน 2. ถนนพระปกเกล้า 3. ถนนราชภาคินัย 4. ถนนสามล้าน 5. ถนนสิงหราช

แจ่งเมือง 4 แจ่ง ได้แก่1. แจ่งหัวลิน 2. แจ่งศรีภูมิ 3. แจ่งกะต๊ำ 4. แจ่งกู่เฮืองประตูเมือง 5 ประตูประกอบด้วย1. ประตูสวนดอก 2. ประตูช้างเผือก 3. ประตูท่าแพ 4. ประตูเชียงใหม่ 5. ประตูแสนปง


สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญได้แก่1. อนุสาวรีย์สามกษัตริย์ 2. ลานประตูท่าแพ 3. วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร 4. วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร
สถานที่สำคัญทางเศรษฐกิจอาทิ1. ธนาคาร จำนวน 3 แห่ง​ 1.1 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ถ.พระปกเกล้า ต.ศรีภูมิ อ.เมือง จ.เชียงใหม่    1.2 ธนาคารไทยพาณิชย์ ถ.พระปกเกล้า ต.พระสิงห์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่      1.3 ธนาคารกสิกรไทย ถ.มูลเมือง ต.ศรีภูมิ อ.เมือง จ.เชียงใหม่


2. ร้านทอง จำนวน 6 แห่งได้แก่   2.1 ร้านทองศิริสุวรรณ ถ.สามล้าน ต.พระสิงห์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่2.2 ร้านทองจารุวัฒน์ สาขา ตลาดประตูเชียงใหม่ ต.พระสิงห์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่

        2.3 ร้านทองเยาวราช สาขา ตลาดประตูเชียงใหม่ ต.พระสิงห์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
        2.4 ร้านทองศิริสุวรรณ สาขา ตลาดประตูเชียงใหม่ ต.พระสิงห์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
        2.5 ร้านทองไทยสวัสดิ์ สาขา ตลาดสมเพชร ต.ศรีภูมิ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
        2.6 ห้างเพชรทองกุลศรีสุวรรณ สาขา ประตูช้างเผือก ต.ศรีภูมิ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
3. ร้านค้า ร้านสะดวกซื้อ
        3.1 เทสโก้โลตัส เอ็กซ์เพลส จำนวน 2 สาขา
        3.2 เซเว่นอีเลฟเว่น จำนวน 14 สาขา
        3.3 ตลาด จำนวน 2 แห่ง คือ ตลาดประตูเชียงใหม่ และตลาดสมเพชร
  สภ.เมืองเชียงใหม่ “Chiangmai Old Town”ดำเนินการตามโครงการ Smart Safety Zone 4.0 โดยได้นำเทคโนโลยี มาประยุกต์ใช้ในการดำเนินโครงการ ดังนี้ 


1. จัดตั้งห้องศูนย์ปฏิบัติการควบคุมสั่งการ CCOC
2. มีการเชื่อมโยงระบบกล้อง CCTV ทุกกล้องของเทศบาลนครเชียงใหม่ มายังห้อง CCOC สามารถดูย้อนหลังได้ และมีการเชื่อมต่อกล้อง CCTV ของเอกชนมายังห้อง CCOC
3. สามารถดูCCTV จาก Smart Phone ของเจ้าหน้าที่ตำรวจได้
4. หน้าจอแสดงพิกัดเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่
5. ระบบรับแจ้งเหตุฉุกเฉินและฐานข้อมูล ทั้งระบบ CRIME ,Police I lert U , OSB ของระบบ Police 4.0 
6. ระบบวิทยุสื่อสารแบบดิจิทัล  ข่าย 152.950 “นครพิงค์” โทรศัพท์ สภ.เมืองเชียงใหม่ 053-327191 หรือ 191 
7. ออกคำสั่ง Smart Police ประจำห้อง CCOC จำนวน 2 นาย ตลอด 24 ชม.
8. มีเจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจการณ์ผ่านกล้องวงจรปิดที่เชื่อมมายังห้อง CCOC ตลอด 24 ชม.และสามารถดูย้อนหลังได้ โดยมีความจุที่จัดเก็บได้ 25 วัน
9. การติดตั้งระบบเสา SOS แจ้งเหตุ จำนวน 9 เสา
โดยเฟสที่ 1 มีจำนวน 4 เสา
1. เสา SOS ประตูท่าแพ หน้าโรงแรมเอ็มโฮเทล
2. เสา SOS ลานอนุสาวรีย์สามกษัตริย์
3. เสา SOS หน้าวัดพระสิงห์วรมหาวิหาร
4. เสา SOS แยกกลางเวียง บริเวณหอพญามังราย


เฟสที่ 2 ติดตั้งไปจำนวน 5 เสา (6 กล้อง)
1. เสา SOS ลานอนุสาวรีย์สามกษัตริย์
2. เสา SOS หน้า รร.ทอร์ปนอร์ท หลังประตูท่าแพ มีคุณสมบัติพิเศษ โดยมี AI มีคุณสมบัติในการตรวจจับใบหน้า ( Face Recognition AI ) และระบบจรวจจับป้ายทะเบียนรถ ( License Plate Recognition
3. เสา SOS ถ.พระปกเกล้า ซ.12 ซอยการบินไทย
4. เสา SOS ถ.พระปกเกล้า ซ.2 ซอยหลังตลาดประตูเชียงใหม่
5. เสา SOS ถ.สิงหราช ซ.2 
10. การเชื่อมโยงกล้องCCTV ไปยังตู้ยามตำรวจ โคบังหายยา
11. มีโดรน พร้อมเจ้าหน้าที่บินโดรน ที่มีใบอนุญาติถูกต้องตาม กสทช. และคำสั่งรองรับ ,สามรถเชื่อมโยงภาพมาที่ห้อง CCOC ได้
12. มีระบบการรับแจ้งเหตุผ่านวีดิโอคอล Chiangmai Police Call Center
13. มี Line OA สถานีตำรวจภูธรเมืองเชียงใหม่

   สภ.เมืองเชียงใหม่ราย มีการทำงานแบบบูรณาการ ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ โดยได้มีการทำ MOU กับ 3 เทศบาลในพื้นที่ สภ.เมืองเชียงใหม่ ประกอบด้วย 1 .เทศบาลนครเชียงใหม่ 2.เทศบาลตำบลป่าแดด 3.เทศบาลเมืองแม่เหียะ เพื่อหาแนวร่วม ในการทำงานทั้งด้านความร่วมมือ งบประมาณ เทคโนโลยีต่างๆ ที่จะนำมาใช้ในโครงการ อีกทั้งยังได้มีการจัดประชุมเภาคีเครือข่ายBIG 6 เป็นประจำทุกเดือน เพื่อร่วมการแจ้งปัญหา หาแนวทางแก้ไข และ มีการลงพื้นที่พบปะประชาชนเพื่อ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและสอบถามความต้องการและปัญหาของประชาชน ดำเนินการแก้ไขปัญหา รวมถึง แก้ไขจุดเสี่ยงจุดล่อแหลมต่างๆ ในพื้นที่โครงการฯ เช่น การเพิ่มไฟส่องสว่างหรือกล้อง CCTVในพื้นที่จุดเสี่ยง จุดล่อแหลม , การขีด สี ตี เส้น ,การทำจิตอาสาพัฒนาพื้นที่รกร้าง เปลี่ยว พื้นที่ในโครงการเป็นประจำ เป็นต้น

การประชาสัมพันธ์โครงการ Smart Safety Zone 4.0 ทั้งออฟไลน์ และออนไลน์มีดังนี้ 
1. สื่อสิ่งพิมพ์ แผ่นพับ,โปสเตอร์ ,สติกเกอร์โครงการ ,พัดวี ประชาสัมพันธ์โครงการ 
2. บิลบอร์ด หรือป้ายโฆษณา และจอ LCD
3. การประกาศเสียงตามสาย ณ ตลาดประตูเชียงใหม่
4. การประชาสัมพันธ์ผ่านเสียง ของรถยนต์ ชมส.สภ.เมืองเชียงใหม่
5. ประชาสัมพันธ์ ผ่าน Youtube :สภ.เมืองเชียงใหม่
6. ประชาสัมพันธ์ ผ่าน Line OA
7. ประชาสัมพันธ์ ผ่าน Facebook : สถานีตำรวจภูธรเมืองเชียงใหม่
8. ประชาสัมพันธ์ ผ่าน Instagram สถานีตำรวจภูธรเมืองเชียงใหม่
9. ประชาสัมพันธ์ ผ่าน TikTok สถานีตำรวจภูธรเมืองเชียงใหม่
10. ประชาสัมพันธ์ ผ่าน Twitter สถานีตำรวจภูธรเมืองเชียงใหม่
11. สื่อโทรทัศน์ NBT ภาคเหนือ และสื่อสิ่งพิมพ์ออนไลน์  เชียงใหม่
12. ประชาสัมพันธ์ผ่านการบรรยายโครงการในสถานศึกษา ในพื้นที่

    จากการสำรวจความหวาดกลัวและความเชื่อมั่น หรือ People pole Smart Safety Zone4.0 สภ.เมืองเชียงใหม่ประชาชนในพื้นที่โครงการ “Chiangmai Old Town ” ตั้งแต่เข้าร่วมโครงการจนถึงปัจจุบัน 
  1. ระดับความหวาดกลัวภัยอาชญากรรมของประชาชนมีสถิติ ผ่านตัวชี้วัด ที่ สตช.กำหนดน้อยกว่าร้อยละ 40% ลงมา ในทุกเดือน
  2. ระดับความพึงพอใจต่อความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการทำงานของตำรวจ มีสถิติที่ผ่านตัวชี้วัด ที่ สตช.กำหนดผ่านตัวชี้วัด ที่ สตช.กำหนด กำหนดมากกว่าร้อยละ 80% ขึ้นไป ในทุกเดือน