วันที่ 23 ก.ค. 65  ที่ พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ผู้ช่วย ผบ.ตร.(ปป.1) ประธานกรรมการประเมินโครงการ Smart Safety Zone 4.0 พร้อมด้วย พล.ต.ต.พนัญชัย ชื่นใจธรรม รอง ผบช.ภ.1 ,พ.ต.อ.กัมพล รัตนประทีป รอง ผบก.ภ.จว.พิจิตร,พร้อมคณะกรรมการและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเดินทางมาตรวจเยี่ยมพื้นที่ดำเนินการโครงการ Smart Safety Zone 4.0 สภ.เมืองสุโขทัย ซึ่งเป็นโรงพักนำร่อง หนึ่งในร้อยสถานีตำรวจ เฟสที่ 2 ตามโครงการนี้ ตลอดจนติดตามความคืบหน้า ในการใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการป้องกันอาชญากรรม เพื่อให้การป้องกันอาชญากรรมในโครงการดังกล่าวมีให้ประสิทธิภาพสูงสุด โดยมี พล.ต.ต.อมรศักดิ์  เกษมก์สิริ ผบก.ภ.จว.สุโขทัย , พ.ต.อ.ไสว  ครุธผาสุข รอง ผบก.ภ.จว.สุโขทัย พ.ต.อ.ไพบูลย์  กาศอุดม ผกก.สภ.เมืองสุโขทัย และภาคีเครือข่ายป้องกันอาชญากรรม (Big 6) ในพื้นที่ตามโครงการ Smart Safety Zone 4.0 ให้การต้อนรับ พร้อมรับฟังบรรยายสรุปผลการดำเนินการโครงการ และชมวิดิทัศน์การปฏิบัติการที่สำคัญในโครงการ

สำหรับที่มาของโครงการ  โครงการ Smart safety zone 4.0 เป็นโครงการอนุมัติของสำนักงานตำรวจแห่งชาติตามรายงานการประชุมขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน โดยมุ่นเน้นในการป้องกันอาชญากรรมเชิงรุก ที่ต้องการให้ประชาชนได้รับความปลอดภัย ไม่หวาดกลัวภัยอาชญากรรม เกิดความพึงพอใจ และเกิดความเชื่อมั่นต่อตำรวจ โดยพลตำรวจเอก สุวัฒน์  แจ้งยอดสุข  ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติได้มอบหมายให้ พลตำรวจโท สุรเชษฐ์  หักพาล ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ  ดำเนินโครงการและได้รับรางวัลประเภทการลดอาชญากรรม ด้านประสบการณ์ที่ดีที่สุดในการตำรวจชุมชน จากเวทีประชุม สุดยอดตำรวจโลก หรือ เวิร์ล โพลิศ ซัมมิท ณ เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรต

สภ.เมืองสุโขทัย เป็นหนึ่งในสถานีตำรวจนำร่อง จากสถานีตำรวจนำร่อง 100 สถานี ทั่วประเทศ ภายใต้การดำเนินงานของ สภ.เมืองสุโขทัย นำโดย พล.ต.ต.อมรศักดิ์  เกษมก์สิริ  ผบก.ภ.จว.สุโขทัย, พ.ต.อ.ไสว  ครุธผาสุข รอง ผบก.ภ.จว.สุโขทัย ร่วมกับ พ.ต.อ.ไพบูลย์  กาศอุดม  ผกก.สภ.เมืองสุโขทัย , พ.ต.ท.ลักษณ์  รัตนถาวร  รอง ผกก.ป.สภ.เมืองสุโขทัย 

 

สภ.เมืองสุโขทัย ได้จัดการประชุมกับภาคีเครือข่ายและจัดทำแบบสำรวจประชาชนในเขตเทศบาลเมืองสุโขทัยธานี จนได้คัดเลือกพื้นที่ดำเนินโครงการ Smart Safety Zone 4.0 ซึ่งมีความสำคัญในทุกมิติ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลธานี อ.เมือง จ.สุโขทัย เนื้อที่ 0.69 ตร.กม. ประกอบด้วย 3 ชุมชน ได้แก่ 1.ชุมชนราชธานี ประชากร 655 คน 2.ชุมชนประชาร่วมใจ ประชากร 665 คน 3.ชุมชนวิเชียรจำนงค์  ประชากร 680 คน รวม ประชากรประมาณ 2,000 คน 
สถานที่สำคัญในเขต Smart Safety Zone 4.0 สภ.เมืองสุโขทัย
1. โรงเรียน 3 แห่ง   
2. ตลาด 2 แห่ง  (ตลาดสดเทศบาล)
3. ร้านทอง 8 แห่ง  
4. ธนาคาร 2 แห่ง  
5. ส่วนราชการ 2 แห่ง
6. โรงแรม/ที่พัก 4 แห่ง
7. วัด 1 แห่ง

   สภ.เมืองสุโขทัย ได้ดำเนินการตามโครงการ Smart Safety Zone 4.0 โดยนำนวัตกรรมเทคโนโลยีสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ในการป้องกันเหตุอาชญากรรมในพื้นที่โครงการ ดังนี้ 
  1. จัดตั้งห้องศูนย์ปฏิบัติการควบคุมสั่งการ ccoc ประกอบด้วยระบบวิทยุสื่อสาร ,ระบบ Police I Lert U , ระบบ crimes , ระบบ Polce 4.0 , กล้อง license plate และจอแสดงพิกัดของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในพื้นที่  
  2. มีเจ้าหน้าที่ตำรวจ 2 นาย ประจำห้อง CCOC ตลอด 24 ชั่วโมง 
  3. มีการเชื่อมโยงกล้อง CCTV จากภาครัฐ และภาคเอกชน มายังห้อง CCOC  
  4. มีสายตรวจโดรนสำหรับ สังเกตการณ์ และสกัดจับคนร้าย
  5. มีระบบรับแจ้งเหตุฉุกเฉินผ่านทาง QR-CODE ในรูปแบบวิดีโอคอล 
  6. การรับแจ้งเหตุผ่าน Application Police I lert you และ LINE OA 
  7. ตู้แดง QR Code สแกนผ่าน Application Police 4.0  

   สภ.เมืองสุโขทัย ร่วมบูรณาการการทำงานระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และ Big 6 เป็นประจำ โดยมีการจัดการประชุมคณะกรรมการ Big6 ทุกเดือน และ มีการลงพื้นที่พบปะประชาชนเพื่อ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและสอบถามความต้องการของประชาชน ดำเนินการแก้ไขจุดเสี่ยงจุดล่อแหลมต่างๆ ในพื้นที่โครงการฯ เช่น การประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดไฟฟ้าส่องสว่าง, การติดตั้งกล้อง CCTV , การติดตั้งจุดตรวจตู้แดง QR-CODE ,การทำกิจกรรมปรับภูมิทัศน์ พื้นที่ในโครงการเป็นประจำ เป็นต้น
 
 การประชาสัมพันธ์โครงการ Smart Safety Zone 4.0 ทั้งออฟไลน์ และออนไลน์มีดังนี้ 
  1. การแจกแผ่นพับประชาสัมพันธ์โครงการ
  2. การแจกสติ๊กเกอร์ประชาสัมพันธ์โครงการ พร้อมป้าย QR-CODE รับแจ้งเหตุฉุกเฉินผ่านวิดีโอคอล 
  3. ประชาสัมพันธ์ผ่านป้ายติดรถกระจายเสียง
  4. ประชาสัมพันธ์ผ่านป้ายไวนิลโครงการ และป้ายขนาดใหญ่บริเวณหน้าสถานีตำรวจ
  3. ประชาสัมพันธ์ ผ่าน Application facebook สภ.เมืองสุโขทัย
  4. ประชาสัมพันธ์ ผ่านApplication Instagram สภ.เมืองเมืองสุโขทัย
  5. ประชาสัมพันธ์ ผ่านApplication tiktok สภ.เมืองสุโขทัย
  6.ประชาสัมพันธ์ ผ่าน Application YouTube สภ.เมืองสุโขทัย
  7. ประชาสัมพันธ์ ผ่านกลุ่มไลน์ภาคประชาชนในพื้นที่อย่างสม่ำเสมอ  
  8. ประชาสัมพันธ์ผ่านสถานีวิทยุท้องถิ่นและวิทยุกระจายเสียงในชุมชน
  9. ประชาสัมพันธ์ผ่านหนังสือพิมพ์ออนไลน์
  10.ประชาสัมพันธ์ผ่านการบรรยายโครงการในสถานศึกษา

    จากการสำรวจความหวาดกลัวและความเชื่อมั่น หรือ People pole Smart Safety Zone4.0 สภ.เมืองสุโขทัย ประชาชนในพื้นที่โครงการฯ ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2564 ถึง เดือนมิถุนายน 2565 
  1. ระดับความหวาดกลัวภัยอาชญากรรมของประชาชนมีสถิติที่ลดลงเรื่อยๆในแต่ละเดือน ผ่านตัวชี้วัด ที่ สตช.กำหนดน้อยกว่าร้อยละ 40% ลงมา 
  2. ระดับความพึงพอใจต่อความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการทำงานของตำรวจมีสถิติที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในแต่ละเดือนผ่านตามตัวชี้วัดที่ สตช. กำหนดมากกว่าร้อยละ 80% ขึ้นไป