เลขาธิการสถาบันโพธิคยาวิชชาลัย980 นำคณะ เดินทางสักการะนาคบารมี เป็นวันที่3จาก จ.อุบลราชธานี ไปยังจ.มุกดาหาร ก่อนทำพิธีบวงสรวงองค์พญานาคและทวยเทพ เนื่องในโอกาสสรุปโครงการวิจัย"อิทธิพลความเชื่อ เรื่องพญานาคที่มีต่อประเทศไทย
วันที่สามของการเดินทาง "สักการะนาคบารมี" สถาบันโพธิคยาวิชชาลัย ๙๘o มูลนิธิวีระภุชงค์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย นำคณะกรรมการเดินทาง"สักการะนาคบารมี" และพิธีบวงสรวงองค์พญานาคและทวยเทพ เนื่องในโอกาสงานสรุปโครงการวิจัย"อิทธิพลความเชื่อเรื่องพญานาคที่มีต่อพระพุทธศาสนาในประเทศไทย"ที่ จ.มุกดาหาร นำโดยพระธรรมวรนายก ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 11 พระเมธีวรญาณ ป.ธ.9 ผศ.ดร. ผู้อำนวยการแผน รองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
นายชัช ชลวรประธานชมรมโพธิคยาฯ ดร.อภัย จุนทนจุลกะ ที่ปรึกษาสถาบันโพธิคยาฯ ดร.สุภชัย วีระภุชงค์ เลขานุการฯ เกษม มูลจันทร์ รองเลขานุการฯและ คุณสุรพล มณีวงศ์ รองเลขาธิการ ฯดร.อัจฉราวดี แมนชาติ ผู้ช่วยเลขานุการฯ และ น.ส.อันนา สุขสุกรี ผู้ช่วยเลขานุการฯ
จุดสำคัญที่ถือเป็นไฮไลท์วันนี้ คือคณะเดินทางไปยัง พระอริยธาตุเจดีย์ศรีสุวรรณภูมิ สถานที่ก่อสร้างเจดีย์บรรจุอัฐธาตุ หลวงปู่ผ่อง สะมาเลิก อดีตประธานศูนย์กลางองค์การพุทธศาสนสัมพันธ์ลาว ที่ตำบลกุศกร อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานีสักการะภาพถ่ายหลวงปู่พระมหาผ่อง จากนั้นสักการะต้นพระศรีมหาโพธิ์ต้นแรก ที่ปลูกไว้ในงานธรรมยาตรา 5 แผ่นดิน ครั้งที่ 1 เมื่อปี พ.ศ.2560
หลวงปู่มหาผ่องละสังขารเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ.2558 7 ปีที่ผ่านไปพิสูจน์แล้วว่า หลวงปู่มหาผ่องจากไปแต่เพียงร่างกาย แต่ปณิธานอันแน่วแน่ของท่านยังดำรงอยู่ผ่านแนวคิด หลักธรรม คำสอน ที่ท่านได้สั่งเสียไว้กับลูกศิษย์ใกล้ชิด ให้ใช้ศาสนาพุทธ เชื่อมสัมพันธ์ดินแดนลุ่มน้ำโขง
ก่อนหน้านั้นคณะเดินทางไปยังวัดป่าปากโดม หรือ วัดปากโดมเทพนิมิตกราบสักการะเจ้าอาวาสสักการะสิ่งศักดิ์วัดป่าปากโดม อาณาจักรแห่งองค์ธะนะมูลนาคราช ผู้ปกครองแม่น้ำมูล และกำเนิดในตระกูลเอราปถะ สถานแห่งนี้เชื่อว่าเป็นวังเวียงพญานาค เป็นจุดที่ชาวบ้านเห็นพญานาคมาปรากฏกายกลางลำนำ และมีเรื่องเล่า พญานาคแปลงกายพายเรือมาใส่บาตร
จากนั้นแวะเยี่ยมชมวัดโขงเจียม จุดบรรจบของแม่น้ำโยงและแม่น้ำมูล แม่น้ำโขงสีปูน แม่น้ำมูลสีคราม
คณะออกเดินทางต่อไปยังวัดถ้ำคูหาสวรรค์ ตำบลโขงเจียม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ฟังตำนานพญานาค กราบสรีระหลวงปูคำคะนิง จุลมณี สรีระไม่เน่าเปื่อย ชมฆ้องใบใหญ่ที่สุดในโลก มีเจดีย์ศรีไตรภูมิสีขาว และจุดชมวิวลำน้ำโขง
ดร.สุภชัย วีระกุชงค์ เลขาธิการสถาบันโพธิคยาวิชชาลัย "ประกาศผลักดันความเชื่อเรื่องพญานาคเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขงขอขึ้นทะเบียนรายการต่อองค์การยูเนสโกร่วมกัน ๕ ชาติ คือ ไทย ลาว กัมพูชา เมียนมา เวียดนาม "
"สำหรับผลการดำเนินการวิจัยชุดแรกเรื่อง "อิทธิพลความเชื่อเรื่องพญานาคที่มีต่อพระพุทธศาสนาในประเทศไทย" มีสรุปผลการวิจัยอย่างชัดเจนว่า "อิทธิพลความเชื่อเรื่องพญานาคที่มีต่อพระพุทธศาสนาไทยมีหลายด้าน ทั้งด้านความเชื่อ ด้านศิลปกรรม ด้านวรรณกรรม และด้านพิธีกรรม แต่ละด้านได้สะท้อนให้เห็นถึงความมีอยู่จริง ตลอดจนแสดงถึงความสำคัญและอิทธิพลความเชื่อเรื่องพญานาคที่มีต่อพระพุทธศาสนาในประเทศไทยอย่างชัดเจน จนกลายเป็นอัตลักษณ์หนึ่งของความเชื่อที่ปรากฏให้เห็นทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ศิลปกรรม และด้านประเพณี
"จากแนวการศึกษาวิจัยชุดแรกที่ประเทศไทยได้สำเร็จลงแล้ว ได้วางแผนลงพื้นที่วิจัยที่ ลาว กัมพูชา เมียนมา และเวียดนาม โดยมีเป้าหมายนำองค์ความรู้"ความเชื่อเรื่องพญานาค" ยกระดับให้เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง และขอขึ้นทะเบียนรายการต่อองค์การยูเนสโกร่วมกัน ๕ ประเทศ ไทย ลาวกัมพูชา เมียนมา เวียดนาม "นี่คือความฝันของพวกเรา ที่จะสร้างประวัติศาสตร์ของชาวพุทธลุ่มน้ำโขงที่มีมรดกโลกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมร่วมกัน"